ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
| ||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
ข้อมูลจังหวัด ฉะเชิงเทรา
ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 5,351 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าถือกำเนิดขึ้นเมื่อไร แต่จากการสำรวจและขุดค้นตามแหล่งอารยธรรมสำคัญโดยนักโบราณคดี ทำให้รู้ว่าพื้นที่นี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่า ในยุคนั้น ฉะเชิงเทราเป็นดินแดนสำคัญแห่งหนึ่งทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันตะวันออก ชื่อฉะเชิงเทราปรากฏเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีฐานะเป็นเมืองจัตวา หรือหัวเมืองชั้นใน จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล นอกจากนี้ยังทรงใช้เป็นเมืองหน้าด่านอีกด้วย ครั้นล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ฉะเชิงเทราก็เป็นเมืองที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมพระกลาโหม และย้ายมาอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทย จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน ฉะเชิงเทราจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี ร่วมกับเมืองนครนายก พนมสารคาม พนัสนิคม ชลบุรี และบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2459 ก็ได้ยกรับการฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ล่วงเลยมาจนถึงทุกวันนี้ ฉะเชิงเทรานับว่าเป็นดินแดนแห่งการเพาะปลูก เพราะมีดินตะกอนอันสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ รวมทั้งอุดมด้วยแหล่งน้ำ โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำและริมลำคลองสาขาย่อย โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับชื่อ ฉะเชิงเทรา นั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมร ซึ่งเคยมีอำนาจการปกครองในพื้นที่นี้ในช่วงอาณาจักรลพบุรี โดยมาจากคำว่า สตรึงเตรา แปลว่า คลองลึก แต่ก็มีข้อสันนิษฐานอื่นว่า น่าจะมาจากชื่อเมือง แสงเซรา หรือ แซงเซา ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จไปตีเมืองได้ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ส่วนชื่อ แปดริ้ว คาดว่าน่าจะมาจากขนาดตัวอันใหญ่โตของปลาช่อน ที่เมื่อนำมาแล่แล้วได้จำนวนถึง 8 ริ้ว มากกว่าปลาช่อนในพื้นที่อื่นที่แล่ได้แค่ 4-6 ริ้วเท่านั้น อีกที่มาหนึ่ง เล่าว่าชื่อแปดริ้วได้มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง พระรถ-เมรี ที่ยักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพเป็นชิ้นๆ รวม 8 ริ้ว ก่อนนำไปทิ้งในลำน้ำท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอคลองเขื่อน ข้อมูลทั่วไป ฉะเชิงเทรา หรือที่หลายคนมักเรียกว่าเมืองแปดริ้ว คือจังหวัดใกล้กรุงที่ยังดกดื่นร่มรื่นด้วยสวนผลไม้ โดยเฉพาะมะม่วงพันธุ์ดี นอกจากนี้ยังโดดเด่นด้วยการเป็นเมืองเก่าแก่ริมน้ำบางปะกง ซึ่งมีวัดหลวงพ่อโสธร หรือวัดโสธรวรารามวรวิหาร เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชน แหล่งธรรมชาติในฉะเชิงเทรานั้น นับว่าอุดมด้วยสรรพชีวิตไม่น้อยหน้าใคร ผืนป่าสำคัญของที่นี่คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ซึ่งเป็นแหล่งอาศัยสุดท้ายของจระเข้น้ำจืดในเมืองไทย ส่วนในแม่น้ำบางปะกง ช่วงปากอ่าว ก็เป็นแหล่งชมโลมาหลายสายพันธุ์ที่ว่ายเวียนเข้ามาทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม ด้วยเหตุนี้ ฉะเชิงเทราซึ่งอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ไม่ถึง 100 กิโลเมตร จึงเป็นอีกจังหวัดที่น่าเที่ยว น่าชม เพราะที่นี่ยังมีของดีซุกซ่อนอยู่มากมายชนิดที่หลายคนก็คาดไม่ถึง ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 5,351 ตารางกิโลเมตร เป็นดินแดนเก่าแก่ซึ่งไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าถือกำเนิดขึ้นเมื่อไร แต่จากการสำรวจและขุดค้นตามแหล่งอารยธรรมสำคัญโดยนักโบราณคดี ทำให้รู้ว่าพื้นที่นี้เคยเป็นที่อยู่ของมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงหลายพันปีที่ผ่านมา สันนิษฐานว่า ในยุคนั้น ฉะเชิงเทราเป็นดินแดนสำคัญแห่งหนึ่งทางด้านชายฝั่งทะเลตะวันตะวันออก ชื่อฉะเชิงเทราปรากฏเป็นครั้งแรกในพระราชพงศาวดารสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นเมืองเก่าแก่ตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีฐานะเป็นเมืองจัตวา หรือหัวเมืองชั้นใน จนถึงรัชสมัยของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระองค์ทรงใช้ฉะเชิงเทราเป็นที่รวบรวมไพร่พล นอกจากนี้ยังทรงใช้เป็นเมืองหน้าด่านอีกด้วย ครั้นล่วงมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ฉะเชิงเทราก็เป็นเมืองที่ขึ้นอยู่ในสังกัดกรมพระกลาโหม และย้ายมาอยู่ในสังกัดกรมมหาดไทย จนกระทั่งถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน ฉะเชิงเทราจึงเปลี่ยนฐานะเป็นเมืองเมืองหนึ่งในมณฑลปราจีนบุรี ร่วมกับเมืองนครนายก พนมสารคาม พนัสนิคม ชลบุรี และบางละมุง จนถึง พ.ศ. 2459 ก็ได้ยกรับการฐานะขึ้นเป็นจังหวัด จากยุคก่อนประวัติศาสตร์ล่วงเลยมาจนถึงทุกวันนี้ ฉะเชิงเทรานับว่าเป็นดินแดนแห่งการเพาะปลูก เพราะมีดินตะกอนอันสมบูรณ์ด้วยแร่ธาตุ รวมทั้งอุดมด้วยแหล่งน้ำ โดยมีแม่น้ำบางปะกงเป็นดั่งเส้นเลือดใหญ่ของจังหวัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำและริมลำคลองสาขาย่อย โดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ สำหรับชื่อ ฉะเชิงเทรา นั้น สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากภาษาเขมร ซึ่งเคยมีอำนาจการปกครองในพื้นที่นี้ในช่วงอาณาจักรลพบุรี โดยมาจากคำว่า สตรึงเตรา แปลว่า คลองลึก แต่ก็มีข้อสันนิษฐานอื่นว่า น่าจะมาจากชื่อเมือง แสงเซรา หรือ แซงเซา ที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชแห่งอาณาจักรอยุธยา เสด็จไปตีเมืองได้ตามที่ปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐ ส่วนชื่อ แปดริ้ว คาดว่าน่าจะมาจากขนาดตัวอันใหญ่โตของปลาช่อน ที่เมื่อนำมาแล่แล้วได้จำนวนถึง 8 ริ้ว มากกว่าปลาช่อนในพื้นที่อื่นที่แล่ได้แค่ 4-6 ริ้วเท่านั้น อีกที่มาหนึ่ง เล่าว่าชื่อแปดริ้วได้มาจากนิทานพื้นบ้านเรื่อง พระรถ-เมรี ที่ยักษ์ฆ่านางสิบสองแล้วชำแหละศพเป็นชิ้นๆ รวม 8 ริ้ว ก่อนนำไปทิ้งในลำน้ำท่าลาด จังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งการปกครองออกเป็น 11 อำเภอ ได้แก่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา อำเภอบางคล้า อำเภอบางน้ำเปรี้ยว อำเภอบางปะกง อำเภอบ้านโพธิ์ อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว อำเภอราชสาส์น อำเภอท่าตะเกียบ และอำเภอคลองเขื่อน ทิปส์ท่องเที่ยว ตลาดเก่าริมน้ำในฉะเชิงเทรา ทั้งตลาดน้ำบางคล้า ตลาดคลองสวนร้อยปี และตลาดบ้านใหม่ จะคึกคักน่าเที่ยวที่สุดในวันเสาร์ อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ควรไปถึงไม่เกิน 9 โมงเช้า จะได้เดินสบาย จับจ่ายของฝากได้สะดวกกว่าช่วงเที่ยงที่นักท่องเที่ยวหนาแน่น ที่พัก ฉะเชิงเทราเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ใกล้กรุงเทพฯ จึงมีที่พักสำหรับนักท่องเที่ยวไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นโรงแรม รีสอร์ตขนาดกลาง และอยู่ในเขตตัวเมือง ราคาที่พักขึ้นอยู่กับประเภทของห้องพักและที่ตั้ง สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดฉะเชิงเทรามีหลายประเภท เช่น วัดโสธรวรารามวรวิหาร วัดเมือง หรือวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฏิ์ วัดโพธิ์บางคล้า ตลาดน้ำบางคล้า ตลาดคลองสวนร้อยปี ตลาดบ้านใหม่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤาไน ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน ฯลฯ กิจกรรมท่องเที่ยว การเดินเที่ยวชมตลาดเก่าริมน้ำที่เคยรุ่งเรืองเฟื่องฟูในยุคที่การสัญจรต้องอาศัยสายน้ำเป็นหลัก นับว่าเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวน่าเพลินใจ ไม่เพียงแค่ได้ชมเรือนแถวไม้ทรงคลาสสิก ได้พูดคุยกับชาวบ้านที่มีความเป็นมิตร คุณยังจะได้ลิ้มรสอาหารพื้นถิ่นและได้จับจ่ายของที่ระลึกอย่างสนุกสนานอีกด้วย นอกจากการเดินเที่ยวตลาด ยังมีอีกวิธีในการเที่ยวชมชุมชนเก่าแก่ นั่นคือล่องเรือไปตามลำน้ำบางปะกง ชมวัดวาอาราม หมู่บ้านที่เรียงรายด้วยเรือนไทย บ้านทรงสมัยใหม่ เรือกสวนผลไม้ ดูร่มรื่นสบายตา สำหรับผู้ที่ชื่นชอบโลมา ทุกปีในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม จะมีโลมาอิระวดี (โลมาหัวบาตร) และโลมาหลังโหนก (โลมาปากขวด) ฝูงใหญ่ว่ายเข้ามาหากินและผสมพันธุ์ที่ปากอ่าวบางปะกง ในพื้นที่ตำบลท่าข้าม อาหารและเครื่องดื่ม อาหารการกินในจังหวัดฉะเชิงเทรามีให้เลือกมากมาย ทั้งอาหารตามสั่ง อาหารจานเดียว สำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบลิ้มรสอาหารท้องถิ่น ในอำเภอพนมสารคามมีก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ ซึ่งนำแผ่นแป้งคล้ายข้าวเกรียบปากหม้อมาห่อไส้ต่างๆ เช่น กุยช่าย ถั่วงอก หน่อไม้ ฯลฯ แล้วรับประทานกับน้ำซุปเช่นเดียวกับก๋วยเตี๋ยว สำหรับสถานบันเทิงแนวไนต์ไลฟ์นั้น ในตัวเมืองฉะเชิงเทรามีผับหลายแห่งเปิดให้บริการ รวมทั้งในโรงแรม รีสอร์ตส่วนใหญ่ ก็มีผับ บาร์ ที่น่าไปนั่งจิบเครื่องดื่ม พร้อมฟังดนตรีเพราะๆ ในยามค่ำคืน ช้อปปิ้ง ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ มีร้านขายของที่ระลึกที่มีสินค้าของฝากประจำจังหวัดให้เลือกซื้อตามความชอบ ที่ไม่น่าพลาดคือมะม่วงแรดและมะม่วงน้ำดอกไม้ ที่จะออกผลมากในช่วงฤดูร้อน นอกจากขายตามแหล่งท่องเที่ยวแล้ว ริมเส้นทางสายหลักของฉะเชิงเทราก็มีแผงมะม่วงให้เลือกซื้อกลับบ้าน ของกินอีกอย่างที่น่าซื้อเป็นของฝาก คือขนมเปี๊ยะบางคล้า ซึ่งเป็นของฝากขึ้นชื่อมานานนับสิบปี ซื้อได้ที่ร้านต่างๆ ในตัวเมืองบางคล้า และร้านขนาดใหญ่ริมทางหลวงช่วงอำเภอบางคล้า งานหัตถกรรมของฉะเชิงเทราก็เป็นของฝากที่น่าสนใจ มีทั้งผลิตภัณฑ์ทองเหลืองสาน หมวกกุยเล้ย ผลิตภัณฑ์ประดิษฐ์จากไม้ ฯลฯ การเดินทาง โดยรถประจำทาง มีรถโดยสารธรรมดาและรถโดยสารปรับอากาศ สายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือ ถนนกำแพงเพชร 2 ทุกวัน วันละหลายเที่ยว รถที่ออกจากสถานีขนส่งสายเหนือมีทั้งรถที่ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ ซึ่งใช้เวลาเดินทางน้อยกว่า และรถที่ไม่ได้ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ สามารถขึ้นรถได้ตามรายทางที่รถแล่นผ่าน คือ สาย 907 เส้นทางถนนลาดพร้าว-บางกะปิ-มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา สาย 94 เส้นทางถนนพหลโยธิน-รามอินทรา-มีนบุรี-ฉะเชิงเทรา สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัท ขนส่ง จำกัด โทร.1490 www.transport.co.th สถานีขนส่งสายเหนือ โทร. 0 2936 285266 ต่อ 311, 442 บริษัทฉะเชิงเทรา ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2936 4041 นอกจากนี้ ยังมีรถโดยสารออกจากสถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) ทุกวัน สอบถามรายละเอียดได้ที่บริษัทฉะเชิงเทรา ขนส่ง จำกัด โทร. 0 2712 1018 สถานีขนส่งสายตะวันออก (เอกมัย) โทร. 0 2391 2504 หรือสถานีขนส่งจังหวัดฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 4482 ปัจจุบันบริษัท ขนส่ง จำกัด ได้เปิดให้บริการจองตั๋วรถโดยสารออนไลน์แล้ว ติดต่อได้ที่ www.thaiticketmajor.com โดยรถไฟ มีรถไฟออกจากสถานีหัวลำโพงทุกวัน วันละ 11 เที่ยว สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย โทร. 1690, 0 2220 4334, 0 2220 4444 หรือ www.railway.co.th สถานีรถไฟฉะเชิงเทรา โทร. 0 3851 1007 การคมนาคมภายในจังหวัด นักท่องเที่ยวสามารถเลือกใช้บริการยานพาหนะต่างๆ ได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสม รถสองแถว เป็นรถสองแถวท้องถิ่นที่ให้บริการรอบตัวเมืองฉะเชิงเทรา สามารถเรียกใช้บริการได้ที่จุดต่าง ๆ เช่น บริเวณสถานีขนส่งฉะเชิงเทรา นอกจากนี้ จากหน้าวัดโสธรวรารามวรวิหาร ตลาดบ้านใหม่ ตลาดน้ำบางคล้า และตลาดคลองสวนร้อยปี ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของฉะเชิงเทราก็มีคิวรถสองแถวเชื่อมโยงเส้นทางถึงกัน ระยะทางจากอำเภอเมืองฉะเชิงเทราไปยังอำเภอต่างๆ คือ อำเภอบ้านโพธิ์ 14 กิโลเมตร อำเภอคลองเขื่อน 18 กิโลเมตร อำเภอบางน้ำเปรี้ยว 19 กิโลเมตร อำเภอบางปะกง 22 กิโลเมตร อำเภอบางคล้า 25 กิโลเมตร อำเภอพนมสารคาม 30 กิโลเมตร อำเภอแปลงยาว 35 กิโลเมตร อำเภอราชสาส์น 46 กิโลเมตร อำเภอสนามชัยเขต 50 กิโลเมตร อำเภอท่าตะเกียบ 65 กิโลเมตร |
||||||||||
<< < 1  2  3  > >> |
||||||||||
ที่พักฉะเชิงเทรา |
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||
|
||||||||||