ที่เที่ยวสุรินทร์ > อำเภอเมืองสุรินทร์ > หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม
หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านจันรม
ตำบลตาอ็อง อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เมืองสุรินทร์ สุรินทร์ 32000
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
หมู่บ้านทอผ้าไหม บ้านจันรม ตั้งอยู่ที่ตำบลเขวาสินรินทร์ เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในด้านแหล่งทอผ้าไหมพื้นเมือง และแหล่งผลิต เครื่องประดับเงิน ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายหัตถกรรมทั้ง 2 ประเภท นี้ที่มีชื่อเสียงของจังหวัด การเดินทางใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 214 สาย สุรินทร์-จอมพระ ถึงกม.ที่ 14-15 แล้วแยกขวาเข้าไปอีกประมาณ 4 กม. ถัดจากหมู่บ้านเขวาสินรินทร์ไป มีหมู่บ้านชื่อ "บ้านโชค และบ้านสดอ" ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องเงิน และทอผ้าไหม นอกจากนี้ยังมีหมู่บ้านจันรมย์ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก ของอำเภอเมือง ตามถนนสายสุรินทร์-สังขะ ทางหลวงหมายเลข 2077 ประมาณกม.ที่ 9 ที่หมู่บ้านนี้มีการปลูกหม่อน และเลี้ยงไหมกันเองแล้วนำมาทอเป็นผ้าไหมที่มีลวดลายและสีแบบ โบราณ และยังเป็นหมู่บ้านที่ทำหัตถกรรมเครื่องจักสานอีกด้วยจังหวัดสุรินทร์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีวัฒนธรรมการทอผ้าไหมมานานและได้สืบทอดเป็นมรดกทางวัฒนธรรมมานานจนเป็นเอกลักษณ์ของตนเองที่น่าสนใจยิ่ง กรรมวิธีการทอจังหวัดสุรินทร์นิยมนำเส้นไหมขั้นหนึ่งหรือไหมน้อย (ภาษาเขมร เรียก โซกซัก) มาใช้ในการทอผ้า ในจังหวัดสุรินทร์มีการทอผ้ามากมายหลาย ผ้านุ่งหญิง และผ้านุ่งชาย มีหลายลวดลายแบ่งออกเป็นหลากหลายลายเช่นมัดหมี่โฮล หรือ จองโฮล (จองเป็นภาษาเขมร หมายถึง ผูกหรือมัด) หรือ ซัมป็วตโฮล ผ้าโฮลเป็นผ้าไหมมัดหมี่ของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยเชื้อสายเขมรในจังหวัดสุรินทร์ ผ้ามัดหมี่โฮลถือเป็นลายเอกลักษณ์ของลายผ้าไหมมัดหมี่ จังหวัดสุรินทร์ โฮล เป็นคำในภาษา เขมร เป็นชื่อเรียก กรรมวิธีการผลิตผ้าไหมประเภทหนึ่งที่สร้างลวดลายขึ้นมาจากกระบวนการมัดย้อมเส้นไหมให้เกิดสีสันและลวดลายต่างๆก่อน แล้วนำมาทอเป็นผืนผ้า ซึ่งตรงกับคำว่า ผ้าปูม ในภาษาไทย มัดหมี่ในภาษาลาว และคำว่า IKAT (อิ-กัด) ซึ่งเป็นลำดับที่ภาษาอินโดนีเซีย-มาลายู แต่ชาวตะวันตกมักรู้จักผ้ามัดหมี่ของมาเลย์-อินโดนีเซีย และเรียก IKAT ตามไปด้วย ผ้าโฮลมี 5 สี ได้แก่ สีดำ, แดง,เหลือง,น้ำเงิน และเขียว สีเหล่านี้ได้จากการย้อมด้วยสีธรรมชาติ เนื้อผ้ามักมี 2 สี ด้านหน้าเป็นสีอ่อน อีกด้านหนึ่งเป็นสีเข้มกว่าผ้าโฮลเปราะห์ (ลายโฮลผู้ชาย) เป็นผ้ามัดหมี่ของกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรบริเวณอีสานใต้ มีลวดลายและสีสันต่าง ๆ กัน ใช้เป็นผ้านุ่งโจงกระเบนของผู้ชาย ในสมัยโบราณเรียก ผ้าปูมเขมร ราชสำนักใช้เป็นผ้าพระราชทานให้ข้าราชบริพารตามตำแหน่ง เป็นผ้าขนาดใหญ่ กว้างยาวมาก มักมีเชิง คล้ายผ้าปาโตลาของอินเดีย บางทีเรียก ผ้าสมปัก หรือ ผ้าสอง ปัก ภาษาเขมรหมายถึงผ้านุ่ง ซึ่งจะพระราชทานให้ตามยศ เช่น สมปักปูม สมปักกรวยเชิง สำหรับข้าราชการชั้นสูง ผ้าสมปักริ้ว ผ้าสมปักลาย สำหรับข้าราชการระดับเจ้ากรมและปลัดกรม ผ้าสมปักล่องจวนที่มีพื้นสีขาวสำหรับพราหมณ์นุ่ง ได้ยกเลิกไปในสมัยราชการที่ 5
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง