ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
|
|
|
|
กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ
|
|
ที่เที่ยวกรุงเทพ > เขตราชเทวี > พระราชวังพญาไท |
|
|
พระราชวังพญาไท |
|
ถนนศรีอยุธยา แขวง ทุ่งพญาไท ราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 |
|
|
|
|
|
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว |
พื้นที่บริเวณพระราชวังพญาไทแห่งนี้ในอดีตเป็นสวนทุ่งนา รัชกาลที่5โปรดเกล้าฯให้ซื้อที่ดินจำนวน 100 ไร่เศษ เพื่อใช้ทดลองปลูกธัญพืชและเป็นที่พักผ่อนพระราชอริยบท ซึ่งโรงเรือนหลังแรกที่ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นคือโรงนาและพระราชทานนามว่า"โรงนาหลวงคลองพญาไท" พร้อมกับโปรดเกล้าฯให้ย้ายพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญที่เคยประกอบที่ทุ่งพระเมรุมาจัดที่ทุ่งแห่งนี้แทน พระตำหนักพญาไทที่สร้างขึ้นจึงได้พระราชทานนามใหม่ว่า"วังพญาไท" ต่อมารัชกาลที่ 6 ได้โปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักน้อยขึ้นที่ริมคลองพญาไทเป็นเรือนไม้สักสองชั้นพระราชทานนามว่า"พระตำหนักเมขลารูจี"และวางโครงสร้างพระราชมณเฑียรสถานสำหรับที่ประทับถาวรขึ้นใหม่และพระราชทานนามว่า"พระราชวังพญาไท"และโปรดเกล้าฯให้ย้าย"ดุสิตธานี"เมืองจำลองที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกหัดและปูรากฐานการปกครองระบอบประชาธิปไตยจากพระราชวังดุสิตมายังพระราชวังพญาไทแห่งนี้ด้วยหลังจากนั้น ในสมัยรัชกาลที่ 7 กรมรถไฟหลวงได้รับพระบรมราชานุญาตให้เช่าพื้นที่และดัดแปลงเป็นโรงแรมชั้นหนึ่งนามว่า"โฮเต็ลพญาไท"จากนั้นถูกเปลียนเป็นสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการถ่ายทอดเสียงทางวิทยุในประเทศไทย ต่อมาปี 2475 กองเสนารักษ์จังหวัดทหารบกและขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเปลี่ยนนามใหม่เป็น"โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า" ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระราชวังพญาไทเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ภายในพระราชวังพญาไทประกอบด้วย
พระที่นั่งพิมานจักรี เป็นอาคารอิฐ ลักษณะสถาปัตยกรรม ผสมผสานระหว่างโรมาเนสก์กับโกธิค เหนือบานประตูจารึกอักษรพระปรมาภิไธย ร.ร. 6 สำหรับห้องชั้นล่าง เช่น ห้องเสวยร่วมกับฝ่ายใน ห้องรับแขก ห้องพักเครื่อง ฯลฯ มีจิตรกรรมสีปูนแห้งที่น่าชมเช่นกัน ส่วนที่ประทับอยู่บริเวณชั้นสอง ซึ่งมีห้องที่น่าสนใจดังนี้ ท้องพระโรงกลาง ห้องพระบรรทมพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ห้องประทับของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระวรราชชายา ห้องทรงพระอักษร
พระที่นั่งไวยกูณฐเทพสถาน ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งพิมานจักรี อาคารมีลักษณะแบบโรมาเนสก์ เดิมเป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น ก่ออิฐ ฉาบปูน ได้มีการต่อเติมชั้น 3 ขึ้นภายหลัง เพื่อจัดเป็นห้องพระบรรทม สำหรับพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานนี้ เคยเป็นที่ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงกรุงเทพฯ ที่พญาไท เมื่อ พ.ศ. 2473 โดยในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2473 ซึ่งตรงกับวันพระราชพิธีฉัตรมงคลในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปิดการส่งวิทยุกระจายเสียงเป็นปฐมฤกษ์ พิธีเปิดสถานีได้กระทำโดยอัญเชิญกระแสพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระที่นั่งศรีสุทธนิวาส เดิมมีนามว่า พระที่นั่งลักษมีพิลาส ตามพระนามของพระนางเธอลักษมีลาวัณ พระชายา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี เป็นพระที่นั่งสูง 2 ชั้น ก่ออิฐ ฉาบปูน มีโดมขนาดเล็ก ลักษณะอาคารเป็นแบบอิงลิช โกธิค มีทางเชื่อมต่อกับพระที่นั่งพิมานจักรีในระดับชั้น 2 ใช้เป็นที่รับรองของเจ้านายฝ่ายใน ที่ฝาผนังตอนใกล้เพดานและเพดาน มีจิตรกรรมลักษณะแบบ อาร์ต นูโว เป็นลายดอกไม้ และที่ห้องสำคัญเป็นภาพชายหญิง และแกะซึ่งเป็นภาพเขียนสีแบบตะวันตก
พระที่นั่งเทวราชสภารมณ์ เป็นท้องพระโรงเดิมในสมัยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ซึ่งเสด็จมาประทับ ณ วังพญาไท เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๓ โดยยังปรากฏอักษรพระนามาภิไธย สผ (พระนามเดิม สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี) พระที่นั่งองค์นี้ตั้งอยู่ทางด้านของพระที่นั่งไวยกูณฐเทพยสถาน พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ เป็นพระตำหนักที่อยู่ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถาน ในบริเวณที่เข้าใจว่าเดิมมีอาคารซึ่งเรียกกันว่า ตึกคลัง ส่วนพระที่นั่งองค์นี้น่าจะสร้างขึ้นในระยะหลัง จึงมีลักษณะต่างไปจากพระที่นั่งองค์อื่นๆ พระตำหนักเมขลารูจี อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของพระที่นั่งพิมานจักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้สร้างพระตำหนักองค์น้อยขึ้นหนึ่งองค์ที่ริมคลองพญาไทตอนกลาง พระราชทานนามว่า พระตำหนักอุดมวนาภรณ์ ต่อมา เมื่อการก่อสร้างพระราชมณเฑียรสถานอื่นๆ ในพระราชวังแห่งนี้แล้วเสร็จ และมีพระราชประสงค์ให้พระที่นั่งด้านตะวันออกซึ่งเชื่อมต่อกับพระที่นั่งไวกูณฐเทพยสถานใช้นามว่า พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์ จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระตำหนักแห่งนี้ใหม่เป็นพระตำหนักเมขลารูจี
อาคารเทียบรถพระที่นั่ง ได้สร้างต่อเติมภายหลังจากการสร้างพระราชวังพญาไทเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีลักษณะอาคารแบบนีโอคลาสสิค โดยอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรี สำหรับเป็นลานเทียบรถพระที่นั่งและห้องพักคอยผู้รอเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท
สวนโรมัน อาคารเทียบรถพระที่นั่งนี้ ได้สร้างต่อเติมภายหลังจากการสร้างพระราชวังพญาไทเสร็จเรียบร้อยแล้ว มีลักษณะอาคารแบบนีโอคลาสสิค โดยอยู่ด้านหน้าพระที่นั่งพิมานจักรี สำหรับเป็นลานเทียบรถพระที่นั่งและห้องพักคอยผู้รอเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าใจว่าเดิมเป็นหนึ่งในสามของพระราชอุทยานในพระราชวังพญาไทสำหรับพักผ่อนพระอิริยาบถ การจัดแต่งภูมิสถาปัตย์เป็นลักษณะแบบเรขาคณิต ประกอบด้วยศาลาในสวนที่ใช้รูปแบบของสถาปัตยกรรมแบบโรมัน การเข้าชมพระราชวัง - เปิดให้เข้าชมทุกวันวันเสาร์ และ วันอาทิตย์ มีวิทยากรนำชม ในเวลา 09.30 น. และ 13.30 น. โดยไม่เสียค่าเข้าชม กรณีมีหนังสือขอเข้าชมเป็นหมู่คณะ ผู้ขออนุญาตเข้าชมจะต้องรับผิดชอบค่าวิทยากรนำชม ท่านละ 500 บาท (วิทยากร1คน นำผู้เข้าชมได้ 25 30 คน ) -วันจันทร์ วันศุกร์ จะต้องทำหนังสือขออนุญาตเข้าชม -แต่งกายสุภาพ
รายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2354-7987 www.phyathaipalace.org |
|
|
|
เว็บไซต์ : www.phyathaipalace.org |
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org |
|
|
|
ที่เที่ยวใกล้เคียง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรงแรมใกล้เคียง |
|
|
|
|
|