ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
|
|
|
|
กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ
|
|
ที่เที่ยวแม่ฮ่องสอน > อำเภอปาย > วัดน้ำฮู |
|
|
วัดน้ำฮู |
|
อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ปาย แม่ฮ่องสอน 58130 |
|
|
|
|
|
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว |
วัดน้ำฮูเป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่งของเมืองปาย หรือเมือง ป้าย ชื่อเดิมมาแต่สมัยโบราณ แต่ทุกวันนี้ที่เราๆเรียกกันว่า ปาย หรือ เมืองปาย เพราะว่าเรียกกันเพี้ยนจนมาเป็นเมืองปายหรืออำเภอปายในปัจจุบัน ปายคือสถานที่ที่ทุกคนไฝ่ฝันไว้ว่าสักครั้งหนึ่งต้องไปเที่ยวปายให้ได้ ก็เพราะความสงบร่มเย็นของเมืองปายแห่งนี้จึงทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางหลั่งไหลเข้ามาที่เมืองปาย วิถีชีวิตชาวบ้านเรียบง่าย สงบ ร่มเย็น ของเมืองปายที่เป็นเสน่ห์ดึงดูดนักท่องเที่ยวและเมืองปายนี้เองก็มีฝรั่งมังค่ามาเที่ยวกันเยอะมาก บางคนถึงกับมาตั้งรกรากที่ปายกันเลย และด้วยความที่เป็นเมืองปาย หรือเมืองป้าย วัฒนธรรมที่มีมาแต่ยาวนานทำให้มีวัดที่เก่าแก่อยู่หลายแห่ง แต่ละวัดก็จะมีประวัติที่แตกต่างกันไป แต่เมืองปายนี่เองที่มีอยู่หนึ่งวัดที่มีชื่ออยู่ในคำขวัญด้วย นั่นก็คือ วัดน้ำฮู ประวัติศาสตร์ของ วัดน้ำฮู นี้มีความเป็นมาที่ยาวนานมาควบคู่กับเมืองปาย หรือเมืองป้าย จากตำนานที่มีผู้บันทึกเป็นหนังสือพื้นเมือง และพิจารณาจากข้อเท็จจริงต่าง ๆ ของอำเภอปาย สันนิษฐานว่าคงจะตั้งบ้านเมืองมาประมาณสองพันกว่าปีมาแล้ว ซึ่งในสมัยนั้นมีการปกครองลักษณะเจ้าผู้ครองนครเมื่อประเทศไทยได้ประกาศแบ่งเขตการปกครองในปี พ.ศ. 2443 ได้ประกาศให้เมืองปายขุนยวม เมืองฮ่องสอน ไปขึ้นกับมณฑลพายัพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2454 ทางการได้แต่งตั้งให้หลวงเจริญ เขตเขลางค์นคร (สอน สุขุมินทร์) มาเป็นนายอำเภอปายคนแรกจากหลักฐานที่ปรากฏเป็นโบราณวัตถุต่าง ๆ ตามวัดร้าง กำแพงวัด ซากเจดีย์ปรักหักพัง พระพุทธรูปที่ก่อด้วยอิฐถือปูน ก้อนอิฐเก่าแผ่นใหญ่และหนามาก สันนิษฐานได้ว่าเป็นที่อยู่ของพวกลั๊วะ พวกขอม และลำธาร ลำห้วย หลายแห่งเป็นที่ที่มีช้างป่าจำนวนมาก ต่อมามีพวกไทยใหญ่พากันอพยพมาจากเมืองปั่น เมืองพาย เมืองแสนหวี เชียงของ เชียงตุง หมอกใหม่ ลางเครือ ก้างยาม พม่า และมอญ มาด้วยบ้าง เมื่อมาถึงบ้านดอน (ปัจจุบันบ้านเวียงเหนือ) จึงตกลงใจกันอยู่ที่นั่น และยกขุนส่างปายขึ้นเป็นเจ้าเมืองจากนั้นช่วยกันขุดคูรอบเวียง เพื่อป้องกันสัตว์มารบกวน มีประตูสามด้าน ทางทิศใต้เรียกว่า "ประตูดำ" เป็นประตู ที่นำศพออกไปป่าช้า แล้วสร้างวัดในบ้านดอนทางทิศตะวันออกในรัชสมัยของพระเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ให้ "พะก่ากั่นนะ" มาเป็นเจ้าฟ้าเมืองปาย และมีผู้ครองเมืองปายสืบต่อมาอีกคนหนึ่งคือ ขุนส่างเนิง จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2454 ตรงกับ ร.ศ.129 "เมืองปาย" ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอจนถึงปัจจุบัน ปี 2548 รวมเป็นเวลาประมาณ 94 ปี มีผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอปาย รวม 29 คน พระพ่ออุ่นเมืองที่อยู่คู่มากับวัดน้ำฮูที่ทุกคนสักการะนับถือเป็นพระพุทธรูปสิงห์สาม ปางมารวิชัยหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ หน้าตักกว้าง 24นิ้ว สูง 30นิ้ว ส่วนพระเศียรกลวงมีพระเมาฬีครอบ ไม่มีประวัติบันทึกการสร้างอย่างชัดเจนสันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับสถูปเจดีย์ซึ่งอยู่หลังวิหาร ได้รกร้างอยู่เป็นเวลานาน ในปี พ.ศ. 2468ผู้ใหญ่ทอน และ นายเห็งพงษ์พงษ์คำเต็ม พร้อมด้วยชาวบ้านน้ำฮู ได้สร้างศาลาประดิษฐานพระพุทธรูปซึ่งอยู่โคนไม้พร้อมด้วยซากปรักหักพังของเจดีย์ ในปี พ.ศ.2474 ครูบาศรีวิชัยนักบุญลานนาไทย ได้นำคณะศิษยานุศิษย์เดินธุดงค์มายังอำเภอปาย ได้มาเห็นสภาพทรุดโทรมของวัดและได้พบพระพุทธรูปดังกล่าว จึงได้สร้างวิหารขึ้นหนึ่งหลังสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป พร้อมกับสร้างเจดีย์ขึ้นด้านหลังวิหาร 1 องค์ และที่วัดน้ำฮูแห่งนี้หากมองดูดีๆจะเห็นพระเจดีย์สีทองอยู่หลังวิหารหรือโบสถ์ของวัดน้ำฮูแห่งนี้ พระเจดีย์นี้ไม่มีบันทึกประวัติการสร้างอย่างชัดเจน แต่เชื่อกันว่าสร้างโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยา ซึ่งได้เสด็จไปเป็นตัวประกันที่พม่าแทนสมเด็จพระนเรศวรมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกปลงพระชนม์ที่พม่านั่นเอง ภายในพระเจดีย์นี้ยังบรรจุเส้นพระเกศาของสมเด็จพระพี่นางฯ ไว้ด้วย สมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาเป็นวีรสตรีไทยที่ประวัติศาสตร์ควรจำรึกไว้ หากไม่มีพระองค์ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชอาจไม่มีโอกาสกลับมากอบกู้เอกราช และอาจไม่ทรงทราบข่าวการเคลื่อนไหวของทัพพม่าก่อนทุกครั้ง ชาวไทยจึงควรระลึกถึงวีรกรรมของพระองค์ และถวายสักการะดวงวิญญาณของพระองค์โดยทั่วกัน ส่วนหน้าวัดก็จะมีศาลาปลาให้ผู้คนมากราบไหว้ เนื่องจากว่าศาลาปลาของวัดน้ำฮูนี้มีรูปปั้นของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชและรูปปั้นสมเด็จพระพี่นางสุพรรณกัลยาไว้ให้สักการบูชาได้อีกด้วย ในปี พ.ศ. 2515 ได้มีพระธุดงค์จากต่างจังหวัดมาพักที่วัด ได้สังเกตเห็นพระพักตร์ของพระพุทธรูปเป็นโพรงพระโมฬีถอดได้ และในโพรงนั้นมีน้ำขังอยู่เต็ม จึงสอบถามชาวบ้านและเจ้าอาวาสก็ไม่มีใครทราบมาก่อน เป็นที่เล่าลือกันอยู่พักหนึ่ง แต่ไม่มีใครกล้าพิสูจน์ความจริง ในปี พ.ศ. 2516ร.อ.ประเสริฐ เรียมศรี นายอำเภอปาย พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการอำเภอปาย ได้ร่วมทำการอธิษฐานของพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยความร่วมมือจากเจ้าอาวาสและศรัทธาได้ตักน้ำออกจากพระเศียรทั้งหมด ใช้สำลีเช็ดจนแห้งสนิท ทำการปิดพระเศียรผูกเชือกประทับตราครั่ง ปิดหน้าต่าง ประตูทุกบาน ห้ามคนเข้าออกกำหนดเวลา 5 วัน เมื่อครบกำหนดได้ทำการเปิดต่อหน้าคณะทำการพิสูจน์ชุดเดิม ผลปรากฏว่ามีน้ำขังอยู่ในเศียรของพระพุทธรูปจริงนับเป็นที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ตั้งแต่นั้นมาก็มีประชาชนทุกสารทิศได้เข้ามากราบไหว้มิได้ขาด ในปี พ.ศ. 2517 นายอาณัติ บัวขาว นายอำเภอปาย ได้ตั้งชื่อพระพุทธรูปองค์นี้ว่า"หลวงพ่ออุ่นเมือง" เป็นมิ่งขวัญให้ประชาชนอำเภอปายอุ่นอกอุ่นใจ ในปี พ.ศ. 2526 คนร้ายไม่ทราบจำนวน ได้ลักลอบขุดเจาะผนังวิหารทางด้านใต้ เข้าไปขโมยสิ่งของเงินทองในวิหาร ทางวัดและศรัทธาจึงได้นำขึ้นไปประดิษฐานไว้บนศาลาการเปรียญ เพราะเกรงขโมยจะลักเอาพระพุทธรูป อีกทั้งวิหารก็ชำรุดทรุดโทรม การย้ายมาอยู่ในที่ใหม่ทำให้น้ำในพระเศียรของพระพุทธรูปลดน้อยลง บางครั้งเหือดแห้งหายไป ประชาชนที่เคารพกราบไหว้ก็น้อยลง ในปี พ.ศ. 2532 หลวงปู่สมบัติ คุเณสโก วัดก้ำก่อ และนายประมวล รุจนเสรี ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้มาเยี่ยมอำเภอปายและได้มานมัสการหลวงพ่ออุ่นเมืองที่วัดนี้ เจ้าอาวาสและศรัทธาวัดได้แจ้งให้ทราบ หลวงพ่อสมบัติ จึงได้ตรวจสอบทางสมาธิ ทราบว่าการเคลื่อนย้ายพระพุทธรูปออกจากวิหารเดิม ผิดเจตนารมณ์ของครูบาศรีวิชัย แต่วิหารเดิมชำรุดทรุดโทรมมาก จึงได้มีมติให้รื้อถอนทำการปลูกสร้างวิหารใหม่ โดยคงรูปแบบวิหารของครูบาศรีวิชัยเดิม ได้รับจัดหาทุนดำเนินการก่อสร้าง ครั้งแรกมีผู้ร่วมบริจาคเป็นเงิน 80,000 บาท ในปี พ.ศ. 2533 พลโทวิเชียร วิชัยวัฒนะ พร้อมด้วยครอบครัวและคณะรับเป็นเจ้าภาพในการก่อสร้างวิหาร โดยการนำกฐินมาทอดเพื่อเป็นทุนดำเนินการก่อสร้างวิหารใหม่จนสำเร็จ และได้หลวงพ่ออุ่นเมืองไปประจำในวิหาร เป็นพระพุทธรูปสำคัญของเมืองปายต่อไป น้ำที่มีอยู่ในพระเศียรก็ยังคงมีอยู่เป็นที่น่าอัศจรรย์จนถึงปัจจุบัน |
|
|
|
เว็บไซต์ : |
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org |
|
|
|
ที่เที่ยวใกล้เคียง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรงแรมใกล้เคียง |
|
|
|
|
|