ที่เที่ยวสุรินทร์ > อำเภอเขวาสินรินทร์ > หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์
หมู่บ้านหัตถกรรมเขวาสินรินทร์
ตำบลเขวาสินรินทร์ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เขวาสินรินทร์ สุรินทร์ 32000
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
ตั้งอยู่ทางเหนือของตัวเมืองสุรินทร์ เป็นหมู่บ้านที่มีชื่อเสียงในการทอผ้าไหมพื้นเมืองที่เรียกว่า ผ้าโฮล และการผลิตลูกประคำเงิน ที่เป็นเอกลักษณ์ของหมู่บ้าน เรียกกันว่า ลูกปะเกือม นำมาทำเป็นเครื่องประดับของสุภาพสตรีที่สวยงาม มีร้านค้าจำหน่ายสินค้าในบริเวณหมู่บ้าน ตามทางหลวงหมายเลข 214 (สายสุรินทร์-ร้อยเอ็ด) ไปประมาณ 14 กิโลเมตร แยกขวามือไปอีก 4 กิโลเมตรงานหัตถกรรมเครื่องเงินของหมู่บ้านเครื่องเงิน ต.เขวาสินรินทร์... "กลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค" สร้างความโดดเด่นในเรื่องคงเอกลักษณ์ กรรมวิธีโบราณผสานกับการทำประเกือม หรือ ประคำในภาษากลาง ด้วยวัตถุดิบเงิน 60% สื่อสารภาพลักษณ์ผ่านการประดิษฐ์ลวดลายต่างๆจำนวน 13 ลาย คือ ขจร มะลิ ดอกปลึด 3 ชั้น เอกปลึด ตังโอ๋ ตังโอ 3 ชั้นระเวยิ่ง ทานตะวัน รวงผึ้ง รังแตน รำหอกโปรง และลายรำหอก ซึ่งทำยากที่สุด เนื่องจากเป็นลายที่มีความสลับซับซ้อนและมีราคาสูง ในขณะที่ลายไข่แมงดารับสั่งทำบ่อยที่สุด เพราะลวดลายสวย นายป่วน เจียวทอง ที่ปรึกษากลุ่มหัตถกรรมเครื่องเงินบ้านโชค เล่าต่อว่า เคยทำทั้ง 13 ลายซึ่งน้ำหนักแต่ละดอกประมาณ 200 กรัมนั้น ได้ถวายให้กาญจนาภิเษกวิทยาลัยช่างทองหลวง เมื่อปี 2544 เนื่องจากลูกศิษย์ของวิทยาลัยมาเรียน หวังเพื่อใช้ในการศึกษาโดยทั่วไป ทั้งนี้ การคิดและออกแบบเพิ่มนอกเหนือจาก 13 ลายนี้ จะไม่มีการเขียนแบบเก็บเอาไว้ ถ้าขายแล้วก็จะไม่ทำอีก สำหรับสินค้าที่มีความพิเศษ (Master Piece)ราว 270 ปีเศษ ประชาชนชาวเขมรกลุ่มหนึ่งได้อพยพหนีสงครามออกมาจากกรุงพนมเปญ ข้ามภูเขาบรรทัดมาตั้งภูมิลำเนาให้มั่นคงถาวร "โคกเมือง" หรือเรียกว่า" ผไทสมันท์" ซึ่งเป็นเมืองร้างแต่มีภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ พวกเขาพกความสามารถในการตีทองรูปพรรณเป็นเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับคอ เรียกกันในภาษาถิ่นว่า จาร ตะกรุด หรือ ปะคำ และลูกหลานมักรวบรวมทองเป็นเม็ดบ้าง แผ่นบ้าง สืบทอดวิชาช่างและรับจ้างเดินทางไปจังหวัดใกล้เคียง อย่างบุรีรัมย์ ศรีสะเกษ เป็นต้น แต่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2500-2521 งานทำทองรูปพรรณเป็นเครื่องประดับได้หยุดชะงักไป เพราะชาวบ้านนิยมซื้อจากห้างร้านมากกว่า และนี้เองกลายเป็นการพลิกโฉมวัตถุดิบดั่งเดิมของบรรพบุรุษ สู่หัตถกรรมพื้นบ้านเครื่องประดับเงิน วิธีสังเกตความสวยงาม อยู่ที่ลายที่แกะด้านนอกและความแวววาวของเนื้อโลหะเงิน พ่วงด้วยผลผลิตปลายทาง อย่าง เครื่องประดับกำไลข้อมือ สร้อยประคำ ต่างหู แหวน เป็นต้น พร้อมเพิ่มความหลากหลายของสินค้าด้วยการผสมกับวัสดุชนิดอื่น เช่น มุก นิล ลูกปัดหิน กลายเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์อันภาคภูมิของคนอีสานใต้
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง