ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
|
|
|
|
กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ
|
|
ที่เที่ยวแม่ฮ่องสอน > อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน > วัดหัวเวียง |
|
|
วัดหัวเวียง |
|
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 15 ถนนสิงหนาทบำรุง ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมืองแม่ฮ่องสอน แม่ฮ่องสอน 58000 |
|
|
|
|
|
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว |
วัดหัวเวียงตั้งอยู่ที่เลขที่ 15 ถนนสิงหนาทบำรุง ตำบลจองคำ อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อยู่ติดกับตลาดเทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน หมายเลขโทรศัพท์ 053-612003 วัดหัวเวียงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2406 รวมอายุมาแล้วหนึ่งร้อยกว่าปีวัดหัวเวียงแห่งนี้เป็นวัดหลังที่สองของเมืองแม่ฮ่องสอน คำว่า หัวเวียงก็คือ หัวเมืองนั่นเอง ในสมัยก่อนโน้นทางทิศเหนือของวัดเป็นป่าเป็นเขา เสาศาลาการเปรียญของวัดก็ยังไปตัดเอาไม้ตามป่าตามเขา แต่ว่าบัดนี้บริเวณดังกล่าวเป็นบ้านเรือนไปหมดแล้ว วัดหัวเวียงตั้งอยู่ใจกลางเมืองแม่ฮ่องสอนมีลักษณะทางสถาปัตยกรรมแบบไทใหญ่ ในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระมหามุนี หรือพระเจ้าพลาละแข่ง ภายในวัดมีศาลาการเปรียญหลังใหญ่ ตั้งตระหง่านอยู่ใจกลางเมืองแม่ฮ่องสอน วัดหัวเวียงหลังแรกสร้างขึ้นมาโดยคนสมัยนั้นสร้างขึ้นเป็นหลังๆ รวม 7 หลัง ศาลาทั้ง 7 หลังนี้ได้รับศรัทธาจากหลายๆคนสร้างถวายต่อเติมออกไปทีละหลัง แต่ละหลังก็มีศรัทธาคนหนึ่งสร้างถวาย และสร้างพระพุทธรูปขึ้น ไว้ที่ศาลาการเปรียญรวม 5 องค์ มีพระประธานองค์ใหญ่ตั้งอยู่ หน้าตักกว้าง 3 เมตร สูง 3.25 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2420 วัดนี้สร้างเป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอนมาตั้งแต่ครั้งโบราณกาล ศาลาการเปรียญหลังเก่า 7 หลังได้รื้อถอนไปหมดแล้วเมื่อปีพ.ศ. 2515 และพอต้นปี พ.ศ. 2516 ในเดือนมกราคม ก็ได้เริ่มสร้างศาลาการเปรียญหลังปัจจุบันขึ้นมาใหม่ และสร้างเสร็จเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2517 รวมการก่อสร้างเป็นเวลา 1 ปี 8 เดือน และได้จัดงานฉลองเมื่อวันที่ 22 - 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 การก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังนี้สิ้นทุนทรัพย์รวมทั้งสิ้น 996,965.35 บาท ทุนทรัพย์ทั้งหมดอาศัยแรงศรัทธาของประชาชนทั้งใกล้และไกลช่วยกันบริจาค และได้มาจากการจัดนมัสการพระมุนีหรือเจ้าพลาละแข่ง ได้รับเงินสนับสนุนจากกรมศาสนา ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้ต่อเติมอาคารหลังนี้ออกไปทางทิศเหนืออีก 1 ห้อง กว้าง 4 เมตร ยาว 32 เมตรหมดทุนทรัพย์ไปแล้วประมาณ 200,000 กว่าบาท วัดนี้เป็นศูนย์กลางของจังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นที่ชุมนุมของพ่อค้า ประชาชนที่มาใช้ประโยชน์ เช่นว่า เป็นหน่วยเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตลอดทั้งยังเป็นที่ชุมนุมของลูกเสือชาวบ้านทุกเดือน แม้กระทั่งการประชุมพระสังฆาธิการในอำเภอและต่างอำเภอ ในจังหวัดและต่างจังหวัดที่มีส่วนร่วมก็มาประชุมกันที่วัดนี้ตลอดมาไม่มีขาด เหตุการณ์สำคัญ ของวัดหัวเวียง คือการนำพระมหามุนี หรือเจ้าพลาละแข่งที่หล่อจำลอง จากเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศพม่า มาประดิษฐานที่วัดหัวเวียงโดยลุงจองโพหย่า และลุงจองหวุ่นนะ เดินทางไปนิมนต์มาพระเจ้าพลาละแข่งองค์นี้หล่อเป็นท่อนๆทั้งหมด 9 ท่อน บรรทุกเรือมาตามแม่น้ำปาย แล้วมาประกอบที่วัดพระนอนนำมาประดิษฐานที่วัดหัวเวียงชาวแม่ฮ่องสอนถือว่าพระเจ้าพลาละแข่งเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืององค์หนึ่ง สิ่งสำคัญของวัดหัวเวียง 1. พระพุทธรูป 5 องค์ เป็นพระพุทธรูปโบราณ องค์ใหญ่อยู่ตรงกลางหันพระพักตร์อยู่ทางทิศตะวันออก สร้างเมื่อ พ.ศ. 2406 องค์รองลงมาอยู่ด้านหน้าขององค์ใหญ่หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออกส่วนองค์เล็กอีก 3 องค์สร้างเรียงไว้ทางทิศเหนือ จำนวน 2 องค์สร้างไว้ทางทิศใต้หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ 1 องค์ 2. วิหารพลาละแข่ง สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน พลาละแข่งคู่บ้านคู่เมืองแม่ฮ่องสอนวิหารทรงปราสาท 2 องค์ โดยองค์ใหญ่เป็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสมีความกว้างและยาวเท่ากัน คือ 1,850 เมตร สูงจากพื้นประมาณ 15 เมตร ตัวอาคารสร้างด้วยไม้ พื้นล่างเป็นคอนกรีตเฉพาะพื้นด้านในปูด้วยกระเบื้องลายต่างๆ ผนังคอนกรีตขึ้นรับกับฝาลูกกรงไม้ หลังคาเป็นชั้นๆ รวมสามชั้น ส่วนยอดเป็นยอดโดม มุงด้วยสังกะสี และสลักลวดลายสังกะสีประกอบทุกชั้นไป สำหรับวิหารหลังเล็กซึ่งตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออก ก่อสร้างแบบเดียวกับวิหารหลังใหญ่ และสันนิษฐานว่าคงจะสร้างขึ้นพร้อมกันแต่มีความละเอียดกว่า โดยมีหลังคา 5 ชั้น ไม่รวมยอดโดมและฉัตร ตัววิหารมีความกว้าง 6.40 เมตร ยาว 8.30 เมตร ภาษาไทใหญ่เรียกวิหารเล็กนี้ว่า อะโหย่งข่าม ซึ่ง หมายถึงที่รับแขก อนึ่ง วิหารหลังนี้ได้รับการบริจาคไม้ก่อสร้างจากลุงส่างวิสะและมีลุงจองหวุ่นนะเป็นผู้ออกค่าแรงงานก่อสร้างผู้ก่อสร้าง คือลุงหม่องหง่วย ประณีตศิลป์ การก่อสร้างใช้เวลาราว 2 ปี จึงเสร็จเรียบร้อย วัสดุในการก่อสร้างจำพวกสังกะสีกระจกสี และกระเบื้องปูพื้น ได้นำมาจากเมืองพม่า 3. ศาลาจำศีลอาคารไม้ หลังคามุงสังกะสีประดับลายเจาะสังกะสี รูปทรงสวยงาม ศาลาไม้แบบไทใหญ่ซึ่งสร้างขึ้นสมัยรัตนโกสินทร์ โดยได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 98 ตอนที่ 177 ลงวันที่ ตุลาคม พ . ศ . 2524 ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานโดยกรมศิลปากรแล้ว 4. อุโบสถวัดหลังใหม่ สร้างตามแบบอย่างสถาปัตยกรรมไทใหญ่ผสมผสานพม่า เป็นอาคารคอนกรีตหลังคายกชั้นสูงเป็นชั้นๆมุงกระเบื้องประดับลายเจาะสังกะสี นอกจากนี้ยังมีหอระฆัง เจดีย์และโรงเรียนพระปรัยัติธรรมที่น่าสนใจให้นักท่องเที่ยวได้เยี่ยมชมอีกด้วย
|
|
|
|
เว็บไซต์ : |
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org |
|
|
|
ที่เที่ยวใกล้เคียง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรงแรมใกล้เคียง |
|
|
|
|
|