ที่เที่ยวเพชรบูรณ์ > อำเภอชนแดน > ศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์
ศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์
สี่แยกบุ่งน้ำเต้า ตำบลบุ่งน้ำเต้า ชนแดน เพชรบูรณ์ -
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
ศาลหลักเมืองนครบาลเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ที่ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2487 ปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นหลักเมืองที่ทำด้วยซีเมนต์ จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นประธานทำพิธีฝังเสาหลักเมืองในสมัยที่รัฐบาลได้ประกาศใช้พระราชกำหนดระเบียบบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ พ.ศ.2487 โดยมีภาพถ่ายของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ขณะกำลังทำพิธีฝังหลักเมือง และมีข้อความเขียนบรรยายไว้ว่า "จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีได้เป็นประธาน กระทำพิธีฝัง เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2487""เสาหลักเมืองนครบาล" หรือ "ศาลหลักเมืองหลวง" นี้เป็นความภาคภูมิใจของชาวจังหวัดเพชรบูรณ์อีกแห่งหนึ่งและก็เป็นที่มาของคำว่า "หนุ่มนครบาล" ถือเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองเพชรบูรณ์ที่ชวนให้รำลึกถึงว่า ครั้งหนึ่งเพชรบูรณ์เคยได้ชื่อว่าเป็นเมืองหลวงมาก่อน โดยในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ประเทศไทยกำลังตกอยู่นาภาวะคับขัน กรุงเทพถูกโจมตีจากฝ่ายพันธมิตรอย่างรุนแรง คณะรัฐมนตรีสมัยนั้นเห็นว่า เพชรบูรณ์มีความเหมาะสมที่จะเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ เพราะมีชัยภูมิที่เหมาะสมมีภูเขาล้อมรอบ มีเส้นทางคมนาคมเข้าออกเพียงทางเดียวและมีภูมิประเทศสวยงาม อากาศดี อยู่ตรงกลางของประเทศ เป็นศูนย์กลางภาคเหนือกับภาคอีสานและกรุงเทพมหานคร ทั้งยังต้องการสร้างเพชรบูรณ์ให้เป็นฐานทัพลับ เพื่อซ่องสุมกำลังพลไว้เพื่อรบขับไล่ศัตรู (ฝ่ายญี่ปุ่น)การดำเนินการก่อสร้างนครบาลเพชรบูรณ์ รัฐบาลจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ออกคำสั่งเป็นครั้งแรกในวันที่ 13 มีนาคม 2486 และดำเนินการร่างพระราชกำหนดจัดระเบียบราชการบริหารนครบาลเพชรบูรณ์ขึ้น โดยกำหนดให้ราชการบริหารส่วนภูมิภาคจังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นนครบาลเพชรบูรณ์และอพยพราษฎรมาตั้งหลักแหล่งอยู่ที่เพชรบูรณ์พร้อมกับย้ายที่ทำการรัฐบาล สถานที่ราชการมาตั้งที่เพชรบูรณ์พร้อมกับมีการทำพิธีสร้างหลักเมืองนครบาลขึ้น ที่ตำบลบุ่งน้ำเต้า อำเภอหล่มสัก ส่วนที่ทำการราชการต่างๆสมัยนั้นได้จัดสร้างเป็นลักษณะชั่วคราวจากไม้ไผ่ จักสาน และดินเผา ซึ่งได้เสื่อมสภาพไปหมดแล้ว ปัจจุบันคงเหลือแต่เพียงเสาหลักเมืองนครบาลเท่านั้น
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง