ที่เที่ยวมุกดาหาร > อำเภอหว้านใหญ่ > วัดมโนภิรมย์
วัดมโนภิรมย์
ตำบลมโนภิรมย์ หว้านใหญ่ มุกดาหาร 49150
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
วัดมโนภิรมย์ หรือ วัด บ้านชะโนด ตั้งอยู่ที่ อำเภอ หว้านใหญ่ จังหวัดมุกดาหาร สร้างขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ. 2230 โดยมีท้าวคำสิงห์ และญาติที่ย้ายมาจากบ้านท่าสะโนประมาณ 30 ครอบครัวเศษ เป็นผู้สร้าง พร้อมกับการตั้งบ้านชะโนดและเมืองมุกดาหาร ณ ป่าชะโนด ใต้ปากห้วยชะโนด ครั้งแรกเรียกชื่อว่า วัดบ้านชะโนด ภายหลังใช้ชื่อว่า วัดมโนภิรมย์บ้านชะโนดและวัดมโนภิรมย์ สร้างขึ้นตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช แรกเริ่มสร้างวัดนั้นอยู่ในระยะที่ตั้งตัวใหม่ เสนาสนะคงมีแต่กุฏิ และศาลาโรงธรรมและรั้ววัดเท่านั้น วัดมโนภิรมย์มาเจริญเป็นปึกแผ่นมั่นคงเมื่อพ.ศ. 2269 ต่อมาผู้นำในการสร้างและต่อเติมวัดแห่งนี้คือท่าน หอ พระครูกัสสปะ จารย์โชติ บุตรชายท้าวเมืองโครก ผู้นำวัสดุก่อสร้างวัดพระราชทานจากกษัตริย์กรุงเวียงจันทน์ การก่อสร้างโบสถ์ พัทธสีมา ส่วนประกอบ ลวดลาย รั้ววัด เสร็จเรียบร้อยภายใน3 ปี คือ พ.ศ. 2299วันที่ 28 เดือน มีนาคม พ.ศ. 2447 เกิดอัคคีภัย ไฟไหม้ บ้านเรือน วัดวาอาราม วอดวายเสียหายอย่างประเมินค่ามิได้ โดยเฉพาะวัดมโนภิรมย์อันมีกุฏิ วิหาร พัทธสีมา ศาลาการเปรียญ ตู้พระไตรปิฏก พระพุทธรูป เรือแข่ง รั้ววัด ตลอด ฆ้อง กลอง ระฆัง ไฟไหม้วอดวายเสียหายสิ้นพ.ศ.2448 ศรีสุราช และชาวบ้านได้ไปนิมนต์พระบุ นันทวโร จากบ้านท่าสะโนซึ่งเป็นบ้านเดิม มาเป็นผู้นำซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ท่านได้นำชาวบ้านซ่อมแซมวัดมโนภิรมย์ อยู่ 6 ปี จึงสำเร็จเรียบร้อยทุกอย่าง คือ กุฏิ วิหาร พัทธสีม ศาลา รั้ววัด แม้กระทั่งเรือแข่ง ด้วยความพากเพียรพยายามของท่าน การปฏิสังขรณ์จึงสำเร็จลุล่วงลงด้วยดี และคงไว้ซึ่งศิลปะดั้งเดิม การบูรณะปฏิสังขรณ์แล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2454ศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่ควรหยิบยกขึ้นมากล่าวถึง คือแบบอย่าง เป็นแบบ เขมร ไทย ลาว ผสมผสานกัน แต่ทุกอย่างประณีตอ่อนช้อยงดงาม(1) โบสถ์ หลังชั้นเดียว หน้าจั่วแหลมชันและงอน ซุ้มประตูใหญ่หน้าบันแกะสลักลวดลายวิจิตรโดดเด่น หาดูได้ยาก เสาสลักลวดลายอ่อนช้อยรดด้วยลายนกทอง ภายในพระประธานเป็นอิฐปูนแต่เด่นสง่า สมสัดส่วน ฐานลดหลั่นงดงาม รอบฐานมีรูปสิงห์หมอบ ตรงบันไดทุกช่องเป็นรูปจระเข้คู่ ตรงบันไดใหญ่หน้าบันเป็นคชสีห์คู่ ขนาดเท่าม้า แสดงถึงความลึกซึ้งเก่าแก่(2) พัทธสีมา ศิลปะคล้ายๆ แบบขอ พระประธาน เป็นพระกัจจาย(3) รั้ววัดและซุ้มประตูวัด เป็นไม้เนื้อแข็ง กลึงเป็นรูปบัวตูมฝังเรียงกัน ซุ้มประตูทำเป็นเสาใหญ่เท่าต้นตาล แต่กลึงเป็นรูปบัวตูม มีรูปปั้นด้วยอิฐปูนเป็นยามเฝ้าประตูทุกช่อง น่าเกรงขามมาก มีบันไดท่าน้ำ ทำเป็นบันไดอิฐปูนลดหลั่นลงตลิ่ง มีรูปหมาเป็นยามนั่งเฝ้า 1 คู่ ตัวโตขนาดเท่าเก้ง แต่สวยงามมาก(4) พระองค์ตื้อ เป็นพระทองสัมฤทธิ์ หล่อขึ้นในสมัยที่พระครูกัสสปะเป็นเจ้าอาวาสแทนท่านหอ แต่ไม่ทราบวัน เดือน ปี ที่แน่นอน(5) พระองค์แสน เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ในเวลาใกล้เคียงกัน เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์และงดงามมาก(6) พระพุทธรูปปางห้ามญาติ สมัยศรีวิชัย(7) พระงา เป็นพระพุทธรูปงาช้างที่แกะสลักโดยพระอุปัชฌาย์บุนันทวโร พระเจ้า 8 พระองค์
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง