ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา > หมู่บ้านโปรตุเกส



หมู่บ้านโปรตุเกส

ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ ของตัวเมือง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ตั้งอยู่ที่ตำบลสำเภาล่ม บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตก อยู่ทางใต้ของตัวเมือง ชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปชาติแรกที่เข้ามาติดต่อค้าขายกับกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพ.ศ. 2054 โดยอัลฟองโซ เดอ อัลบูเคอร์ก ผู้สำเร็จราชการของโปรตุเกส ประจำเอเซีย ได้ส่งนายดูอาร์เต้ เฟอร์นันเดส เป็นทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา ชาวโปรตุเกสเข้ามาตั้งหลักแหล่งค้าขายและเป็นทหารอาสาในกองทัพกรุงศรีอยุธยา สร้างโบสถ์ขึ้นเพื่อเผยแพร่ศาสนาและเป็นศูนย์กลางของชุมชน ปัจจุบันบริเวณนี้ยังมีร่องรอยซากสิ่งก่อสร้างปรากฏให้เห็นคือ โบราณสถานซานเปโตรหรือเรียกในสมัยอยุธยาว่าโบสถ์เซนต์โดมินิค เป็นโบสถ์ในคณะโดมินิกัน นับเป็นโบสถ์แห่งแรกที่สร้างขึ้นในแผ่นดินไทยเมื่อปีพ.ศ. 2083 ตั้งอยู่ในบริเวณเกือบกึ่งกลางหมู่บ้านโปรตุเกส มีเนื้อที่ประมาณ 2,400 ตารางเมตร ยาวตามแนวทิศตะวันออกไปตะวันตกหันหน้าสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ตัวอาคารแบ่งออกเป็นสามส่วน คือ ส่วนหน้าเป็นสุสาน ของชาวคาทอลิคคณะโดมินิกัน ส่วนกลางใช้ประกอบพิธีทางศาสนาและฝังศพบาทหลวง ส่วนในด้านหลังเและด้านข้างเป็นที่พักอาศัยและมีการขุดค้นพบโบราณวัตถุที่สำคัญได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ กล้องยาสูบ เหรียญกษาปณ์ เครื่องปั้นดินเผา เครื่องประดับกำไลแก้วและเครื่องประกอบพิธีทางศาสนาเช่น ไม้กางเขน เหรียญรูปเคารพในศาสนา ลูกประคำ

ในส่วนของสุสาน พบโครงกระดูกจำนวนมากมายถึง 254 โครง ฝังเรียงรายอย่างเป็นระเบียบและทับซ้อนกันหนาแน่นทั้งภายในและภายนอกอาคาร จากแนวโครงกระดูกที่พบแบ่งขอบเขตสุสานออกเป็น 3 ส่วน ส่วนในสุดกลางตัวอาคารที่เป็นฐานโบสถ์ อาจเป็นโครงกระดูกของบาทหลวงหรือนักบวช ถัดมาส่วนที่สอง ส่วนนี้อาจเป็นผู้มีฐานะทางสังคมในค่ายโปรตุเกสสูงกว่าคนธรรมดาทั่วไป ส่วนที่สามนอกแนวฐานโบสถ์มีการฝังซ้อนกันมากถึง 3-4 โครง โครงกระดูกเหล่านี้มีทั้งที่อยู่ในสภาพสมบูรณ์และบางส่วนชำรุด จากหลักฐานเอกสารประวัติศาสตร์ กล่าวถึงการเกิดโรคระบาดร้ายแรงในปลายแผ่นดินพระเพทราชาเมื่อปีพ.ศ. 2239 มีผู้คนล้มตายมาก และในปีพ.ศ. 2255 ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระก็เกิดโรคระบาดอีกครั้งมีผู้คนล้มตายมาก อาจเป็นเหตุให้มีการขยายสุสานออกมาจากเดิม

แผนที่เดินทางไปหมู่บ้านโปรตุเกส

http://www.tourismthailand.org/filead




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


พระที่นั่งเพนียด
พระที่นั่งเพนียด ตั้งอยู่ในตำบลสวนพริก การเดินทาง ขับรถออกจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางหมายเลข 347 กิโลเมตรที่ 42–43 เส้นทางเดียวกับทางไปวัดภูเขาทอง แต่ให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปตามถนนจะมีป้ายบอกเส้นทางไปพระที่นั่งเพนียด เพนียดแห่งนี้มีขนาดใหญ่มากสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จฯ มาประทับทอดพระเนตรการคล้องช้างหรือจับช้างเถื่อนในเพนียดซึ่งเป็นประเพณีที่ทำกันมาแต่โบราณเพื่อนำช้างมาใช้ประ...
วัดราชบูรณะ (อยุธยา)
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา(กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ และห่างจากพระราชวังโบราณเพียงเล็กน้อย วัดราชบูรณะมีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกแห่งหนึ่ง จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา ตามพระราชพงศาวดารปรากฏว่าวัดราชบูรณะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา...
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา เดิมเป็นศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในสมัยที่ท่านปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ด้านหน้าอาคารมีรูปปั้นกษัตริย์และวีรกษัตริย์สำคัญสมัยอยุธยา 6 องค์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธน...
วัดสมณโกฏฐาราม
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยเจ้าพระยาโกษา(เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษา(ปาน) อาจเป็นในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “ในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมันที่ทำงานในบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่า ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกมีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งเรียกว่า วัดพระยาคลัง แผน...
หมู่บ้านญี่ปุ่น
ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายใน กรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากขึ้น ทางการญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นเดินเรือออกไปค้าขายกับชาวต่างชาติในบรรดาพวกที่ไปค้าขายมีพวกหนึ่งเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวญี่ปุ่น มาตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยารอบนอกเกาะเมืองเหมือนชาติอื่น ๆ นับตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยามากขึ้น โดย...
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ ในทุ่งมะขามหย่อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาออกไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ภายในมีพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัยหล่อด้วยสำริด มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งขององค์จริงประทับบนหลังพระคชาธารพร้อมด้วยกลุ่มอนุสาวรีย์ประติมากรรมประกอบกันทั้งสิ้น 49 ชิ้น มีประติมากรรมจำลองประวัติศาสตร์...
วัดเสนาสนาราม
วัดเสนาสนารามราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนถนนอู่ทอง ตำบลหัวรอ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมชื่อวัดเสือ เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ต่อมาได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยรัชกาลที่ 4 และมีฐานะเป็นอารามหลวงชั้นเอก สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถศิลปะสมัยอยุธยา งดงามด้วยหน้าบันไม้แกะสลักปิดทอง มีพระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นรูปพระมหามงกุฏ ซึ่งบ่งบอกว่าพระองค์เ...
วัดพระราม
นอกจากจะเป็นโบราณสถานที่สำคัญแล้ว วัดพระรามยังเป็นที่รู้จักดีของชาวกรุงศรีอยุธยาในฐานะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย โดยบริเวณหน้าวัดมีบึงขนาดใหญ่ เรียก “สวนสาธารณะบึงพระราม” นามเดิมคือ “หนองโสน” หรือ “บึงชีขัน” ตามที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล ในสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาฯ มีการขุดนำดินจากในหนองขึ้นถมบริเวณที่จะสร้างวัดวังจึงทำให้บึงที่ขุดมีขนาดใหญ่ วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระราเมศวร ผู้ทรงสร้างวัดขึ้นเมื่อปีพุทธศั...

โรงแรมใกล้เคียง