ที่เที่ยวยโสธร > อำเภอเมืองยโสธร > หมู่บ้านนาสะไมย
หมู่บ้านนาสะไมย
บ้านนาสะไมย ตำบลนาสะไมย อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร 35000 เมืองยโสธร ยโสธร 35000
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
ตั้งอยู่บริเวณใกล้เคียงกับบ้านทุ่งนางโอก มีชื่อเสียงในเรื่องการจักสานไม้ไผ่และการแกะสลักเกวียนจำลองที่ปราณีตงดงาม ประวัติความเป็นมาบ้านนาสะไม เดิมชื่อบ้านนาสะไม เนื่องจากมีตาสา และยายใมเป็นผู้มาบุกเบิก ตั้งรกรากอยู่ในที่นา จึงเรียกบ้านนาสาไม ต่อมาจึงเพี้ยนเป็นบ้านนาสะไมผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียง :การทำเกวียนสานวัสดุอุปกรณ์วัสดุที่ใช้ทำ มีทั้งไม้พยุง ไม้ประดู่ ไม้แคน (ตะเคียน) แหล่งไม้จะหามาเองตามธรรมชาติหรือหาซื้อมาเองซื้อมาเอง ราคาซื้อไม้ต้นละประมาณ 1 หมื่นบาท ใช้ทั้งลำต้น ต้นหนึ่งพอลำเกวียน 1 ลำ อุปกรณ์ในการทำเกวียน จะทำขึ้นทั้งหมด โดยการตีเหล็กเอง เช่น กบ ก็มีหลายขนาน สิ่วก็มีหลายขนาด ฆ้อนในการแกะสลักจะเป็นฆ้อนไม้ การตัดไม้ต้องใช้เลื่อยมือไม่ใช้เลื่อยไฟฟ้าเพราะเนื้อไม้จะแตกวิธีทำ ระยะเวลาในการทำการทำเกวียนเริ่มจากนำไม้มาตัดส่วนประกอบต่าง ๆ แล้วจึงนำไปสลักลวดลาย แล้วจึงนำไปประกอบเป็นลำเกวียนซึ่งจะใช้สลักตอกแทนตะปู บางส่วนใช้ลวดลายหรือหวายมัดแต่นิยมใช้หวาย ขอบล้อจะใช้เหล็กหุ้มโดยใช้ความร้อนเผาตอกเข้ากับขอบล้อ เวลาทำแต่ละลำไม่เท่ากัน แต่ก็ไม่เกิน 3 เดือน ลายที่นิยมแกะสลักบนเกวียน มีลายเม็ดข้าวสาร ลายกนก ลายดอก ลายย้อย ลายเครือ การแกะลายบนเกวียนจะมีการกะระยะทำเป็นช่วง ๆ จุด ขนาดของเกวียน ขนาดของเกวียน ไม่จำเพาะแน่นอน ทั่ว ๆ ไป ขนาดกว้าง 1.2 เมตร ยาว 4.2 เมตร ขนาดกว้างยาวแล้วแต่ลูกค้าสั่งๆ ไม่มีแบบแผนตายตัว ทุกอย่างจดจำและดัดแปลงตามความเหมาะสม และตามที่ลูกค้าต้องการการประยุกต์ใช้จุดประสงค์เดิมของการทำเกวียน เพื่อใช้เป็นพาหนะเดินทาง ขนสิ่งของต่าง ๆ แต่ทุกวันนี้ทำเพื่อโชว์ในสถานที่ต่าง ๆ ในพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การค้า จึงทำให้มีการทำเกวียนขนาดเล็ก เดิมทีเดียวทำขนาดเล็ก ๆ เพื่อเป็นของเล่น แต่ต่อมามีการพัฒนาผลิตตามสั่งลูกค้าเครื่องจักรสานมวนประวัติ"มวย" เป็นเครื่องจักสาน ใช้ในการนึ่งข้าวเหนียว เช่นเดียวกับหวดเดิม ชาวบ้านทุ่งแต้ จะสานกระติบ และมวย ซึ่งวันหนึ่งจะได้ 6 ใบเฉลี่ยเดือนละ 100 ใบ ต่อครอบครัว ลวดลายที่ใช้สาน เช่น ลายสองยืน ลายขัดเสริม 3 ชั้น จะทำให้หนา ขอบหวายหรือลวด ส่วนใหญ่จะใช้หวายเพราะทนทานส่วนลวดจะขาดเร็ว ในอดีตหมู่บ้านทุ่งแต้จะสานกระติบข้าว แต่ช่วงหลังเปลี่ยนแปลง เพราะไม้ไผ่หายาก โดยเฉพาะการสานกระติบ จะต้องใช้ไม้ปล้องยาว ถ้าอายุต่ำกว่าขวบปี จะทำยาก และการสานกระติบข้าวมีการทำกันมากในแต่ละหมู่บ้าน วัสดุที่ใช้ไม้ไผ่ซื้อมาจากรถที่นำมาขายในหมู่บ้าน ซึ่งจะใช้ไม้ไผ่อายุ 1 แสน ปี ถ้าไม้แก่มากจะทำยากเปราะวิธีการทำจะนำไม้ไผ่มาเลื่อยออกเป็นปล้อง ๆ แล้วผ่าเป็นชิ้น ๆ จักเป็นตอกบาง ๆ โดยใช้เหล็กขูดตอก ซึ่งเร็วบางอ่อนเสมอ ไม่เหมือนใช้มีดจักตอกในสมัยโบราณไม้ไผ่ 1 ลำจะได้มวย 20-50 ใบ ไม้ไผ่ลำละ 70-80 บาท แต่ในหมู่บ้านจะแบ่งงานทำความความถนัด ความสามารถ เช่น การสานตัวมวย ใบละ 1 บาท ใส่ขอบใบละ 2 บาท การก่อตัวมวยจะให้แม่บ้านก่อให้ (มวยจะมี 3 ชั้น)มวยจะมีขนาดมาตรฐาน 1 ศอก (ฟุตเศษ) ไม้ไผ่ 1 ปล้องจะได้ 2-3 ฝา (2 ฝาเท่ากับ 1 ลูก) ไม้ไผ่จะใช้ไม้ไผ่ใหญ่ (ไม้ไผ่บ้าน)
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง