ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > วัดสระแก้ว



วัดสระแก้ว

บ้านสะแก หมู่ 3 ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก อ่างทอง ป่าโมก อ่างทอง 14130




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ตำบลบางเสด็จ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง อยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานครด้านทิศเหนือประมาณ 100 กิโลเมตร ห่างจากพระนครศรีอยุธยาด้านทิศเหนือ 15 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดอ่างทองด้านทิศเหนือ 17 กิโลเมตร มีเนื้อที่ดินตั้งวัดทั้งสิ้น 33 ไร่ 2 งาน 90 ตารางวา ปัจจุบันมีผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเป็นที่วัด ที่ธรณีสงฆ์ และที่ดินที่จัดผลประโยชน์โดยมูลนิธิสระแก้วมูลนิธิ

วัดสระแก้ว เดิมชื่อ วัดสะแก ตำบลบ้านปะขาว อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หรือประมาณ 300 ปีเศษมาแล้ว มาเปลี่ยนชื่อเป็น วัดสระแก้ว ในปีพ.ศ. 2495 โดยพระอธิการ ฉบับ ขันติโก (พระครูขันตยาภิวัฒน์) จึงเรียกชื่อวัดสระแก้วตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

วัดสระแก้วได้เริ่มให้การอุปการะและเลี้ยงดูเด็ก ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 เป็นต้นมา เมื่อนับวันเดือนปีจวบจนถึงปัจจุบันนี้ก็ย่างเข้าปีที่ 67 แล้ว ซึ่งผู้ริเริ่มในการให้ความอุปการะแก่เด็ก ๆ ก็คือ พระครูขันตยาภิวัฒน์ หรือหลวงพ่อ ฉบับ และเนื่องจากหลวงพ่อฉบับเคยเล่นลิเกมาก่อนที่จะมาอุปสมบท ท่านจึงมีดำริที่จะอบรมสั่งสอนศิลปะวิทยาด้านการแสดงลิเกให้แก่เด็ก ๆ เพื่อจะได้รักษาและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของไทยให้ดำรงสืบไป แล้วสิ่งนี้ก็กลายมาเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวัดสระแก้วเมื่อหลายสิบปีก่อน จนเป็นที่ชินหูของคนทั่วไปว่า ลิเกเด็กกำพร้าวัดสระแก้ว

ภายหลังจากปีพุทธศักราช 2531 พระครูขันตยาภิวัฒน์ หรือหลวงพ่อ ฉบับได้มรณะภาพลงเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2531 จากนั้นผู้ที่รับหน้าที่ในการบริหารให้ความช่วยเหลือเด็ก ๆ กำพร้าและยากจนก็คือ พระครูพิศาลรัตนาภิวัฒน์ หรือ หลวงพ่อไพฑูรย์ ซึ่งหลวงพ่อไพฑูรย์ของเด็ก ๆ วัดสระแก้วได้ให้ความอุปถัมภ์เด็กอยู่ได้เพียง 18 ปี เท่านั้น ท่านก็ได้มรณภาพลงไปอีกรูปหนึ่ง

หลังการเสียหลวงพ่อไพฑูรย์ไป ก็ได้มีท่านเจ้าอาวาสรูปใหม่มาบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือ ดูแล และอนุเคราะห์แก่เด็กกำพร้าและยากจนของวัดสระแก้ว ซึ่งผู้คนหรือชาวบ้านทั่วไปต่างชื่นชมในความมีเมตตากรุณา ความเอื้ออาทร ความหวังดีของท่านที่มีแก่เด็ก ๆ ทุกคน ท่านผู้นี้ก็คือ หลวงพ่อไพเราะ หรือ ดร.พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันของวัดสระแก้ว โดยท่านได้เข้ารับตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดสระแก้ว และ ผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนวัดสระแก้ว (รุ่งโรจน์ธนกุลอุปถัมภ์) รูปปัจจุบัน ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมและบริการสังคม เทียบเท่าคณบดี ณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงราชวิทยาลัย อยู่ก่อนแล้ว ความที่หลวงพ่อรูปนี้ เป็นพระนักพัฒนา พระที่มีเมตตาธรรมอย่างสูง เป็นพระนักเทศชื่อดัง จึ่งมีลูกศิษย์อย่างมากมาย

การเดินทาง

- จากสายเอเซีย เข้าแยก32 เลี้ยวขาวเข้า ถนนสาย 347 ถึงแยกวรเชษฐ์ ถึงแยกทุ่งมำขามหย่อง เลี้ยวซ้ายเข้าถนน 309 ประมาณอีก 9 กิฌลเมตร จะถึงวัดสระแก้ว(ผ่านศูนย์ตุ๊กตาชาววัง)

- เข้าสายเอเซีย เข้าแยกบางประหัน มาถึงแยกป่าโมกข์ เลี้ยวขวาเข้าถนน 309 ผ่านโรงงานฝงชูรส แวก็ถึงวัดสระแก้ว

- เข้ามาทางสุพรรณ ให้เข้าถนนไผ่ขวางวื่งมาทางป่าโมกข์ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ถึงสี่แยก แล้วเลี้ยวขวา




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ
ศูนย์ตุ๊กตาชาววังบ้านบางเสด็จ เป็นเรือนไทยทรงสูง อยู่ด้านหลังวัดท่าสุทธาวาส ในพื้นที่ตำบลบ้านบางเสด็จ ตำบลนี้เดิมชื่อบ้านวัดตาลต่อมาได้เปลี่ยนเป็นชื่อบ้านบางเสด็จเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานความช่วยเหลือแก่ราษฎรผู้ประสบอุทกภัยในปี พ.ศ.2518 ซึ่งสร้างความปลื้มปิติให้แก่ราษฎรเป็นอันมาก เพื่อเป็นการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณจึงได้เปลี่ยนชื่อบ้านวัดตาลเป็...
วัดโพธิ์หอม (วัดป่าหัวพัน)
วัดโพธิ์หอม เดิมเป็นวัดร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดโพธิ์หอม หรือ วัดป่าหัวพัน มีสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ ปูนปั้นรูปบุคคล 4 หน้า ซึ่งเรียกว่า “รูปพรหมสี่หน้า หรือ พรหมพักตร์” มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 2 เศียร ตั้งประดับประดาอยู่บนพานปูนปั้นหน้าศาลาซึ่งสร้างบนฐานของพระอุโบสถเดิม สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นส่วนยอดของประตูวัดหรืออุโบสถ หากว่ารูปปูนปั้นซึ่งมีจำนวน 2 ชิ้นนี้เป็นศิลปวัตถุของวัดนี้มาแต่เดิม เป็นเรื่องที่น่...
วัดป่าโมกวรวิหาร
ภายในวัดมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ พงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาชุมนุมพล และถว...
ตลาดวิเศษชัยชาญ
หากได้มาเที่ยวจังหวัดอ่างทองแล้ว เป็นที่รู้กันว่าต้องไม่พลาดที่จะไปตลาดวิเศษชัยชาญ หรือที่มีอีกชื่อหนึ่งว่า ตลาดศาลเจ้าโรงทอง ตลาดวิเศษชัยชาญแห่งนี้เป็นตลาดโบราณที่มีชื่อเสียงของอำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทองที่มีความเก่าแก่มากกว่า 100 ปี ตลาดศาลเจ้าโรงทอง แต่เดิมเป็นตลาดเก่าแก่ที่คึกคักใหญ่โตมาก บรรยากาศก็เป็นเรือนแถวไม้เหมือนกับตลาดโบราณหลายต่อหลายแห่งที่คงได้เคยไปเที่ยวกันมาแล้วที่สำคัญย่านนี้ยังเคยเป...
วัดจุฬามณี
จังหวัดอ่างทองเป็นสถานที่ที่น่าศึกษาประวัติศาสตร์และเรื่องราวความเป็นมาในอดีตของชาติไทย อ่างทองเดิมชื่อ เมืองวิเศษชัยชาญ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อยบนพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญของกรุงศรีอยุธยาในการสู้รบกับกองทัพพม่า ดังปรากฏในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาหลายตอนโดยเฉพาะในช่วงก่อนกรุงศรีอยุธยาแตกในปี พ.ศ. 2310 พม่าได้ใช้แขวงเมืองวิเศษชัยชาญเป็นที่ตั้งค่ายเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาและทำให้เกิดการ...
วัดราชปักษี(นก)
วัดราชปักษี(นก) ภายในวัดมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ (พระนอน) อายุหลายร้อยปีมีลักษณะคล้ายพระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมกแต่มีขนาดย่อมกว่าเล็กน้อย สันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเก่าสมัยอยุธยา เดิมองค์พระชำรุดทรุดโทรมอย่างมาก ปัจจุบันได้รับการบูรณะขึ้นมาใหม่ และยังมีพระพุทธรูปสร้างสมัยพระเจ้าทรงธรรมราว พ.ศ.2163 เดิมพระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมาเมื่อใกล้จะพังลงน้ำ ...
สวนปลา
อยู่บริเวณใกล้สี่แยกไฟแดงหน้าเรือนจำจังหวัดอ่างทอง มีปลาช่อนอะเมซอนขนาดใหญ่จำนวนมาก และปลาพื้นเมืองอื่นๆ เช่น ปลาแรด ปลาสวาย ปลาเทโพ ฯลฯ ไว้ให้นักท่องเที่ยวเที่ยวชม
วัดปลดสัตว์
วัดปลดสัตว์ เดิมมีนามว่า “วัดสะแก” ต่อมากลายสภาพเป็นวัดร้าง ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ.2400 ได้เริ่มมีการบูรณะขึ้นโดยมี ขุนธรรมการ (ทองคำ) ได้มาทำการบูรณะปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดมีพระสงฆ์มีนามใหม่ว่า “วัดดำรงค์ธรรม” ครั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส วัดบวรนิเวศวิหาร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เสด็จตร...

โรงแรมใกล้เคียง