ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวมุกดาหาร > อำเภอเมืองมุกดาหาร > วัดศรีบุญเรือง (บ้านใต้)



วัดศรีบุญเรือง (บ้านใต้)

หมู่ที่ 3 บ้านศรีบุญเรือง ตำบลศรีบุญเรือง เมืองมุกดาหาร มุกดาหาร 49000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ประวัติวัดศรีบุญเรือง อุโบสถวัดศรีบุญเรือง เริ่มสร้าง พ.ศ.2500 สร้างเสร็จ พ.ศ.2509 ได้รับพระราชทาน วิสุงคามสีมา พ.ศ.2513 พระวิธูรธรรมาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดศรีบุญเรือง

แต่เดิมนั้นมีเนื้อที่ตั้งวัดจำนวน 5 ไร่ 1งาน 76 ตารางวา เมื่อปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้ดำเนินการตัดถนนสำราญชายโขงผ่านที่ดินของวัดศรีบุญเรือง แบ่งที่ดินออกเป็นสองแปลง แปลงที่อยู่ติดริมแม่น้ำโขงในขณะนี้ เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัด และแปลงที่สองอยู่ทางทิศตะวันตกของถนนสำราญชายโขงเป็นที่ตั้งวัดศรีบุญเรืองในปัจจุบัน

เมื่อปี พ.ศ. 2526 มีประชาชนคุ้มศรีบุญเรือง และพ่อค้าในตลาดมุกดาหาร รวมศรัทธาบริจาคปัจจัยชื้อที่ดินธรณีของสงฆ์ เพื่อขยายวัดให้กว้างขวางขึ้นอีก จำนวน 2 งาน 92 เศษ 4 ส่วน 10 ตารางวา ยังมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคอีก 1 แปลง คือที่ดินอยู่ใกล้ถนนสายมุกดาหารไปดอนตาล อยู่ห่างจากที่ตั้งศาลากลาง จ.มุกดาหาร ประมาณ 1.5 กม. สะดวกต่อการไป มาของพุทธศาสนิกชน สภาพในปัจจุบัน วัดศรีบุญเรืองอยู่ในระหว่างพัฒนา ปรับปรุงและแก้ไข ทั้งทางวัตถุภายนอก และทางด้านจิตใจของประชาชน การสร้างและการบูรณะวัด จากหลักฐานของคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมา และเอกสารพอเชื่อถือได้ กล่าวไว้ว่า วัดศรีบุญเรือง เป็นวัดที่ชาวบ้าน สร้างขึ้นมาในยุคเดียวกับการสร้างเมืองมุกดาหาร ( ประมาณ พ.ศ.2310 - 2317 ) เพื่อให้พระธุดงค์ออกจาริกแสวงบุญได้พักอาศัย ในสมัยนั้นพระสงฆ์มีจำนวนน้อย จึงไม่ค่อยมีผู้อยู่อาศัยเป็นประจำ วัดแห่งนี้จึงเป็นที่พักอาศัยของพระธุดงค์มาโดยตลอด ไม่มีแม้แต่ชื่อ ครั้งต่อมา ( ประมาณ พ.ศ. 2318 ) พระยาจันทร์ศรีอุปราชา ( เจ้ากินรี ) ซึ่งเป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าเมืองคานแรกของเมืองมุกดาหาร ได้ชักนำพวกเจ้านาย ข้าราชการ และชาวบ้านร่วมกันบูรณะวัด ให้เหมาะสมที่จะเป็นที่พักอาศัยของพระสงฆ์ต่อไป และได้ร่วมกันสร้างอุโบสถพุทธสีมาขึ้นทางด้านหน้าของวัด และเมื่ออุโบสถพุทธสีมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว จึงได้ตั้งชื่อวัดว่า วัดศรีบุญเรือง

ในสมัยที่เจ้ากินรีได้เข้ามาบูรณะและสร้างวัดหัวเมืองแล้ว (วัดศรีมงคลใต้ ) ก็ควรสร้างวัดท้ายเมือง (วัดศรีบุญเรือง) ด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้สักการะบูชาได้โดยทั่วถึง เป็นที่น่าสังเกตว่า อุโบสถที่เจ้ากินรีได้สร้างขึ้นนั้น หันหน้าไปทางทิศเหนือ (อุโบสถส่วนใหม่จะหันหน้าไปทางทิศตะวันออก หรือทิศตะวันตก ) ทั้งนี้เป็นเพราะว่าท่านอยากจะสร้างอุโบสถแห่งนี้ไว้เป็นอนุสรณ์สำหรับตัวท่านเอง เพราะท่านเจ้ากินรีเป็นชาวเหนือเชื้อเจ้า ท่านได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนมาด้วยความจำเป็น จึงได้สร้างอุโบสถหันหน้าไปทางทิศเหนือไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์

เมื่อสร้างอุโบสถพุทธสีมาเสร็จ ก็ได้ให้ชาวบ้านศรีบุญเรืองจัดขบวนดอกไม้ธูปเทียน ไปอัญเชิญพระพุทธสิงห์สองจากวัดศรีมงคลใต้ มาประดิษฐานไว้ เป็นพระประธานในอุโบสถหลังนี้ เนื่องจากว่าพระองค์พระพุทธรูปสิงห์สองนี้ เป็นพระพุทธธูปเมืองเหนือ ตัวท่านเองก็เป็นคนชาวเหนือ ได้อพยพลงมาในดินแดนทีอุดมสมบูรณ์ และท่านมีความเคารพพระพุทธรูปองค์นี้มากจึงได้นำมาประดิษฐานไว้เป็นอนุสรณ์ในอุโบสถที่ท่านได้สร้างขึ้นมา ตามฝาผนังโบสถ์จะเป็นภาพวาด ด้วยสีสันงดงามมาก ด้านในเป็นภาพเกี่ยวกับพระพุทธประวัติ ด้านนอกเป็นภาพนรก สวรรค์ ซึ่งศิลปกรรมเหล้านี้ถือเป็นประณีตศิลป์ที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายว่า อุโบสถดังกล่าวได้พังเสียหายจากความเก่าแก่ ปัจจุบันเราจึงไม่ได้เห็นภาพอันวิจิตรงดงามนั้นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นทุกวันนี้คือ ซากปรักหักพังและฐานอุโบสถเท่านั้น พระพุทธสิงห์สอง เป็นพระพุทธรูปสมัยเชียงแสน ปัจจุบันทางวัดได้ถือเอาหลวงพ่อพุทธสิงห์ เป็นพระประธานและเป็นสัญลักษณ์ของวัดตลอดมา ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชาวบ้านศรีบุญเรือง และชาวมุกดาหาร จะยึดเอาหลาวพ่อพุทธสิงห์สองนี้ เป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตใจมาโดยตลอด ในงานสงกรานต์ของอำเภอเมืองมุกดาหาร ชาวอำเภอเมืองมุกดาหารได้กระทำพิธีอัญเชิญพระพุทธสิงห์สองจากพระอุโบสถวัดศรีบุญเรืองแห่รอบเมือง แล้วนำไปประดิษฐานบนแท่นที่จัดไว้ เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้สรงน้ำเป็นประจำทุกปี

ประวัติพระพุทธสิงห์สอง

เจ้ากินรี เจ้าเมืองคนแรกของมุกดาหาร ซึ่งขณะนั้นยังขึ้นต่อเมืองเวียงจันทร์ ประมาณปี พ.ศ.2310-2317 ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่วัดศรีบุญเรือง เมื่อคราวที่เจ้าเมืองมาบูรณะและปฎิสังขรณ์ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ถึงแม้พระพุทธรูปจะไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่ชาวบ้านตำบลศรีบุญเรือง ชาวจังหวัดมุกดาหาร เคารพเลื่อมใส




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดศรีมงคลใต้
วัดศรีมงคลใต้อยู่ในตำบลมุกดาหาร อำเภอเมือง ฯ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างสมัยกรุงธนบุรีตั้งอยู่ถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขงในตัวเมืองมุกดาหาร ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระเจ้าองค์หลวงพระพุทธรูปก่ออิฐถือปูน เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง ประชาชนชาวไทยและลาวเลื่อมใสศรัทธามาหลายชั่วอายุคน สร้างขึ้นก่อนตั้งเมืองมุกดาหาร แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างในสมัยใด มีขนาดหน้าตักกว้าง 2.20 เมตร ส่วนสูงเฉพาะองค์ถึงยอดพระเมาลี 2 เมตร ตามตำนาน...
ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง
ศาลเจ้าเจ้าพ่อฟ้ามุงเมืองตั้งอยู่บนถนนสองนางสถิตย์ในเขตเทศบาลเมืองมุกดาหาร ในบริเวณศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง มีหลักเมืองประดิษฐานอยู่ด้วย ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองนี้ไม่มีผู้ใดทราบความเป็นมาว่าสร้างในสมัยใดสันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองมุกดาหาร(เจ้ากินรี ได้มาสร้างเมืองมุกดาหาร พ.ศ. 2313) แต่เดิมเป็นเพียงศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะก่อสร้างเป็นศาลคอนกรีต ชาวเมืองมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุ...
ห้าแยกชุมชนเวียดนาม
ตั้งอยู่ในตัวเมืองมุกดาหาร เป็นที่ตั้งชุมชนชาวเวียดนาม และเป็นตลาดอาหารเช้าที่ขึ้นชื่อของมุกดาหาร ห้าแยกเวียดนาม ตั้งอยู่ในตัวเมืองมุกดาหาร เป็นที่ตั้งชุมชนชาวเวียดนามและเป็นตลาดอาหารเช้าที่ขึ้นชื่อของมุกดาหาร หากนักท่องเที่ยวมีโอกาสมามาเยือนห้าแยกเวียดนามในยามเช้าตรู่จะได้ลิ้มรสอาหารพื้นเมือง อาทิ ข้าวเปียก ก๋วยจั๊บญวน ข้ามต้ม เลือดแปลง หมูยอ ไส้หมูลวกจิ้ม และอื่นๆนอกจากจะได้ลิ้มลองอาหารเวียดนามแท้ๆแล้วนั...
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง
ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง ตั้งอยู่บนถนนสำราญชายโขง ริมแม่น้ำโขง เยื้องไปทางทิศเหนือของวัดศรีมงคลใต้ ติดกับด่านตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร ศาลแห่งนี้เดิมเป็นศาลไม้ต่อมาได้มีการบูรณะเรื่อยมาจนเป็นคอนกรีตดังปัจจุบัน ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องนี้มีเรื่องเล่าขานกันมานานว่าราวปี พ.ศ. 1896 เจ้าฟ้างุ้ม แห่งเมืองล้านช้าง เป็นบุตรเขยกษัตริย์เมืองอินทะปัด ได้พาลูกหลานอพยพตามลำน้ำโขงผ่านเมืองหนองคาย เมืองนครพนม จนถึงเขตเ...
อุทยานแห่งชาติภูผาเทิบ
เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 59 ของประเทศไทย มีเนื้อที่ 48.5 ตารางกิโลเมตร หรือ 30,312.5 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่อำเภอเมืองมุกดาหารและอำเภอดอนตาล ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายประกอบด้วยเทือกเขาน้อยใหญ่หลายลูกติดต่อกันแบบลูกคลื่นและเป็นส่วนปลายสุดของเทือกเขาภูพาน เทือกเขาเหล่านี้วางตัวในลักษณะแนวเหนือ-ใต้ขนานและห่างจากชายฝั่งแม่น้ำโขงประมาณ 4 กิโลเมตร ภายในอุทยานภูผาเทิบประกอบด้วยภูหมากยาง ภูมโน ภูโปร่ง ภูรัง ภู...
ตลาดอินโดจีน
ตลาดอินโดจีน ตำบลศรีบุญเรือง อำเภอเมืองมุกดาหาร บริเวณถนนสำราญชายโขง ในตัวเมืองมุกดาหาร หน้าวัดศรีมงคลใต้เป็น แหล่งรวมสินค้านำเข้าจากนานาประเทศ เช่น รัสเซีย จีน เวียดนาม และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จำหน่ายทั้งราคาส่ง และปลีก ส่วนมากจะเป็นเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม เซรามิค เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอุปโภคและบริโภคต่างๆ นอกจากสินค้าที่นำเข้ามา จำหน่ายจากต่างประเทศแล้วยังมี สินค้าพื้นเมืองของชาวมุกดาหารมาจำหน...

โรงแรมใกล้เคียง


ไทยเฮาส์-อีสาน เกสท์เฮาส์ คะแนน : 8.1   รีวิว : 5
โรงแรม มุกดาหาร, ประเทศไทย
ไทยเฮ้าส์ อีสาน เกสเฮ้าส์ อยู่ในทำเลที่เหมาะสำหรับนักเดินทางทั้งเพื่อธุรกิจและพักผ่อนหย่อนใจใน มุกดาหาร ที่พักนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่จะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์ คุณสามารถพบบริการต่างๆ เช่น รูมเซอร์...
           
โรงแรมเคียงพิมาน คะแนน : 7   รีวิว : 1
โรงแรม มุกดาหาร, ประเทศไทย
โรงแรมเคียงพิมาน ที่พักระดับ 3 ดาวแห่งนี้ พร้อมมอบความสะดวกสบายให้คุณไม่ว่าจะเดินทางมาท่องเที่ยวหรือติดต่อธุรกิจใน มุกดาหาร ที่พักนำเสนอสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายที่จะทำให้การเข้าพักของคุณเป็นประสบการณ์ที่น่าอภิรมย์ เชิญใช้บริการ คอ...
           
ฮ็อป อินน์ มุกดาหาร คะแนน : 8.1   รีวิว : 17
  โรงแรม มุกดาหาร, ประเทศไทย
ฮ็อป อินน์ มุกดาหาร เป็นตัวเลือกที่พักยอดนิยมในหมู่นักเดินทางที่มาเยือน มุกดาหาร ไม่ว่าเพื่อเที่ยวชมหรือแวะพักชั่วคราว สิ่งอำนวยความสะดวกครบครันในโรงแรมแห่งนี้จะมอบประสบการณ์การเข้าพักอันสะดวกสบายแก่แขกผู้มาเยือน เชิญใช้บริการ Wi-...
           
บ้านดาหลา คะแนน : 7.7   รีวิว : 97
  โรงแรม มุกดาหาร, ประเทศไทย
บ้านดาหลา อยู่ในทำเลที่เหมาะสำหรับนักเดินทางทั้งเพื่อธุรกิจและพักผ่อนหย่อนใจใน มุกดาหาร โรงแรมแห่งนี้เพียบพร้อมด้วยทุกสิ่งที่คุณต้องการสำหรับการเข้าพักที่สะดวกสบาย คอฟฟี่ช็อป ร้านค้า รูมเซอร์วิส พนักงานต้อนรับ บริการซักรีด เป็นส่ว...