ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา > วัดใหญ่ชัยมงคล



วัดใหญ่ชัยมงคล

40/3 หมู่ที่ 3 ตำบล คลองสวนพลู อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก

ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเรียนพระสงฆ์นิกายนี้ จึงมีการตั้งอธิบดีสงฆ์นิกายนี้เป็นสมเด็จพระวันรัตน์มีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายขวาคู่กับพระพุทธโฆษาจารย์เป็นอธิบดีสงฆ์ฝ่ายคันถธุระมีตำแหน่งเป็นสังฆราชฝ่ายซ้าย หลังจากนั้นได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดเจ้าพระยาไท” สันนิษฐานว่ามาจากที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างวัดป่าแก้วขึ้น ณ บริเวณที่ซึ่งได้ถวายพระเพลิงพระศพของเจ้าแก้วเจ้าไทหรืออาจมาจากการที่วัดนี้เป็นที่ประทับของพระสังฆราชฝ่ายขวา ซึ่งในสมัยโบราณเรียกพระสงฆ์ว่า “เจ้าไท” ฉะนั้นเจ้าพระยาไทจึงหมายถึงตำแหน่งพระสังฆราช



วัดใหญ่ชัยมงคลยังมีความผูกพันกับประวัติศาสตร์สมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชด้วย กล่าวคือ ในปีพ.ศ. 2135 เมื่อสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงทำศึกยุทธหัตถีชนะพระมหาอุปราชแห่งพม่าที่ตำบลหนองสาหร่าย เมืองสุพรรณบุรี ทรงสร้างพระเจดีย์ใหญ่ขึ้นที่วัดนี้เป็นอนุสรณ์แห่งชัยชนะ การสร้างพระเจดีย์อาจสร้างเสริมพระเจดีย์เดิมที่มีอยู่หรืออาจสร้างใหม่ทั้งองค์ก็ได้ ไม่มีหลักฐานแน่นอน ขนานนามว่า “พระเจดีย์ชัยมงคล” แต่ราษฎรเรียกว่า “พระเจดีย์ใหญ่” ฉะนั้นนานวันเข้าวัดนี้จึงเรียกชื่อเป็น “วัดใหญ่ชัยมงคล” ทว่าเมื่อคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 บ้านเมืองถูกกองทัพพม่าเผาทำลาย วัดใหญ่ชัยมงคลจึงถูกทิ้งร้างไปในที่สุด ต่อมาในสมัยรัตนโกสินทร์จึงมีการบูรณปฏิสังขรณ์และมีภิกษุสงฆ์จำพรรษาดังเช่นในปัจจุบัน



สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ เจดีย์ชัยมงคล อนุสรณ์แห่งชัยชนะของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชเหนือมังกะยอชวา พระมหาอุปราชของหงสาวดี และวิหารพระพุทธไสยาสน์ สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อเป็นที่ถวายสักการะบูชาและปฏิบัติพระกรรมฐาน ปัจจุบันมีการสร้างพระตำหนักสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีผู้นิยมไปนมัสการอย่างสม่ำเสมอเป็นจำนวนมาก



วัดใหญ่ชัยมงคล เปิดเวลา 08.00 – 17.00 น. ทุกวัน ค่าเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติ 20 บาท นักท่องเที่ยวสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 03-524-2640 หรือทางเว็บไซต์ http://www.watyaichaimongkol.net



การเดินทางมายังวัดใหญ่ชัยมงคล จากกรุงเทพฯเข้าตัวเมืองอยุธยาแล้วจะเห็นเจดีย์วัดสามปลื้ม (เจดีย์กลางถนน) ให้เลี้ยวซ้ายตรงไปประมาณ 1 กิโลเมตร จะเห็นวัดใหญ่ชัยมงคลอยู่ทางซ้ายมือ

แผนที่เดินทางไปวัดใหญ่ชัยมงคล :




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ป้อมปราการรอบกรุง
กรุงศรีอยุธยา เป็นเมืองโบราณของไทยมีลักษณะเป็นเกาะเมืองเพราะมีแม่น้ำล้อมรอบ นอกจากการใช้ปราการแม่น้ำแล้ว หากเราล่องเรือไปรอบเกาะเมืองเราจะพบป้อมปราการดิน ป้อมปราการศิลาแลงกว่า 29 ป้อมล้อมรอบเมืองคอยป้องกันภยันตรายให้แก่กรุงเก่าแห่งนี้กำแพงเมืองเดิมที่พระเจ้าอู่ทองทรงสร้างครั้งแรกนั้นเป็นเพียงเชิงเทินดินและมีเสาไม้ระเนียดปักอยู่ด้านบน ต่อมาในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิจึงได้ก่ออิฐถือปูนขึ้น ตามในพระราชพงศา...
ถนนคนเดินคลองในไก่
หากจะพูดถึงถนนคนเดินในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาแล้ว ก็คงต้องยกให้ “ถนนคนเดินคลองในไก่” ถนนคนเดินแห่งนี้ ถือเป็นถนนคนเดินยามค่ำคืนแห่งแรกของเมืองกรุงเก่าเลยทีเดียว เริ่มเปิดตลาดครั้งแรกเมื่อ 5 มกราคม 2556 โดยสำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและชมรมส่งเสริมการค้าเชิงอนุรักษ์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ให้ประชาชนและนักท่องเที่ยวได้มีสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อน...
พระราชวังบางปะอิน
อยู่ห่างจากเกาะเมืองมาทางทิศใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร ประวัติความเป็นมาตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าปราสาททองเป็นผู้สร้างพระราชวังแห่งนี้ เนื่องจากบริเวณเกาะบางปะอินเป็นที่ประสูติของพระองค์และเป็นเคหสถานเดิมของพระมารดาซึ่งเป็นหญิงชาวบ้านที่สมเด็จพระเอกาทศรถทรงพบเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินโดยเรือพระที่นั่งแล้วเรือเกิดล่มตรงเกาะบางปะอิน พระเจ้าปราสาททองทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้นบนเกาะบางปะอินบริเวณ...
วัดราชบูรณะ (อยุธยา)
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา(กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ และห่างจากพระราชวังโบราณเพียงเล็กน้อย วัดราชบูรณะมีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกแห่งหนึ่ง จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา ตามพระราชพงศาวดารปรากฏว่าวัดราชบูรณะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา...
วัดสมณโกฏฐาราม
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยเจ้าพระยาโกษา(เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษา(ปาน) อาจเป็นในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “ในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมันที่ทำงานในบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่า ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกมีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งเรียกว่า วัดพระยาคลัง แผน...
วัดท่าการ้อง
วัดท่าการ้อง ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นวัดโบราณมีมาแต่สมัยอยุธยาตอนกลาง โดยการรวมวัด 2 วัดเข้าด้วยกัน คือ วัดท่าและวัดการ้อง สร้างขึ้นก่อนราว พ.ศ. 2092 โดยไม่ปรากฏหลักฐานการสร้าง มีเพียงบันทึกในพระราชพงศาวดารว่าพม่าได้มาตั้งค่ายที่วัดการ้อง ถึง 2 ครั้ง คือ สมัยพระมหาจักรพรรดิ เมื่อ พ.ศ. 2106 โดยพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ได้ยกทัพมาตั้งค่ายที่วัดการ้องเมื่อคราวสงครามช้างเผือก และอีกครั้งคือสมัยพระเจ้าเอกท...
สถาบันอยุธยาศึกษา
สถาบันอยุธยาศึกษา ตั้งอยู่ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา เลขที่ 96 หมู่ 2 ถนนปรีดีพนมยงค์ ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000 เป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ เพราะมีบทบาทในการศึกษาและเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับอยุธยา เมืองหลวงอันเก่าแก่อันเป็นรากฐานของวัฒนธรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและประเทศไทยในปัจจุบัน สถาบันอยุธยาศึกษาถือเป็นศูนย์ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม...
หอจดหมายเหตุ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย
หอจดหมายเหตุ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบริเวณที่กองทัพไทยปะทะกับทัพพม่าในสมัยอยุธยา ในศึกครั้งนั้นสมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงประทับบนหลังช้างเยี่ยงบุรุษนักรบ ทรงกระทำยุทธหัตถีจนสิ้นพระทัยบนคอช้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมรา...

โรงแรมใกล้เคียง