ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > หมู่บ้านจักสาน



หมู่บ้านจักสาน

- ป่าโมก อ่างทอง -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นของอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือน ที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษณ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูล

ที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนินมาเยือนและได้พระราชทานคำแนะนำให้ราษฎรปลูกไม้ไผ่สีสุก เพื่อเป็นวัตถุดิบในการทำเครื่องจักสานและเป็นการอนุรักษ์งานฝีมือประเภทนี้ไว้ งานจักสานของบ้านบางเจ้าฉ่านี้มีความละเอียดประณีตสวยงามสามารถพัฒนางานฝีมือตามความต้องการของตลาด ไม่ยึดติดกับรูปแบบเก่าจนสามารถส่งออกขายต่างประเทศได้ จึงได้รับการยกย่องว่าเป็นหมู่บ้านตัวอย่างในการพัฒนาอาชีพ

ลวดลายที่ใช้ในเครื่องจักสาน

1.ลายขัด คือลายที่ยก 1 ตอก ข่ม 1 ตอกสลับกันเรื่อยไป ใช้สานกระสอบ ตะกร้า กระบุง ไซ ข้อง เป็นต้น

2.ลายสองใช้สานกระชอน กระสอบ ฝาบ้านไม้ไผ่ ลายสองเป็นลายที่ประสมกับลายขัด ลายสามประดิษฐ์ แล้วประดิษฐ์เป็นลายที่มีชื่อว่า ลายลูกแก้ว ลายดีคว่ำ ลายดีหงาย ดาวล้อมเดือน ดาวกระจาย เป็นต้น

3.ลายตาหลิ่ว อาจจะเรียกต่างกันไปตามพื้นถิ่น เช่นลายตาชะลอม ลายชะหมู ใช้สานกระเป๋า ตะกร้า ลายตาหลิ่ว เป็นลายที่ดัดแปลงมาจากลายพื้นฐาน โดยเพิ่มตอกขัดทแยงเป็นลายดอกขิง ลายดอกจันทร์ ลายพิกุล ลายตาชะลอม ฯลฯ

ลายพัฒนา คือลายที่พัฒนามาจากลายพื้นฐาน มีดังนี้

1.ลายบ้า ใช้สานกระเป๋า ตะกร้า แจง กระชอน เป็นต้น

2.ลายดีด้าน ใช้สานจำพวกตะกร้า ข้อง

ลายประดิษฐ์ เป็นลายที่สานขึ้นตามความนึกคิดของตัวผู้สานเอง เช่น ลายขัดตาหมากรุก, ลายขัดตาแทยง, ลายขัดตอกคู่ เป็นต้น

คุณค่าและการใช้สอยในชีวิตประจำวัน

1.ในสังคมกสิกรรมหรือเกษตรกรรม เครื่องจักสานมีบทบาทที่สำคัญยิ่งเนื่องจากชาวบ้านจะใช้ภูมิปัญญาของตนเองประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ ขึ้น ตามความต้องการใช้งานเขาจะใช้อย่างรู้และเข้าใจในสิ่งนั้นๆ และเห็นคุณค่าของเครื่องใช้ เครื่องจักสานจากภูมิปัญญาของตน

2.ประโยชน์ของการใช้สอยสามารถโยงใยไปถึงคุณค่าแห่งจิตใจ ให้เกิดความรักและหวงแหนในคุณค่าของสิ่งที่ตนเองบรรจงสร้างขึ้น จากความรู้สึกนึกคิด จิตวิญญาณที่สร้างความงดงามในชิ้นงานแต่ละชิ้น ตั้งแต่การเหลา การเกลา จนนำมาสานรวมเป็นภาชนะของใช้ ซึ่งแน่นอนว่าเขาจะใช้อย่างคุ้มค่าและทะนุถนอม

3.สะท้อนของความอุดมสมบูรณ์ และ ความสงบสุขในสังคม ท้องถิ่นเครื่องจักสานที่มีใช้ทั่วไปนั้น มีทั้งเครื่องจับสัตว์ ทำการเกษตร ของใช้ในครัวเรือน และสิ่งเบ็ดเตล็ด หรืออาจรวมไปถึงเครื่องจักสานที่ใช้ในพิธีกรรมบางอย่าง สิ่งเหล่านี้รับใช้คนในสังคมชนบทที่มีแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ของพื้นถิ่นซึ่งประกอบด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนในท้องถิ่นได้รับผลแห่งความอุดมสมบูรณ์ มีการแบ่งปันการใช้สอย การพึ่งพาอาศัย สร้างสมคุณธรรม จริยธรรม กลายเป็นระบบคุณธรรม และเป็นที่มาของความสงบ

4.เครื่องจักสานจะแสดงคตินิยม ความเชื่อ เรื่องราวต่างๆ ของสังคม และยุคสมัยที่มีผลจากรูปแบบของประเพณีต่างๆ ก่อให้เกิดงานศิลปหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น ชุมชน แสดงให้เห็นถึงความเป็นอยู่ อาชีพ




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดราชปักษี(นก)
วัดราชปักษี(นก) ภายในวัดมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ (พระนอน) อายุหลายร้อยปีมีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ.2163 เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อใกล้จะพังลงน้ำ ...
วัดปลดสัตว์
วัดปลดสัตว์ เดิมมีนามว่า “วัดสะแก” ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2400 ได้เริ่มมีการบูรณะขึ้นโดยมี ขุนธรรมการ (ทองคำ) ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์มีนามใหม่ว่า “วัดดำรงค์ธรรม” ครั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตร...
วัดปราสาท
วัดปราสาท ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก วัดปราสาท ตั้งอยู่เลขที่ 58 บ้านตะพุ่น หมู่ที่ 2 ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างเมื่อราวสมัยกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ.2250-2310) สมัยกรุงศรีอยุธยาเดิมชื่อวัดปราสาททอง ได้เปลี่ยนเป็นวัดปราสาท ภายในมีพระพุทธรูป ปางมารวิชัยเป็นประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง 2 ศอกคืบ สูง 0.76 เมตร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังทั้ง 3 ด้าน ตามประวัติความเป็นมา วัดปราสาทสร้าง ตั้งวัดเมื...
วัดสระแก้ว
ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครด้านทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจากพระนครศรีอยุธยาด้านทิศเหนือ 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทองด้านทิศเหนือ 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ดินตั้งวัดทั้งสิ้น 33 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา ปัจจุบันมีผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ดินที่จัดผลประโยชน์โดยมูลนิธิสระแก้วมูลนิธิ วัดสระแก้ว เดิมช...
วัดท่าสุทธาวาส
วัดท่าสุทธาวาส ตั้งอยู่ที่ ต.บางเสด็จ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก โดยเส้นทางหลวง 309 อยุธยา-อ่างทอง ทางเข้าวัดจะอยู่ทางซ้ายมือ ห่างจากตัวเมืองอยุธยา 14 กม. เป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น บริเวณนี้เดิมทีเป็นเส้นทางเดินทัพข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยสมเด็จพระนเรศวร ปัจจุบันสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาฯ ทรงรับไว้ในพระราชอุปถัมภ์ มีการจัดสร้างพลับพลาที่ประทับกลางสระน้ำ พระเจดีย์ประด...
วัดถนน
วัดถนน เป็นวัดในจังหวัดอ่างทองที่น่าไปเยี่ยมชมสักการะอีกวัดหนึ่ง วัดนี้ตั้งอยู่ที่อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากรุงเทพฯ อยู่ที่ตำบลโผงเผง จากอำเภอป่าโมก ผ่านตลาดเทศบาลไปตามถนนสายป่าโมก-บางบาลสายใน (3501) กิโลเมตรที่ 19-20 ประมาณ 7 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดถนน วัดนี้สร้างราว พ.ศ. 2323 ในสมัยกรุงธนบุรี ภายในวัดมีพระยืนขนาดเท่าองค์จริง ประดิษฐานอยู่ในวิหารนามว่า “หลวงพ่อพระพุทธรำพึง” หรือ “พระพุทธรำพึง...
วัดสระเกษ
วัดสระเกษ วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ “บ้านสระเกษ”วัดสระเกษ วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ บ้านสระเกษ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ มีกล่าวไว้ในพระรา...
ศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง
ตั้งอยู่ ถนนเลี่ยงเมือง ริเริ่มและดำเนินการโดยเทศบาลเมืองอ่างทอง โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณตามโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวขององค์กรปกครองท้องถิ่น เทศบาลเมืองอ่างทองได้ทำการเปิดศูนย์ข้อมูลท่องเที่ยวเมืองอ่างทอง เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2548 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดอ่างทอง (นายกมล จิตระวัง) มีวัตถุประสงค์ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ของชาวอ่างทอง และนักเรียน นักศึกษารวมทั้งผู้สนใจทั่วไป ให้ข้อมูลความเป็นมาและเป็นไปขอ...

โรงแรมใกล้เคียง