ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวลพบุรี > อำเภอเมืองลพบุรี > พระนารายณ์ราชนิเวศน์



พระนารายณ์ราชนิเวศน์

พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ถนนสรศักดิ์ เมืองลพบุรี ลพบุรี 15000





รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลท่าหิน อำเภอเมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี โดยชาวเมืองลพบุรีเรียกกันติดปากว่า "วังนารายณ์" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ นิเวศน์ เป็นพระราชวังที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2209 บนพื้นที่ 41 ไร่ ณ เมืองลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ประทับล่าสัตว์ ออกว่าราชการ และต้อนรับแขกเมือง พระองค์ทรงประทับ ณ พระราชวังแห่งนี้ประมาณ 8-9 เดือนในช่วงปลายรัชกาลและเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งสุทธาสวรรค์ เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2232 ภายหลังการเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระนารายณ์ราชนิเวศน์ถูกทิ้งร้าง จนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้บูรณะพระราชวังของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ในปี พ.ศ. 2399 และพระราชทานนามว่า "พระนารายณ์ราชนิเวศน์”

พื้นที่ทั้งหมดภายในพระราชวังแบ่งออกเป็น 3 เขตคือหลังสิ้นรัชกาลพระราชวังแห่งนี้ก็ถูกทิ้งร้างไป จนกระทั่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะซ่อมแซมพระราชวังแห่งนี้และโปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้นใหม่ ปัจจุบัน พระนารายณ์ราชนิเวศน์ได้ใช้เป็นพิพิธภัณฑ์

1. เขตพระราชฐานชั้นนอก

มีอาคารที่สร้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้แก่

•อ่างเก็บน้ำซับเหล็ก จากบันทึกของชาวฝรั่งเศสกล่าวว่าระบบการจ่ายทดน้ำ เป็นผลงานของชาวฝรั่งเศสและอิตาลี โดยน้ำที่เก็บในถังเป็นน้ำที่ไหลมาจากอ่างซับเหล็ก โดยผ่านมาทางท่อดินเผาที่เชื่อมมาจากอ่างซับเหล็ก เพื่อนำน้ำมาใช้ภายในพระราชวัง

•สิบสองท้องพระคลัง สันนิษฐานว่าเป็นคลังเก็บสินค้าหรือเก็บสิ่งของเพื่อใช้ในราชการเลี้ยงตึกแขกเมือง ใช้เป็นสถานที่พระราชทานเลี้ยง

•ตึกพระเจ้าเหา สันนิษฐานว่าคงเป็นหอพระประจำพระราชวัง และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายในตึก ซึ่งพระพุทธรูปองค์นี้อาจมีชื่อว่า พระเจ้าเหา จึงเป็นที่มาของชื่อตึกแห่งนี้

•ตึกรับรองคณะทูตต่างประเทศตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก กลางอุทยานซึ่งแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมจัตุรัส รอบตึกมีคูน้ำล้อมรอบ

•โรงช้างหลวง มีทั้งหมด 10 โรง

2. เขตพระราชฐานชั้นกลาง

•พระที่นั่งจันทรพิศาล ว่า เป็นหอประชุมองคมนตรีสร้างในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

•พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาท เป็นพระที่นั่งท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกรับคณะราชทูต มหาราช มียอดแหลมทรงมณฑป ศิลปกรรมแบบไทยผสมผสานกับฝรั่งเศสประตูและหน้าต่างท้องพระโรงด้านหน้าทำเป็นรูปโค้งแหลมแบบฝรั่งเศส ส่วนตัวมณฑปด้านหลังทำประตูหน้าและหน้าต่างเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์แบบไทย ตรงกลางท้องพระโรงมีสีหบัญชร เป็นที่เสด็จออกเพื่อมีปฏิสันถารกับผู้เข้าเฝ้าในท้องพระโรงตอนหน้า

•หมู่พระที่นั่งพิมานมงกุฏ สร้างในสมัยรัชการที่ 4 ประกอบด้วยพระที่นั่ง 4 องค์เชื่อมติดกัน ได้แก่ พระที่นั่งพิมานมงกุฎ ,พระที่นั่งสุทธิวินิจฉัย ,พระที่นั่งไชยศาสตรากร และพระที่นั่งอักษรศาสตราคม

•ทิมดาบ สร้างสมัยรัชการที่ 4 เป็นที่พักของทหารรักษาการณ์

3. เขตพระราชฐานใน

•พระที่นั่งสุทธาสวรรย์ เป็นพระที่นั่งที่ประทับของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

•หมู่ตึกพระประเทียบ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4

วันเวลาเปิดทำการ

เปิดให้เข้า ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. หยุดวันจันทร์-วันอังคารและวันหยุนักขัตฤกษ์

การเข้าชมผู้เข้าชมจะต้องเสียค่าเข้าชม ชาวไทยคนละ 10 บาท ชาวต่างประเทศ 30 บาท

ติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่พิพิธภัณฑสถาน แห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์ ถนนสรศักดิ์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 15000 โทร. 0-3641-1458

การเดินทาง

จากย่านการค้าปรางค์แขกตรงไปทางธนาคารไทยพาณิชย์ ตาม ถนนสุรศักดิ์ จะเห็นกำแพงอิฐสูงใหญ่อยู่ขวามือ




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช
พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ตั้งอยู่กลางวงเวียนเทพสตรี หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า วงเวียนพระนารายณ์ ใกล้ศาลากลางจังหวัดลพบุรี บริเวณหัวถนน นารายณ์มหาราชก่อนเข้าสู่ย่านตัวเมือง วงเวียนเทพสตรีมีลักษณะเป็นวงเวียนขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระมหากษัตริย์ผู้มีคุณูปการณ์ต่อเมืองลพบุรี ผู้คนจึงนิยมเรียกวงเวียนดังกล่าวว่า วงเวียนพระนารายณ์ หรือ วงเวียนพระนารายณ์ม...
พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว
พิพิธภัณฑ์เปิดบ้านโป่งมะนาว ตั้งอยู่ หมู่ 7 ตำบลห้วยขุนราม อยู่ห่างจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 26.5 กิโลเมตร เป็นแหล่งโบราณคดีมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,500-3,000 ปี ประมาณยุคบ้านเชียงตอนปลาย ตั้งอยู่ในพื้นที่ดอน ลักษณะเป็นพื้นที่ลอนลูกคลื่นเชิงภูเขา มีห้วยสวนมะเดื่อเป็นทางน้ำธรรมชาติสำคัญหล่อเลี้ยงพื้นที่บริเวณนี้ การขุดค้นทางโบราณคดีดำเนินการในพื้นที่หลุมขุดค้นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ขนาดกว้าง 3 เ...
ฟาร์มเห็ดขจรวิทย์
เป็นฟาร์มเห็ดปลอดสารพิษ โดยพัฒนาการใช้จุลินทรีย์ในการเพาะเห็ดเพื่อเพิ่มผลผลิต และคุณภาพ นอกจากเป็นสถานที่เพาะเห็ดเพื่อการค้าแล้ว ยังมีการส่งเสริมการเพาะเห็ด
วัดนครโกษา
วัดนครโกษา โบราณสถานวัดนครโกษา เป็นศาสนสถานที่สร้างซ้อนทับกันหลายสมัย ครั้นตั้งแต่สมัยทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 17 ส่วนพระอุโบสถ วิหาร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสร้างเมืองลพบุรี และสันนิษฐานว่า เจ้าพระยาโกษาธิบดี(เหล็ก)เป็นแม่งานดำเนินการในครั้งนั้นจึงได้ชื่อว่า“วัดนครโกษา” และในปี พ.ศ. 2529-2530 กรมศิลปากรทำ การขุดแต่งที่ฐานเจดีย์องค์ใหญ่ได้พบประติมากรรมในสมัยทวารวดี สาเหตุที่ส...
วัดสันเปาโล
วัดสันเปาโลตั้งอยู่บนถนนร่วมมิตร ตำบลทะเลชุบศร อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี บริเวณทางเข้าวิทยาลัยนาฏศิลป์ลพบุรี ที่นี่ได้รับการสันนิษฐานว่าเป็นวัดในคริสตศาสนา สมเด็จพระนารายณ์มหาราชได้พระราชที่ดินให้แก่บาทหลวงเยซูอิต 12 รูป ที่เดินทางมาสู่กรุงสยาม ครั้งที่ 2 (ครั้งแรก 6 รูป) สันนิษฐานวัดนี้สร้างระหว่าง พ.ศ.2228-2230 คือหลังจากคณะบาทหลวงชุดแรกเดินทางเข้ามาแล้ว และสร้างสำหรับบาทหลวงชุดที่ 2 ซึ่งเป็นนักดาราศาสตร์จ...
วัดมณีชลขัณฑ์
วัดมณีชลขัณฑ์ เป็น วัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่ในตำบลพรหมมาสตร์ อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีที่ตั้งมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะกลางท้องพรหมาสตร์ มีอาณาเขตดังนี้คือทิศเหนือติดหมู่บ้านสระเสวย ทิศใต้ติดต่อตลาดล่าง ทิศตะวันออกติดต่อโรงเรียนเทศบาล 1 (บ้านท่าหิน) และทิศตะวันตกติดต่อหมู่บ้านสะพาน 2 ลักษณะพื้นที่เป็นเกาะกลางท้องพรหมาสตร์รูปสามเหลี่ยมชายธงวัดมณีชลขัณฑ์ เป็นวัดสำคัญเก่าแก่หลายชั่วอายุคนของจัง...
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสมเด็จพระนารายณ์
ตั้งอยู่ในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ นับเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แห่งที่ 3 ของประเทศไทย ตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2466 จัดแสดงศิลปะโบราณวัตถุ และนิทรรศการ ตามอาคารต่างๆ เป็นจำนวน 4 อาคาร คือ1. พระที่นั่งพิมานมงกุฎจัดแสดงหลักฐานโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ที่พบจากแหล่งโบราณคดีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และแหล่งโบราณคดีจังหวัดลพบุรี ภายในพระที่นั่งแบ่งเป็นห้องต่างๆ ได้แก่•ห้องภาคกลางประเทศไทย พ.ศ. 800-1500 รับอิทธิพลของว...
บ้านหลวงรับราชทูต หรือ บ้านหลวงวิชาเยนทร์
ตั้งอยู่บนถนนวิชาเยนทร์ ห่างจากปรางค์แขกประมาณ 300 เมตร ทางทิศเหนือของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ สำหรับเป็นที่รับรองราชทูตที่มาเฝ้าฯ สมเด็จพระนารายณ์มหาราช ที่เมืองลพบุรี คณะราชทูตจากประเทศฝรั่งเศสชุดแรกที่เข้ามาเมื่อปี พ.ศ.2228 ได้พำนัก ณ ที่แห่งนี้ ต่อมา Constantine Phaulkon (คอนสแตนติน ฟอลคอน) ซึ่งเป็นชาวกรีกได้เข้ามารับราชการได้รับความดี ความชอบ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นถึง “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” และได้พระรา...

โรงแรมใกล้เคียง


โรงแรมลพบุรีอินน์ คะแนน : 5.9   รีวิว : 230
โรงแรม ลพบุรี, ประเทศไทย
โรงแรมลพบุรีอินน์ ตั้งอยู่ในย่าน ตัวเมืองลพบุรี ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่สมบูรณ์แบบสำหรับเที่ยวชม ลพบุรี โรงแรมแห่งนี้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ออกแบบมาเพื่อมอบความสะดวกสบายสูงสุดแก่ผู้เข้าพัก สิ่งอำนวยความสะดวกที่จำเป็น เช...
           
ป่าสัก ฮิลล์ไซด์ รีสอร์ท คะแนน : 7.7   รีวิว : 54
โรงแรม ลพบุรี, ประเทศไทย
ป่าสัก ฮิลล์ไซด์ รีสอร์ท ตั้งอยู่ในย่าน ชัยบาดาล ที่มีชื่อเสียงและเดินทางเข้าถึงได้สะดวก โรงแรมแห่งนี้นำเสนอการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกมาตรฐานดีเยี่ยมเพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของนักเดินทางทุกประเภท สิ่งอำนวยความสะดวก...
           
เบญจธารา บูติค เพลส รีสอร์ท คะแนน : 7.1   รีวิว : 333
  โรงแรม ลพบุรี, ประเทศไทย
เบญจธารา บูติค เพลส รีสอร์ท เป็นตัวเลือกที่พักยอดนิยมในหมู่นักเดินทางที่มาเยือน ลพบุรี ไม่ว่าเพื่อเที่ยวชมหรือแวะพักชั่วคราว สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในโรงแรมแห่งนี้จะมอบประสบการณ์การเข้าพักอันสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือน ทางที่พักได...
           
ลพบุรี อินน์ รีสอร์ท คะแนน : 6.4   รีวิว : 235
โรงแรม ลพบุรี, ประเทศไทย
ลพบุรี อินน์ รีสอร์ท ตั้งอยู่ในย่าน ตัวเมืองลพบุรี ที่มีชื่อเสียงและเดินทางเข้าถึงได้สะดวก โรงแรมแห่งนี้ให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่ออกแบบมาเพื่อมอบความสะดวกสบายสูงสุดแก่ผู้เข้าพัก คุณสามารถพบบริการต่างๆ เช่น ห้องประชุม จั...
           
www.Stats.in.th