พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ ตำบลในเมือง จัดแสดงเรื่องราวท้องถิ่นอีสานเหนือ ในทางด้านภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี วัฒนธรรมพื้นบ้านและชาติพันธุ์วิทยา
เป็นพิพิธภัณฑ์ที่มีโบราณวัตถุล้ำค่าของภาคอีสานตอนบนหลายสมัย เช่น สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยทวารวดี หรือข้าวของเครื่องใช้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นอีสาน ฯลฯ ทั้งหมดจัดแสดงโดยแบ่งเป็นยุคสมัยต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ ในอาคารทรงไทยประยุกต์สองชั้น ซึ่งเชื่อมต่อกับอาคารจัดแสดงใบเสมากลางแจ้งและอาคารชั้นเดียว ด้านหลัง สิ่งน่าสนใจ ได้แก่
ภาชนะดินเผา สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 5,600 - 4,500 ปีมาแล้ว ทำจากดินเผา สูง 21 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลางปากภาชนะ 26.5 ซม. เลขทะเบียน 121/2516 แหล่งโบราณคดีบ้านธาตุ ต. บ้านธาตุ อ. เพ็ญ จ. อุดรธานี
ขวานสำริดมีบ้อง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 4,000 ปีมาแล้ว สำริด 10.5x12, 5x 5.5, 4.5x6 ซม. เลขทะเบียน (ซ้าย-ขวา-ล่าง) 279/2516, 283/2516, 282/2516
กำไลงาช้าง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 4,000 - 3,000 ปีมาแล้ว ทำจากงาช้าง เส้นผ่าศูนย์กลาง 11 ซม., เลขทะเบียน 183/2516 แหล่งโบราณคดีบ้านโพนสูง ต. โพนสูง อ. บ้านตุง จ. อุดรธานี ลูกปัดและต่างหูเปลือกหอย สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,500 - 1,800 ปีมาแล้ว ทำจากเปลือกหอย เลขทะเบียน NC 12082 แหล่งโบราณคดีบ้านโนนชัย อ. เมือง จ. ขอนแก่น
กระดิ่งสำริด สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อายุประมาณ 2,500 - 1,800 ปีมาแล้ว ทำจากสำริด สูง 11 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 ซม. เลขทะเบียน 227/2520 แหล่งโบราณคดีบ้านโนนชัย อ. เมือง จ. ขอนแก่น
ใบเสมาสลักภาพพุทธประวัติ ตอน "พิมพาพิลาป" ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 15 ทำจากหินทราย สูง 190 ซม. กว้าง 68 ซม. เลขทะเบียน 225/2516 พบที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อ. กมลาไสย จ. กาฬสินธุ์ พระพิมพ์ปางแสดงธรรม ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 ทำจากดินเผา สูง 14 ซม. กว้าง 9 ซม. เลขทะเบียน 468/2522 พบที่เมืองนครจำปาศรี อ. นาดูน จ. มหาสารคาม
พระพิมพ์ปางสมาธิ ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 ทำจากดินเผา สูง 22.5 ซม. กว้าง 14 ซม. เลขทะเบียน 435/2516 พบที่โบราณสถานอุ่มญาดู เมืองกันทรวิชัย อ. กันทรวิชัย จ. มหาสารคาม
พระพุทธรูปปางทรงแสดงธรรม (วิตรรกะ) ศิลปะทวารวดี ราวพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 ทำจากสำริด สูง 9.5 ซม. กว้าง 3 ซม. เลขทะเบียน Ra.53 พบที่เมืองชัยวาน กิ่งอ. โคกโพธิ์ไชย จ. ขอนแก่น
อาคารพิพิธภัณฑ์ มีสองชั้น โดยจัดแสดงดังนี้
- ชั้นล่างด้านขวา แสดงนิทรรศการสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ของภาคอีสานตอนบน บอกเล่าเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก ตั้งแต่ 280 ล้านปีก่อน ผ่านยุคไดโนเสาร์ซึ่งมีการค้นพบฟอสซิลอายุ 160 ล้านปีที่ภูเวียง กระทั่งถึงมนุษย์ยุคก่อนประวัติศาสตร์ และจัดแสดงโบราณวัตถุที่น่าสนใจ เช่น เครื่องมือหินกะเทาะสมัยสังคม ล่าสัตว์อายุ 1 หมื่นปี ภาชนะดินเผาอายุ 5,600 ปี ขวานสำริดอายุ 4,000 ปี กำไลงาช้างอายุ 4,000 ปี เครื่องประดับทำจากเปลือกหอยทะเลอายุ 2,500 ปี ฯลฯ
- ชั้นล่างด้านซ้าย จัดแสดงใบเสมาและชิ้นส่วนศิลปกรรมสมัยทวารวดี เช่น ใบเสมาหินทรายกว้าง 68 ซม. สูง 190 ซม. สลักภาพพุทธประวัติตอนพิมพาพิลาป อายุราวพุทธศตวรรษที่ 15 พบที่เมืองฟ้าแดดสูงยาง จ. กาฬสินธุ์ และใบเสมาหินทรายสลักลายสวยงามอีกหลายชิ้น
- ชั้นบน เป็นห้องโถงโหญ่จัดแสดงโบราณวัตถุชิ้นสำคัญมาก มาย เช่น พระพุทธรูปสมัยต่าง ๆ ของไทยและลาว พระพิมพ์ปางแสดงธรรมสมัยทวารวดี พระแผ่นเงินดุนสมัยทวารวดี พระพุทธรูปนาคปรกศิลปะลพบุรี ฯลฯ
อาคารจัดแสดงใบเสมากลางแจ้ง กลางแจ้ง อยู่ด้านตะวันตกของ อาคารพิพิธภัณฑ์ เป็นอาคารโล่งไม่มีผนัง จัดแสดงใบเสมาหิน ทรายแกะสลักลวดลายสวยงามมากมาย บริเวณสนามหญ้าภาย นอกอาคารมีใบเสมาโบราณตั้งกระจายอยู่ทั่ว เป็นใบเสมาที่พบในเมืองฟ้าแดดสูงยาง จ. กาฬสินธุ์ และแถบอีสานตอนบน
นิทรรศการภายในอาคารชั้นเดียวด้านหลัง จัดแสดงในห้องด้านซ้ายและขวา
- ห้องด้านซ้าย จัดแสดงโบราณวัตถุและเครื่องใช้ของบุคคล สำคัญคู่เมืองขอนแก่น เช่น ง้าวโบราณของอดีตเจ้าเมือง ตู้พระธรรมลายรดน้ำและธรรมาสน์ทรงปราสาทแกะสลักลงรักปิดทองศิลปะพื้นบ้านอันสวยงาม เป็นต้น
- ห้องด้านขวา จัดแสดงวัฒนธรรมพื้นบ้านอีสาน มีเรือนอีสานจำลองแสดงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอีสานดั้งเดิม ลานบ้านมีเกวียน ใต้ถุนบ้านมีเครื่องมือเกษตร เครื่องมือจับปลา เครื่องจักสาน มีแคร่สำหรับนั่งทอผ้า บนเรือนมีเครื่องเรือนเครื่องใช้แบบพื้นบ้านจัดไว้อย่างน่าชม
ที่ตั้ง: ตั้งอยู่ที่ถนนหลังศูนย์ราชการ
เว็บไซต์: -
เวลาทำงาน: วันจันทร์ - วันอาทิตย์
โทรศัพท์: 0-4324-6170 |