ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอท่าเรือ > วัดพนัญเชิงวรวิหาร



วัดพนัญเชิงวรวิหาร

- ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลคลองสวนพลู ริมแม่น้ำป่าสักทางทิศใต้ฝั่งตรงข้ามของเกาะเมือง ห่างจากตัวเมืองราว 5 กิโลเมตร หรือเมื่อออกจากวัดใหญ่ชัยมงคล ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปตามถนนประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะเห็นวัดพนัญเชิงอยู่ทางขวามือ วัดพนัญเชิงเป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร แบบมหานิกาย เป็นวัดที่มีมาก่อนการสร้างกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ตามพงศาวดารเหนือกล่าวว่า พระเจ้าสายน้ำผึ้งซึ่งครองเมืองอโยธยาเป็นผู้สร้างขึ้นตรงที่พระราชทานเพลิงศพพระนางสร้อยดอกหมาก และพระราชทานนามวัดว่า “วัดพระเจ้าพระนางเชิง” (หรือวัดพระนางเชิง)

พระวิหารเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ตามพงศาวดารกล่าวว่าสร้างเมื่อพ.ศ.1867 ก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา 26 ปีเดิมชื่อ “พระพุทธเจ้าพนัญเชิง”(พระเจ้าพะแนงเชิง) แต่ในรัชกาลที่ 4 เมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปองค์นี้ได้พระราชทานนามใหม่ว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” (ชาวบ้านนิยมเรียกหลวงพ่อโต ชาวจีนนิยมเรียกว่าซำปอกง ผู้คุ้มครองการเดินทางทางทะเล)เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะแบบอู่ทองปางมารวิชัยลงรักปิดทอง มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตรและสูง 19.13 เมตร ฝีมือปั้นงดงามมาก เบื้องหน้ามีตาลปัตรหรือพัดยศและพระอัครสาวกที่ทำด้วยปูนปั้นลงรักปิดทองประดิษฐานอยู่เบื้องซ้ายและขวา อาจนับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปนั่งสมัยอยุธยาตอนต้นที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน เป็นที่เคารพสักการะของชาวจังหวัดอยุธยาและจังหวัดใกล้เคียง เข้าใจว่าเมื่อสร้างพระองค์ใหม่เสร็จแล้วจึงสร้างพระวิหารหลวงขึ้นคลุมอีกทีหนึ่ง ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อคราวพระนครศรีอยุธยาจะเสียกรุงแก่ข้าศึกนั้น พระพุทธรูปองค์นี้มีน้ำพระเนตรไหลออกมาทั้งสองข้าง ส่วนในพระวิหาร เสาพระวิหารเขียนสีเป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่งสีแดงที่หัวเสามีปูนปั้นเป็นบัวกลุ่มที่มีกลีบซ้อนกันหลายชั้น ผนังทั้งสี่ด้านเจาะเป็นซุ้มเล็กประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดเล็กโดยรอบจำนวน 84,000 องค์เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ส่วนประตูทางเข้าด้านหน้าซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออก เป็นบานประตูไม้แกะสลักลอยตัวเป็นลายก้านขดยกดอกนูนออกมา เป็นลักษณะของศิลปะอยุธยาที่งดงามมากแห่งหนึ่ง

พระอุโบสถ ประดิษฐานพระพุทธรูป 5 องค์ ศิลปะสุโขทัย วิหารเซียน อยู่ด้านหน้าของพระวิหารหลวงเป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าซึ่งแต่เดิมมีภาพจิตรกรรมเขียนไว้บนผนังทั้งสี่ด้าน แต่ถูกโบกปูนทับไปแล้วเมื่อคราวบูรณะปฏิสังขรณ์ ข้างในพระวิหารหลังนี้ประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะแบบอยุธยา ศาลาการเปรียญ หลังเก่าย้ายจากริมแม่น้ำมาอยู่ด้านหลังของวัด เป็นศาลาทรงไทยสร้างด้วยไม้ หน้าบันประดับช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ บริเวณคอสอง (ขื่อ) ด้านในศาลามีภาพเขียนสีบนผ้าเป็นภาพพุทธประวัติอยู่โดยรอบ มีตัวอักษรเขียนไว้ว่าภาพเขียนสีนี้เขียนขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2472 ภายในศาลามีธรรมาสน์อยู่ 1 หลังสลักลวดลายสวยงามเป็นศิลปะแบบรัตนโกสินทร์

ภายในวัดพนัญเชิงยังจะพบ ตึกเจ้าแม่สร้อยดอกหมาก ตั้งอยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ก่อสร้างเป็นตึกแบบจีนเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นเจ้าแม่สร้อยดอกหมากในเครื่องแต่งกายแบบจีน ชาวจีนเรียกว่า “จูแซเนี๊ย” เป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป คนไทยเข้าชมฟรี สำหรับชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชมคนละ 20 บาท

แผนที่การเดินทางไปวัดพนัญเชิงวรวิหาร




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดชุมพลนิกายาราม
วัดชุมพลนิกายาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่หัวเกาะบางปะอิน ตำบลบ้านเลน อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดต่อกับเขตอุปจาระพระราชวังบางปะอิน และอยู่ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา วัดนี้จึงเป็นอีกวัดที่มีทัศนียภาพงดงามน่าชม วัดชุมพลนิกายาราม สันนิษฐานว่าสร้างโดยพระเจ้าปราสาททองในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเมื่อปีวอก พ.ศ. 2175 ตรงบริเวณที่เป็นเคหสถานเดิมของพระราชชนนีของพระองค์ วัดแห่งน...
อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์
อนุสรณ์สถานปรีดี พนมยงค์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเมือง ตรงข้ามวัดพนมยงค์ ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา เป็นอนุสรณ์สถานแด่ท่านปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโสซึ่งเป็นผู้นำฝ่ายพลเรือนในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ท่านได้รับประกาศเกียรติคุณให้เป็นบุคคลสำคัญของโลกโดยองค์การยูเนสโกในปี 2542 อนุสาวรีย์ปรีดี พนมยงค์ เกิดขึ้นจากความรักแล...
อาคารท้องฟ้าจำลอง
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดว่ามีความโดดเด่นเรื่องการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่าเมืองเก่าของเรานั้นมีแหล่งท่องเที่ยวแบบอื่นๆ ที่น่าสนใจให้ลองแวะชมด้วยเช่นกัน สำหรับใครที่เข้าชมศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาแล้ว ต้องไม่พลาดชมอาคารท้องฟ้าจำลองด้วย อาคารท้องฟ้าจำลอง ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังอาคารศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นท้องฟ้า...
ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ
ศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ติดกับพื้นที่ของศูนย์ศิลปาชีพบางไทร เป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาทางด้านศิลปหัตถกรรมของไทย โดยมุ่งเน้นการฝึกอาชีพให้แก่เกษตรกร เพื่อมุ่งผลักดันให้ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านเป็นที่นิยมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ภายในศูนย์ศิลปาชีพระหว่างประเทศ ประกอบด้วยสถานที่และสิ่งที่น่าสนใจหลายแห่ง อาทิ
ศาลาพระมิ่งขวัญ เป็นอาคารทร...
วัดมเหยงคณ์
เมื่อพิจารณาทางด้านภาษาศาสตร์ คำว่า มเหยงคณ์ มีรากศัพท์บาลีว่า มหิยังคณ์ แปลว่า ภูเขาหรือ เนินดิน ซึ่งก็ตรงกับลักษณะทางภูมิประเทศของวัดเนื่องจากส่วนพุทธาวาสนั้นตั้งอยู่บนเนินดินสูง จุดสังเกตของวัดคือผนังอุโบสถซึ่งก่อด้วยอิฐสีแดงตระหง่านแต่ไกลเดิมทีวัดมเหยงคณ์เป็นพระอารามหลวง แต่หลังจากเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพุทธศักราช 2310 วัดนี้ก็กลายเป็นวัดร้าง อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาวัดมเหยงคณ์ก็มีประวัติควา...
ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทน
ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนบางจาก โครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ตั้งอยู่ที่ ตำบลบางกระสั้น อำเภอบางปะอิน เดินทางสะดวกเพียง 5 กิโลเมตร จากจุดลงทางด่วนแจ้งวัฒนะ-บางปะอิน ด้านหน้าโครงการติดถนนทางหลวงหมายเลข 3048 พื้นที่โครงการเกือบ 500 ไร่ ติดกับศูนย์ผลิตไบโอดีเซล และศูนย์จ่ายน้ำมันบางปะอินของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ศูนย์เรียนรู้พลังงานทดแทนบางจากมีพื้นที่กว้างใหญ่ อาคารศูนย์การเรียนรู้ได้รับก...
วัดช้างใหญ่
วัดช้างใหญ่ อยู่ใกล้กับวัดตูม ตั้งอยู่เลขที่ 46 หมู่ 1 ตำบลวัดตูม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัดแห่งนี้ถือเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อช้างและเอกราชของชาติในสมัยอยุธยาเป็นอย่างยิ่งพระสมุห์สมจิตร์ สํวุฑโฒ เจ้าอาวาสวัดช้างใหญ่เล่าไว้ว่า วัดแห่งนี้เป็นวัดที่มีความเกี่ยวข้องกับชาวมอญมาแต่โบราณด้วยชาวมอญที่นี่มีความสามารถพิเศษในการฝึกเลี้ยงช้างเพื่อถวายแด่พระมหากษัตริย์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา หัวหน้าชาวม...
วัดบางนมโค
วัดบางนมโคห่างจากที่ว่าการอำเภอเสนา ประมาณ 2 กิโลเมตร สันนิษฐานกันว่าวัดบางนมโคสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อครั้งกองทัพพม่ายกเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ในปี พ.ศ. 2310 นั้น พม่าได้มาตั้งค่ายกองกำลังที่สีกุก อำเภอบางบาล ซึ่งห่างจากวัดบางนมโคประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ พม่าได้ทำการกวาดต้อนผู้คน วัวควายในทุ่งแถบนี้ไปเป็นเชลย เป็นพาหนะ เป็นอาหาร สำหรับเป็นเสบียงสนับสนุนกองทัพ เอาโคของประชาชนไปอยู่ในในที่กองกำ...

โรงแรมใกล้เคียง


www.Stats.in.th