ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
|
|
|
|
กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ
|
|
ที่เที่ยวสงขลา > อำเภอเมืองสงขลา > พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา |
|
|
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา |
|
อำเภอเมืองสงขลา เมืองสงขลา สงขลา 90000 |
|
|
|
|
|
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว |
ตั้งอยู่ที่ถนนวิเชียรชมเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนอายุกว่า 100 ปีอยู่ตรงข้ามกำแพงเมืองจังหวัดสงขลา อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เดิมเป็นคฤหาสน์ของผู้ช่วยเจ้าเมืองสงขลา พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร ณ สงขลา) ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลาเมื่อปี พ.ศ. 2421 จนกระทั่งปี พ.ศ. 2437 จึงใช้เป็นที่พำนักและว่าราชการของพระยาวิจิตรวรศาสตร์ ข้าหลวงพิเศษตรวจราชการเมืองสงขลา ซึ่งต่อมาก็คือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) หลังจากนั้นได้ใช้เป็นศาลาว่าการมณฑล นครศรีธรรมราช และเป็นศาลากลางจังหวัดตามลำดับจนถึงปี พ.ศ. 2496 ในปี พ.ศ. 2516 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนอาคาร แห่งนี้เป็นโบราณสถาน และปรับปรุงเป็นพิพิธภัณฑสถานของชาติ และเมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2525 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเปิดพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เพื่อให้เป็น สถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุภาคใต้ตอนล่าง และเป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดี ประวัติศาสตร์ศิลปะชาติพันธุ์วิทยา ศิลปะจีน ศิลปะพื้นบ้านพื้นเมือง อาทิบานประตูไม้เดิมของจวนเป็นศิลปะพุทธศตวรรษที่ 24 ทำด้วยไม้จำหลักเขียนสีและประดับมุกฝีมือช่างชาวจีนชั้นครูแสดงออกถึงคตินิยมในธรรมเนียมประเพณีวรรณคดีศาสนาตามแบบจีนที่วิจิตรงดงามยังความสมบูรณ์อยู่มากโบราณวัตถุสมัยก่อนประวัติศาสตร์แหล่งโบราณคดีจากบ้านเชียงและกาญจนบุรีนอกจากนี้ ยังจัดแสดงศิลปโบราณวัตถุที่เกี่ยวกับตระกูล ณ สงขลา ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองสงขลา ในอดีตด้วย ฯลฯ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสงขลา มีลักษณะสถาปัตยกรรมแบบจีน ภายในจัดแสดงศิลปวัตถุที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม อันเป็นเอกลักษณ์ ของภาคใต้และของประเทศไทย อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีนผสมยุโรป สร้างเป็นตึกก่ออิฐ สอปูน 2 ชั้น บ้านหันหน้าไปทางทิศตะวันตก หันหน้าสู่ทะเลสาบสงขลา ลักษณะตัวบ้านยกสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ปลูกเป็น เรือนหมู่ 4 หลัง เชื่อมติดกันด้วยระเบียงทางเดิน มีบันไดขึ้น2 ทาง คือด้านหน้าและตรงกลางลานด้านใน กลางบ้านเป็นลานเปิดโล่ง สำหรับปลูกต้นไม้หรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ด้านหน้าอาคารมีสนามและมีอาคารโถงขนาบสองข้าง ด้านหลังมีสนามเช่นเดียวกัน พื้นที่โดยรอบอาคารเป็นสนามหญ้าและสวนมีกำแพงโค้งแบบจีนล้อมรอบ อาคารชั้นบน ห้องยาวด้านหลัง มีบานประตูลักษณะเป็นบานเฟี้ยม แกะสลักโปร่งเป็นลวดลายเล่าเรื่องในวรรณคดีจีน สลับลายพันธุ์พฤกษา หรือลายมังกรดั้นเมฆ เชิงไข่มุกไฟ ส่วนหัวเสาชั้นบนของอาคารมีภาพเขียนสีเป็นภาพเทพเจ้าจีน หรือลายพฤกษา ภายในห้องตรงขื่อหลังคา จะมีเครื่องหมายหยินหยาง โป้ยป้อ หรือ ปากั้ว เพื่อป้องกันภยันตรายต่าง ๆ ตามคตินิยมของชาวจีน หลังคามุงกระเบื้องสองชั้นฉาบปูนเป็นลอน สันหลังคาโค้ง ปลายทั้งสองด้านเชิดสูงคล้ายปั้นลมของเรือนไทย ภายนอกอาคาร บริเวณผนังใต้จั่วหลังคา มีภาพประติมากรรมนูนต่ำสลับลาย ภาพเขียนสี เป็นรูปเทพเจ้าจีนและลายพันธุ์พฤกษา |
|
|
|
เว็บไซต์ : - |
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org |
|
|
|
ที่เที่ยวใกล้เคียง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรงแรมใกล้เคียง |
|
|
|
|
|