ที่เที่ยวแพร่ > อำเภอสอง > พระธาตุพระลอ
พระธาตุพระลอ
อำเภอสอง จังหวัดแพร่ สอง แพร่ 54120
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
พระธาตุพระลอ เป็นโบราณสถานที่มีประวัติเกี่ยวเนื่องกับเวียงสอง (ปัจจุบันคือ อำเภอสอง จังหวัดแพร่) เมืองโบราณที่กล่าวถึงวรรณคดีไทยเรื่องลิลิตพระลอ และเป็นที่ประดิษฐานพระศรีสรรเพชญ พระคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอสอง ภายในวัดมีรูปปั้นของพระลอ พระเพื่อน พระแพง ประวัติความเป็นมา เดิมวัดพระธาตุพระลอนี้เดิมเรียก ธาตุหินส้ม เพราะแต่เดิมก่อนที่จะสร้างพระธาตุนั้นพบว่ามีซากอิฐและหินกองใหญ่อยู่ หินนี้มีลักษณะเป็นหินส้ม แต่ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนแปลงชื่อเป็น พระธาตุพระลอ การก่อสร้างสันนิฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เนื่องจากมีการขุดพบโบราณวัตถุหลายชิ้น เช่น ดาบ และพระพุทธรูป ซึ่งเป็น ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย หล่อด้วยตะกั่ว รูปแบบเจดีย์เป็นทรงลังกา พ.ศ. 2325 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา พ.ศ. 2521จังหวัดให้สร้างอนุสาวรีย์พระลอ พระเพื่อนพระแพงขึ้นในบริเวณวัด เป็นรูปปั้นของกษัตริย์ทั้งสามพระองค์ที่ถูกทหารยิงด้วยธนูจนสิ้นพระชนม์ ประเพณีการนมัสการพระธาตุพระลอกำหนดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เหนือของทุกปี พระธาตุพระลอ อยู่ที่ตำบลบ้านกลาง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1154 กม.ที่ 54 ห่างจากอำเภอสอง ประมาณ 3 กิโลเมตร เป็นพระธาตุเก่าแก่อายุกว่า 400 ปี สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์เพื่อระลึกถึงความรักอมตะของพระลอแห่งนครแมนสรวง และพระเพื่อน-พระแพง แห่งเมืองสรองพระธาตุพระลอเป็นต้นกำเนิดของวรรณคดีเรื่องลิลิตพระลอ ซึ่งจัดว่าเก่าแก่ที่สุด สันนิษฐานว่าน่าจะแต่งขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น การเดินทาง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 101 ประมาณ 24 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 103 อีกราว 18 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวขวาสู่อำเภอสองใช้เส้นทางหมายเลข 1154 จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปอีก 3 กิโลเมตรถึงพระธาตุพระลอลิลิตพระลอ เป็นลิลิตโศกนาฏกรรมความรัก ที่แต่งขึ้นอย่างประณีตงดงาม มีความไพเราะของถ้อยคำ และเต็มไปด้วยสุนทรียศาสตร์ พรรณนาเรื่องด้วยอารมณ์ที่หลากหลาย ใช้กวีโวหารอย่างยอดเยี่ยม ในการบรรยายเนื้อเรื่อง ที่มีฉากอย่างมากมาย หลากหลายอารมณ์ โดยมีแก่นเรื่องแบบรักโศก หรือ โศกนาฏกรรมและแฝงแง่คิดถึงสัจธรรมของชีวิต ลิลิตพระลอนี้เคยถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนจากนักวรรณคดีบางกลุ่ม เนื่องจากเชื่อว่าเป็นวรรณกรรมที่มอมเมาทางโลกีย์ลิลิตพระลอเป็นเรื่องรักโศก บรรยายถึงความรักระหว่างพระเอก คือ พระลอ และนางเอกสองคน คือ พระเพื่อน และพระแพง นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความรักของหญิงชายอีกสองคู่ คือ นางรื่น นางโรย และนายแก้ว นายขวัญ พี่เลี้ยงของพระเพื่อนพระแพง และพระลอ ตามลำดับผู้แต่งได้ผูกเรื่องไว้อย่างน่าติดตาม โดยมีบทพรรณนาที่งดงาม มีความหลากหลาย โดยตลอด แม้จะนับเป็นนิยายเรื่องยาว (ความยาวถึง 660 บท) แต่ก็ไม่ทำให้ผู้อ่านรู้สึกเบื่อ
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง