ที่เที่ยวปทุมธานี > อำเภอคลองหลวง > พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิพิธภัณฑสถานเครื่องถ้วยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ภายในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยกรุงเทพที่ 9/1 หมู่ที่ 5 คลองหลวง ปทุมธานี 12120
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
เครื่องถ้วย หมายถึง สิ่งของทุกชนิดที่ทำด้วยดิน แล้วนำมาเผานับตั้งแต่จานที่ใช้กันภายในครัวกระเบื้องมุงหลังคา ตลอดจนเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วน เครื่องปั้นดินเผา เป็นศัพท์ทั่วไปใช้เรียกดินที่ถูกไฟเผาทุกชนิด เมื่อรู้ความแตกต่างของเครื่องถ้วยและเครื่องปั้นดินเผาแล้วก็มารู้จักพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้กันเลย พิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2543 เนื่องในโอกาสครบรอบ 40 ปี ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ภายในเก็บรวบรวมเครื่องถ้วยโบราณ จำนวนกว่า 2,000 รายการ ที่อาจารย์สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยมอบให้ เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกี่ยวกับเครื่องถ้วยสมัยประวัติศาสตร์ทุกแง่มุม พร้อมกระตุ้นให้ผู้เข้าชมเห็นคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของไทย รวมทั้งเป็นคลังบรรณสารทางเครื่องถ้วยที่สำคัญแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยอาคารจัดแสดงถูกออกแบบเป็นอาคารชั้นเดียว ตั้งอยู่ใกล้กับน้ำตกประดิษฐ์ เลียนแบบการสร้างเตาเผาเครื่องถ้วยของไทยที่มักสร้างบางส่วนอยู่ใต้ดิน จึงเป็นแรงบันดาลใจให้เกิดความคิดในการสร้างพิพิธภัณฑสถานให้บางส่วนอยู่ใต้ดิน อาคารหลังนี้ได้รับรางวัลเหรียญทองสถาปัตยกรรมดีเด่นประเภท อาคารสถาบันหรืออาคารทางศาสนา ประจำปี 2551 และเป็น 1 ใน 9 ของสถาปัตยกรรมสีเขียวดีเด่นของไทย (ASA Green Awards) ประจำปี 2552 อีกด้วยด้านหน้ามีการจำลองเตาเผา ซึ่งเป็น เตาประทุนแบบล้านนา รวบรวมลักษณะของเตาเผาทางภาคเหนือหลายแห่ง แสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีพื้นฐานของช่างปั้นภาคเหนือของประเทศไทย สร้างเตาเผาให้ลาดเอียงเล็กน้อยเพื่อให้อากาศร้อนไหลผ่านไปตามธรรมชาติ จากที่ใส่ไฟที่อยู่ต่ำกว่าไปยังปล่องไฟที่อยู่ตรงข้ามบริเวณปลายสุดของเตา ภายในมีชิ้นส่วนภาชนะ ส่วนใหญ่มาจากเตาเวียงกาหลงทั้งเตาส่วนภายในอาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งนี้ จัดแสดงเรื่องพัฒนาการของเครื่องถ้วยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นเครื่องถ้วยโบราณเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผลิตจากกลุ่มเตาในราชอาณาจักรไทย ที่ค้นพบที่ตำบลบ้านเชียง แหล่งขุดค้นบนเทือกเขาถนนธงชัย แหล่งขุดค้นตาก-อมก๋อย รวมทั้งเครื่องถ้วยเขมรที่ผลิตจากกลุ่มเตาพนมดงเร็ก
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง