ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > วัดปลดสัตว์



วัดปลดสัตว์

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดปลดสัตว์ เดิมมีนามว่า “วัดสะแก” ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2400 ได้เริ่มมีการบูรณะขึ้นโดยมี ขุนธรรมการ (ทองคำ) ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์มีนามใหม่ว่า “วัดดำรงค์ธรรม” ครั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตรวจการคณะสงฆ์และที่พักที่วัดนี้ ทรงปรารภว่า วัดตั้งอยู่ที่บ้านแห ควรจะชื่อว่า “วัดปลดสัตว์” หมายถึงการปลดสัตว์ออกจากแหจึงได้เปลี่ยนนามวัดมาเป็น “วัดปลดสัตว์” สืบต่อมาวัดปลดสัตว์เป็นวัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาแห่งแรกของจังหวัดอ่างทองฝ่ายธรรมยุตนิกาย เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2427 ( วันศุกร์ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 4 ปีวอก ) เขตวิสุงคามสีมากว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร

อนึ่ง วัดปลดสัตว์นี้เป็นวัดหัวของธรรมยุตในจังหวัดอ่างทอง คำว่า หัววัดคือ มีตำแหน่งหน้าที่ปกครองคณะวัดของตนในจังหวัดอ่างทองดังได้เห็นจากตำแหน่งการปกครองทางคณะสงฆ์จากประวัติอดีตเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน

วัดปลดสัตว์นี้ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีทิวทัศน์สวยงาม โบราณสถานและปูชนียสถานอันทรงคุณค่า โดยเฉพาะถูปาคารเจดีย์ เป็นปูชนียสถานอายุราว 150 ปี ถือว่าเป็นสัญลักษณ์วัดปลดสัตว์ก็ว่าได้ โดยสร้างมาตั้งแต่การสร้างอุโบสถ์วัดปลดสัตว์หลังเก่าในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) มีลักษณะเป็นเจดีย์ทรงสูงยอดเข้าหากันสูง 7 ชั้น ฐานกว้างด้านละ 7 เมตร 7 เซนติเมตร หันหน้าออกทางด้านทิศตะวันออก สร้างตามอย่างเจดีย์พุทธคยา มีทั้งหมด 6 ชั้น เปรียบดังสวรรค์ทั้งหก และมีเจดีย์ประดิษฐานอยู่ด้านบนสุด เปรียบดังพระเจดีย์เกตุแก้วจุฬามณี บนสรวงสวรรค์ เชื่อกันว่า คนที่เกิดปีจอหรือปีมะเส็ง ได้กราบไหว้บูชาจะเกิดผลาอานิสงส์นานับประการ และปรารถนาสิ่งใดล้วนแต่สมประสงค์

วัดแห่งนี้มีความสำคัญ ด้วยในอดีตเป็นวัดที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ปราชญ์พระพุทธศาสนาเมืองไทย ประทานชื่อ นามว่า วัดปลดสัตว์ อันเป็นการปลดปล่อยชีวิตสัตว์ เป็นมหาบุญ เปรียบเสมือนว่าได้ชีวิตใหม่ ปลดทุกข์ ปลดโศก ปลดโรค ปลดภัย ล่วงเลยมาจนถึงกาลปัจจุบัน




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ
ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อบ้านวัดตาลต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็...
กลุ่มแม้บ้านจักรสานพลาสติกศรีพราน
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยที่ได้ทั้งความเพลิดเพลินควบคู่ไปกับศิลปหัตถกรรมงานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วหรือที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นก็คงต้องไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชมอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งภูมิปัญญาที่สร้างสรรเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เข้ากับยุคสมัยอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนอีก เมื่อได้เกริ่นมาขนาดนี้แล้วก็ขอแนะนำทุกท่านเข้าสู้กลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน ที่ตั้ง...
วัดชัยมงคล
วัดชัยมงคล ต.ตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างราวปี พ.ศ. 2400 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2525 เหตุที่ชื่อว่า วัดชัยมงคล เนื่องจากเป็นจุดแพ้ชนะในการแข่งขันเรือเหนือวัดขึ้นมาไปเป็นวัดสนามชัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นใหม่ในปัจจุบันโดยนำศิลปสมัยใหม่มาผสมผสาน เช่น การใช้สีส...
กลุ่มจักสานบ้านมหานาม
เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งผลิตและหมุนเวียนของสภาพคล่องทางการเงินในท้องถิ่นซึ่งแม้อาจจะไม่มีหน่วยที่ใหญ่นักแต่ก็เป็นการสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนและช้าวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย่างดี ถ้ามาถิ่นบ้านมหานามแล้วก็คงจะก้าวออกไปโดยที่ไม่ได้เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมชมกลุ่มจักสานบ้านมหานามแห่งนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของเหล่าบรรดาแม่บ้านเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มาเพื่อสร้างรายได้ให้กับค...
วัดปราสาท
วัดปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ 58 บ้านตะพุ่น หมู่ที่ 2 ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2250-2310) สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมชื่อวัดปราสาททอง ได้เปลี่ยนเป็นวัดปราสาท ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 ด้าน ตามประวัติความเป็นมา วัดปราสาทสร้าง ตั้งวัดเมื...
หมู่บ้านจักสาน
งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นของอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือน ที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษณ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูลที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนิน...
วัดถนน
วัดถนน เป็นวัดในจังหวัดอ่างทองที่น่าไปเยี่ยมชมสักการะอีกวัดหนึ่ง วัดนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากรุงเทพฯ อยู่ที่ตำบลโผงเผง จากอำเภอป่าโมก ผ่านตลาดเทศบาลไปตามถนนสายป่าโมก-บางบาลสายใน (3501) กิโลเมตรที่ 19-20 ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดถนน วัดนี้สร้างราว พ.ศ. 2323 ในสมัยกรุงธนบุรี ภายในวัดมีพระยืนขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในวิหารนามว่า “หลวงพ่อพระพุทธรำพึง” หรือ “พระพุทธรำพึง...
วัดพินิจธรรมสาร
วัดพินิจธรรมสาร ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2259 เดิมนามว่า “วัดชีปะชาว” เมื่อ พ.ศ.2269 ตรงกับสมัยอยุธยา รัชสมัยพระเจ้าท้ายสระท้าย พระองค์โปรดให้พระยาราชสงครามดำเนินการชักชะลอพระพุทธไสยาสน์เดิมประดิษฐานอยู่ในวิหารวัดป่าโมก ใกล้ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ในการนี้ได้จัดสร้างพระตำหนักพลับพลาชัยขึ้น ณ ที่ใกล้วัดชีปะขาว สำหรับเป็นที่ประทับกะวางแผนงาน สั่งงานและตรวจตราการปฏิบัติงานและผลของการปฏิบัติงาน โดยที่พระเจ้าท้ายสระพร้อม...

โรงแรมใกล้เคียง