ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอวิเศษชัยชาญ > วัดวิเศษชัยชาญ



วัดวิเศษชัยชาญ

ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ วิเศษชัยชาญ อ่างทอง 14110




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

สุวรรณ” และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดวิเศษชัยชาญ” วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2499 แต่ภายหลังได้เขียนคำว่า “ไชย” มาเป็น “ชัย” ให้สอดคล้องตรงกับชื่ออำเภอ และอักขรวิธีได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2472 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่นของทางราชการ เกี่ยวกับการศึกษาทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา มีห้องสมุด และมูลนิธิสาธารณกุศลตั้งอยู่ที่วัดนี้ด้วย

วัดวิเศษชัยชาญเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองวิเศษชัยชาญมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ปัจจุบันเหลือหลักฐานเพียงเจดีย์เท่านั้น ส่วนสิ่งปลูกสร้างอื่นนอกเหนือจากนั้นได้สร้างขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ โดยพื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำน้อย จึงมักถูกน้ำท่วมในฤดูฝน อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีพระอุโบสถมีลักษณะงดงาม และแปลกที่มีการยกพื้นใต้ถุนสูง กว้าง 14 เมตร ยาว 19 เมตร สร้าง พ.ศ. 2474 มีเสากลม 12 ต้น อยู่ด้านนอกมีหลังคาซ้อนกัน 4 ชั้น และมีลวดลายที่งดงามบนหน้าบัน ซึ่งภายในอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนัง 4 ด้าน เขียนขึ้นราว 30 ปีเศษ จิตรกรรมฝาผนังที่เขียนขึ้นในสมัยเดียวกัน เป็นภาพพุทธประวัติและภาพข้าศึกที่เป็นฝรั่งขี่เข้ามา ภาพทั้งหมดเขียนแบบแรงเงาโดบนายปุ๋ย พุ่มรักษา ช่างในเมืองหลวง ส่วนด้านข้างพระอุโบสถมีมณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญกว้าง 15 เมตร ยาว 29 เมตร สร้าง พ.ศ. 2472 กุฎีสงฆ์จำนวน 10 หลัง เป็นอาคารคอนกรีต สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ และมีอนุสาวรีย์วีรบุรุษ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ คือ นายดอก และนายทองแก้ว อยู่ด้านหน้าวัด

การเดินทาง

วัดวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่เลขที่ 100 บ้านท่าสุวรรณ หมู่ที่ 2 ตำบลไผ่จำศีล อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 52 ไร่ 1 งาน อาณาเขต ทิศเหนือยาว 500 เมตร ติดต่อกับที่ราชพัสดุ ทิศใต้ยาว 1,000 เมตร ติดต่อกับหมู่บ้านเรือนของประชาชน ทิศตะวันออกยาว 1,500 เมตร ติดต่อกับหมู่บ้านเรือนของประชาชน ทิศตะวันตกยาว 1,500 เมตร ติดต่อกับแม่น้ำน้อย




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดสี่ร้อย
ในอดีต ล่วงมาถึงปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่า ได้ให้มังระมังฆ้อนนรธาราชบุตร ยกทัพมาตี เมืองมะริดของไทย ซึ่งอยู่ในความปกครองของกรุงศรีอยุธยาในครั้งนั้นขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ซึ่งเป็นผู้ทรงวิทยาคม แก่กล้า ชำนาญในการรบด้วยดาบสองมือ มีลูกศิษย์มากมาย จึงได้รวบรวมชาววิเศษไชยชาญ จำนวน 400 คน เข้าสมทบกับ กองทัพของพระยารัตนาธิเบศร์ โดยใช้ชื่อว่า “กองอาทมาต”พระยารัตนาธิเบศร์ ยกกองทัพไปตั้งที่เม...
วัดเขียน
ภาพจิตรกรรมฝาผนังในอุโบสถวัดเขียน อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2511 ตอนนั้นสภาพของอุโบสถย่ำแย่ หลังคาทรุดโทรม น้ำฝนไหลชะภาพเขียนออกไปเสียมาก ต่อมาเมื่อมีการออกข่าวแพร่หลายก็ได้มีผู้สนใจไปดูกันมาก รวมทั้งสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งเสด็จพระราชดำเนินไปทอดกฐินที่วัดเขียน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการซ่อมแซมพระอุโบสถโดยการรักษาสภาพเดิมไว้ และรื้อหลังคาเดิม...
วัดม่วง
เดิมทีวัดม่วงเป็นวัดร้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ปี พ.ศ. 2230 แขวงเมืองวิเศษชาญ ซึ่งเคยได้เป็นเมืองหน้าด่าน ที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาในปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาได้เสียกรุงให้แก่พม่า พม่าได้เผาผลาญบ้านเมือง วัดวาอาราม และพระพุทธรูปไปเป็นจำนวนมาก สิ่งที่หลงเหลืออยู่ คือ ซากปรักหักพังของวัดวาอาราม และพระพุทธรูป ที่อยู่บนเนินมีต้นไม้ใหญ่จำนวนมากเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2525 ท่านพระ...
วัดอ้อย
สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของวิเศษชัยชาญ ดูจากรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นสมัยอยุธยาที่ยังคงสภาพสมบูรณ์ มีลักษณะใหญ่สัดส่วนบึกบึน สง่างามคล้ายอุโบสถวัดพุทไธสวรรย์ ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา คือมีเสาระเบียงรอบอุโบสถเป็นเสาแปดเหลี่ยมใหญ่ 4 ต้น ด้านหน้า ด้านข้างเป็นเสาเหลี่ยม หัวเสาเป็นรูปบัวแวง มีหน้าบันเล็ก หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบกล้วยในส่วนที่คลุมโถงกลาง ส่วนหลังคาที่คลุมส่วนข้างมุงด้วยกระเบื้องห...

โรงแรมใกล้เคียง