ที่เที่ยวราชบุรี > อำเภอเมืองราชบุรี > จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว (ข้อมูลและวีดีโอท่องเที่ยว)
จิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว (ข้อมูลและวีดีโอท่องเที่ยว)
101 หมู่ 6 ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000 เมืองราชบุรี ราชบุรี 70000
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัว ตั้งอยู่ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี จิปาถะภัณฑ์บ้านคูบัวเป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นของชุมชนด้วยความริเริ่มของชุมชนหลายองค์กรในพื้นที่ แนวคิดตั้งแต่เริ่มแรก คือต้องการที่จะเชิดชูเกียรติคุณของบรรพชนไทย-ญวนที่อยู่ในจังหวัดราชบุรีให้เป็นที่รู้จักแก่ประชาชนทั่วไป บ้านคูบัว เป็นชื่อของตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เริ่มโครงการตั้งแต่ พ.ศ. 2542 โดยเริ่มการก่อสร้างและให้คนเข้าเยี่ยมชมโดยไม่เป็นทางการตั้งแต่ พ.ศ. 2548 โดยคณะ คสด. ย่อมาจาก คณะผู้สูงอายุรวมตัวก่อการดี พิพิธภัณฑ์แห่งนี้เป็นการต่อยอดให้ลูกหลานยุวชนที่ได้สร้างสรรค์นวัตรกรรมทางวัฒนธรรมขึ้นมาใหม่ได้เข้าไปต่อยอดได้เลย สิ่งที่ทำมาคือเราทำในช่วงชีวิตของเราที่ได้ย้อนอดีตไปตั้งแต่ 203 ปีที่คนในคณะ คสด. ก็คงจะต้องหยุดไว้ ณ พ.ศ. นี้แล้วต่อไปผู้ที่จะเกิดมาใหม่ก็สามารถต่อยอดศิลปวัฒนธรรมของตนเองที่ได้พัฒนาไปได้อีก ตัวอาคารยาว 24 เมตร กว้าง 18 เมตร มี 2 ชั้น บริเวณรอบ ๆ มีต้นไม้ที่ปลูกไว้สำหรับให้ร่มเงากับตัวอาคารมีบริเวณโบราณสถานสมัยทาราวดีอยู่ใกล้เคียงติดกันเลยโบราณสถานสมัยทาราวดีซึ่งมีอายุประมาณ 2,400 ปีเป็นโบราณสถานองค์ใหญ่ซึ่งกรมศิลปากรได้ไปขุดตกแต่งและขึ้นทะเบียนไว้ในระหว่าง พ.ศ. 2504-2506 แล้วนอกจากโบราณสถานองค์ใหญ่นี้ยังมีรอบ ๆ อีกหลายแห่งที่เอาไว้ให้นักโบราณคดีหรือผู้สนใจเข้าไปเยี่ยมชมศึกษาความเป็นมาของอารยธรรมรุ่นก่อน ๆ ได้ อาคารจิปาถะภัณฑ์จัดชั้นล่างเป็นการเริ่มต้นเอาภูมิปัญญาของคนไทยสมัยทาวารวดีซึ่งได้แก่ ศิลปะปูนปั้น ดินเผาที่รูปเป็นรูปบุคคล รูปภาพ รูปนาค และพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าที่เป็นเศษเหลือจากที่กรมศิลปากรได้ทิ้งไว้ แล้วก็เหลือจากผู้ที่ขุดค้นลักลอบไปขายแล้วขายไม่ได้ก็เอามาเก็บไว้ที่วัดโขลงสุวรรณคีรี และได้ขออนุญาตสมภารวัดองค์ก่อน ๆ นั้นเอามาตั้งแสดงไว้เป็นหนึ่งห้อง คือ คล้าย ๆ ว่าเราเชิดชูภูมิปัญญาของบรรพชนสมัยทาราวดีไว้หนึ่งห้อง จากนั้นเป็นห้องที่แสดงภูมิปัญญาของคนไทยโยนกเชียงแสน หรือคนล้านนาที่ได้เคลื่อนย้ายมาจากเมืองเชียงแสนไปอยู่ที่คูบัวเมื่อประมาณ 200 ปี มาแล้ว เช่น วัตถุที่แสดงถึงการทำมาหากินที่อยู่อาศัยหลับนอน แม้กระทั่งกิจกรรมพัฒนาชุมชนของคนรุ่นพ่อแม่ด้วย ใช้หุ่นขี้ผึ้งเป็นตัวสื่อในการแสดงให้เห็น จากนั้นอีกห้องใช้หุ่นแสดงกิจกรรมการกินอยู่หลับนอนสอนลูกหลานการประชุมระดมสมองของบรรพชนของเราว่าร่วมคิดร่วมอ่านพัฒนาชุมชน แม้กระทั่งผู้นำมาซึ่งจิตวิญญาณได้แก่หุ่นของพระเกจิอาจารย์ที่เป็นสมภารวัดที่เป็นเชื้อสายไทย-ญวนเกือบทุกวัดถัดไปก็เป็นห้องที่เรานำเสนอเรื่องวัฒนธรรมเกี่ยวกับการเก็บเกี่ยว การนวดข้าว การตำข้าว แปรรูปข้าวเปลือกเป็นข้าวสารที่ชาวไทยใช้ภูมิปัญญาในการแปรรูปข้าวเปลือกมาเป็นข้าวสารเราทำอย่างไรบ้าง
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง