ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
|
|
|
|
กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ
|
|
ที่เที่ยวสงขลา > อำเภอเมืองสงขลา > เกาะยอ |
|
|
เกาะยอ |
|
อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา เมืองสงขลา สงขลา 90000 |
|
|
|
|
|
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว |
เกาะยอ เป็นเกาะเพียงเกาะเดียวในทะเลสาบสงขลาตอนล่าง อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของอำเภอเมืองสงขลา มีฐานะเป็นตำบลหนึ่งในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา มีพื้นที่ 15 ตารางกิโลเมตร มีประชากรประมาณ 4,000 คน แบ่งเป็น 9 หมู่บ้าน มีองค์การบริหารส่วนตำบลเกาะยอเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีหน้าที่ในการพัฒนาตำบลในด้านต่าง ๆ การเดินทางมายังเกาะยอมีสะพานติณสูลานนท์ 2 ช่วง
เชื่อมเกาะยอกับฝั่ง อ. เมืองสงขลา และ อ.สิงหนครภายในเกาะยอมีถนนราดยางรอบเกาะยอ พื้นที่ส่วนใหญ่ในเกาะยอเป็นภูเขาไม่สูงนัก มีที่ราบเชิงเขาติดทะเล และมีที่ราบกว้างทางตอนใต้ของเกาะยอ
เกาะยอมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 9,275 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นไหล่เขาและที่ราบตามเชิงเขา เหมาะแก่การเกษตรกรรม บนเกาะยอ มีการทำสวนผลไม้แบบสุมรุม หมายถึงผลไม้จะผลัดกันให้ผลผลิตตลอดปี เช่น ส้มโอ มะพร้าว ขนุน ผลไม้ที่มีชื่อของเกาะยอคือ จำปาดะ ลักษณะคล้ายขนุนแต่ลูกเล็กกว่า สามารถนำไปทอดเหมือนกล้วยแขก หรือจะกินสดก็ได้ และผ้าทอเกาะยอ เป็นผ้าพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยมจากผู้นิยมสวมใส่ผ้าไทย มีลายที่เป็นเอกลักษณ์ เช่น ลายราชวัตถ์ ดอกพิกุล ดอกพะยอม เนื้อผ้าดูแลรักษาง่าย นอกจากนั้นเกาะยอยังเป็นแหล่งเลี้ยงปลากะพงขาวในกระชังในทะเลสาบสงขลาอีกด้วย
ชาวเกาะยอส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ ทำสวนผลไม้ อาชีพประมงและอาชีพทอผ้าพื้นเมือง
เกาะยอมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกทั้งชุมชนเกาะยอยังมีประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่สืบทอดกันมานาน เช่น ประเพณีแห่หมรับเรือนสิบและประเพณีขึ้นเขากุฏซึ่งถือเป็นทุนทางสังที่ทำให้ชุมชนเกาะยอเป็นชุมชนที่เข้มแข็งน่าอยู่
แนวทางในการพัฒนาตำบลของชาวเกาะยอดำเนินไปตามวิสัยทัศน์ในการพัฒนาตำบลที่ชาวเกาะยอช่วยกันกำหนดในปี 1540 ซึ่งคลี่คลายกลายเป็นกิจกรรมการดำเนินการพัฒนาตำบลในรูปแบบต่าง ๆ เช่นการฟื้นฟูประเพณีวัฒนธรรมเก่าแก่ เช่น ประเพณีลอยแพโดยสภาพวัฒนธรรมตำบลเกาะยอ การสืบสารหัตถกรรมผ้าทอเกาะยอ โดยกลุ่มราชวัตถ์ฯ การสร้างสวนสมุนไพรและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นโดยวัดท้ายยอ และที่สำคัญคือการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เพื่อชุมชนเกาะยอได้ทดลองในเส้นทางสายวัฒนธรรม
และพัฒนาเป็นการท่องเที่ยวเกษตรเกาะยอในปัจจุบัน ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ถือเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาตำบลให้น่าอยู่อย่างยั่งยืนตลอด |
|
|
|
เว็บไซต์ : - |
แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org |
|
|
|
ที่เที่ยวใกล้เคียง |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
โรงแรมใกล้เคียง |
|
|
|
|
|