ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวอ่างทอง > อำเภอป่าโมก > วัดป่าโมกวรวิหาร



วัดป่าโมกวรวิหาร

ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก อ่างทอง ป่าโมก อ่างทอง 14130




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ภายในวัดมีพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ พงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชา ได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการบูชาพระพุทธไสยาสน์องค์นี้

แต่เดิมในสมัยอยุธยาวัดป่าโมกวรวิหารแห่งนี้เคยเป็นวัดสองวัดอยู่ติดกัน คือ วัดชีปะขาว และวัดตลาด แต่มีเหตุทำให้ต้องรวมเป็นวัดเดียวกันเนื่องจากกระแสน้ำเซาะเข้ามาใกล้พระวิหาร "สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 โปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองงานจัดการชลอลากให้ห่างจากแม่น้ำเดิม" (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ได้เสด็จมาควบคุมการชลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังและนำองค์พระไปไว้ยังวิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมก เพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารเขียนซึ่งเล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจว่าเป็นแท่นที่เคยมีกษัตริย์เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย หอไตร เป็นต้น

การเดินทาง

อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไป 18 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 (สายอ่างทอง-อยุธยา) กิโลเมตรที่ 40 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 329 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3501 จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


กลุ่มจักสานบ้านมหานาม
เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งผลิตและหมุนเวียนของสภาพคล่องทางการเงินในท้องถิ่นซึ่งแม้อาจจะไม่มีหน่วยที่ใหญ่นักแต่ก็เป็นการสร้างรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนและช้าวบ้านในละแวกนั้นเป็นอย่างดี ถ้ามาถิ่นบ้านมหานามแล้วก็คงจะก้าวออกไปโดยที่ไม่ได้เข้ามาแวะเวียนเยี่ยมชมกลุ่มจักสานบ้านมหานามแห่งนี้ไม่ได้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกันของเหล่าบรรดาแม่บ้านเพื่อเป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์มาเพื่อสร้างรายได้ให้กับค...
กลุ่มแม้บ้านจักรสานพลาสติกศรีพราน
สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการท่องเที่ยที่ได้ทั้งความเพลิดเพลินควบคู่ไปกับศิลปหัตถกรรมงานฝีมือจากภูมิปัญญาท้องถิ่นแล้วหรือที่ชื่นชอบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมนั้นก็คงต้องไม่พลาดที่จะไปเยี่ยมชมอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นแหล่งภูมิปัญญาที่สร้างสรรเป็นงานศิลปหัตถกรรมที่เข้ากับยุคสมัยอีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมรายได้ให้แก่วิสาหกิจชุมชนอีก เมื่อได้เกริ่นมาขนาดนี้แล้วก็ขอแนะนำทุกท่านเข้าสู้กลุ่มแม่บ้านจักสานพลาสติกศรีพราน ที่ตั้ง...
วัดโพธิ์หอม (วัดป่าหัวพัน)
วัดโพธิ์หอม เดิมเป็นวัดร้างมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา วัดโพธิ์หอม หรือ วัดป่าหัวพัน มีสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้ คือ ปูนปั้นรูปบุคคล 4 หน้า ซึ่งเรียกว่า “รูปพรหมสี่หน้า หรือ พรหมพักตร์” มีขนาดค่อนข้างใหญ่ 2 เศียร ตั้งประดับประดาอยู่บนพานปูนปั้นหน้าศาลาซึ่งสร้างบนฐานของพระอุโบสถเดิม สันนิษฐานว่าอาจจะเป็นส่วนยอดของประตูวัดหรืออุโบสถ หากว่ารูปปูนปั้นซึ่งมีจำนวน 2 ชิ้นนี้เป็นศิลปวัตถุของวัดนี้มาแต่เดิม เป็นเรื่องที่น่...
วังปลาวัดข่อย
เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่เป็นทั้งที่พึ่งทางใจแก่พุทธศาสนิกชนและเป็นทั้งสถานที่ใช้เวลาร่วมกันของครอบครัวใยวันหยุดสุดสัปดาห์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่หน้าสนใจทีเดียว สำหรับวัดข่อยแห่งนี้เป็นวัดที่มีปลาจำนวนมากอาศัยอยู่ในแม่น้ำที่ติดกับอาณาเขตของวัด โดยมีจำนวนมากมาตังแต่วังปลาวัดข่อยสมัยพระครูสุกิจวิชาญ (หลวงพ่อเข็ม) เป็นเจ้าอาวาสซึ่งเป็นเวลากว่า 50 ปีแล้ว ต่อมาในปี พ.ศ. 2528 พระครูสรกิจจาทรเป็นเจ้าอาวาสได้ปรับปรุ...
หมู่บ้านจักสาน
งานฝีมือจักสานอันลือชื่อของอ่างทองส่วนมากจะเป็นของอำเภอโพธิ์ทองแทบทุกครัวเรือน ที่ตั้งบ้านเรือนเรียงรายอยู่ทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีการจัดตั้งเป็นกลุ่มการผลิตเครื่องจักสาน เครื่องหวาย กลุ่มจักสานไม้ไผ่ เช่น กลุ่มตำบลองครักษณ์ กลุ่มตำบลบางเจ้าฉ่า กลุ่มตำบลบางระกำ กลุ่มตำบลพลับ และกลุ่มตำบลอินทประมูลที่นี่เป็นแหล่งผลิตเครื่องจักสานด้วยไม้ไผ่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามราชกุมารี ได้เคยเสด็จพระราชดำเนิน...
หมู่บ้านทำกลอง
งอยู่ที่ตำบลเอกราช หลังตลาดป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบ้านที่นี่เขาริเริ่มผลิตกลองกันมาตั้งแต่ พ.ศ.2470 โดยเป็นอาชีพเสริมหลังฤดูเก็บเกี่ยว เขาจะใช้ไม้ฉำฉามาทำกลองเพราะเป็นไม้เนื้ออ่อนที่สามารถขุดเนื้อไม้ได้ง่ายและอีกหนึ่งวัตถุดิบสำคัญ คือ หนังวัว ที่ต้องเตรียมไว้สำหรับขึงทำหน้ากลองนักท่องเที่ยวและผู้ที่สนใจ สามารถชมกรรมวิธีการทำกลอง ตั้งแต่เริ่มกลึงท่อนไม้เรื่อยๆไปจนถึงขั้นต...
อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว
อนุสาวรีย์นายดอกนายทองแก้ว ประดิษฐานอยู่ที่หน้าโรงเรียนวิเศษชัยชาญวิทยาคม (ติดกับวัดวิเศษชัยชาญ) หมู่ 2 ตำบลไผ่จำศีล ตามเส้นทางสายอ่างทอง-วิเศษชัยชาญ ระหว่างกิโลเมตรที่ 26-27 เข้าไปประมาณ 1.5 กิโลเมตร ซอยปู่ดอก-ปู่ทองแก้ว 16เป็นอนุสรณ์สถานที่ชาววิเศษชัยชาญและชาวอ่างทองร่วมกันสร้าง เพื่อรำลึกถึงคุณงามความดีของวีรบุรุษแห่งบ้านโพธิ์ทะเล ชาววิเศษชัยชาญ ปู่ดอกและปู่ทองแก้ว ทั้งสองท่านยอมสละชีวิตอย่างกล้าหาญเพื่อ...
วัดชัยมงคล
วัดชัยมงคล ต.ตลาดหลวง อ.เมือง จ.อ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างราวปี พ.ศ. 2400 ปลายสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4) ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ.2525 เหตุที่ชื่อว่า วัดชัยมงคล เนื่องจากเป็นจุดแพ้ชนะในการแข่งขันเรือเหนือวัดขึ้นมาไปเป็นวัดสนามชัย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นการแข่งขันภายในโบสถ์มีภาพจิตรกรรมเขียนขึ้นใหม่ในปัจจุบันโดยนำศิลปสมัยใหม่มาผสมผสาน เช่น การใช้สีส...

โรงแรมใกล้เคียง