ที่เที่ยวกรุงเทพ > เขตพระนคร > เสาชิงช้า
เสาชิงช้า
หน้าวัดสุทัศน์ฯ ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า พระนคร กรุงเทพฯ 10200
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
ในอดีตนั้น ใจกลางของกรุงเทพมหานคร นั้นอยู่ในย่านเสาชิงช้า เพราะถือว่าที่บริเวณเสาชิงช้าคือสะดือเมือง หรือจุดศูนย์กลางของพระนคร ซึ่งถูกกำหนดขึ้นตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์มาจนถึงปัจจุบันสะดือเมืองหรือเสาชิงช้าถูกกำหนดมาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช หรือรัชกาลที่ 1 หลังจากที่พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายขอบเขตของพระนครออกไปทางตะวันออก จากเดิมที่อยู่ฝั่งตะวันตกหรือฝั่งธนบุรีในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน และมีการขุดคลองรอบกรุงขึ้น พระองค์จึงได้กำหนดจุดศูนย์กลางของพระนครหรือสะดือเมืองขึ้นมา และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ตั้งของเทวสถาน และโบสถ์ ในศาสนาพราหมณ์ รวมทั้งเสาชิงช้าด้วยเสาชิงช้า ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์อันโดดเด่นของกรุงเทพฯ มาจนถึงปัจจุบัน โดยเสาชิงช้านั้นเป็นเสาไม้ขนาดใหญ่สีแดง ตั้งอยู่บนแท่นหินขนาดใหญ่ มีความสูง 21.15 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว ตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกประวัติเสาชิงช้า เสาไม้แกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหัวเม็ด ล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม โครงยึดหัวเสาทั้งคู่แกะสลักอย่างสวยงาม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ทั้งหมดทาสีแดงชาด ใช้เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้าในพระราชพิธี ตรียัมปวาย ตรีปวาย ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดูเมื่อครั้งอดีตกาล และเสาชิงช้าที่ได้เห็นกันในปัจจุบันนั้นเป็นเสาต้นใหม่ ซึ่งได้มีการจัดพิธีสมโภขน์เสาชิงช้าใหม่ไปเมื่อวันที่ 11-13 กันยายน 2550 โดยตัวไม้เป็นไม้สักทองมาจากเมืองแพร่เสาชิงช้าได้กลายมาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นที่รู้จักทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศอย่างแพร่หลาย และในบริเวณใกล้เคียงกับเสาชิงช้า รวมถึงในเขตพระนครส่วนใหญ่ จะยังคงสถาปัตยกรรมในแบบช่วงต้นรัชกาลให้นักท่องเที่ยวได้ชมอีกเช่นกัน เดินทางอย่างไรโดยรถประจำทางรถเมล์ธรรมดา สาย 12, 42 รถเมล์ปรับอากาศ สาย 12หรือ นั่งรถเมล์สายอื่นๆ ลงที่ถนนราชดำเนิน บริเวณสี่แยกคอกวัว แล้วเดินไปตามถนนดินสอ จนถึงหน้าวัดสุทัศน์
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง