ที่เที่ยวราชบุรี > อำเภอเมืองราชบุรี > เขาแก่นจันทน์
เขาแก่นจันทน์
ตำบลห้วยไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี 70000 เมืองราชบุรี ราชบุรี 70000
รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว
เขาแก่นจันทร์ เดิมชื่อ เขาจันทร์แดง ตั้งอยู่ริมถนนเพชรเกษม ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 2 กม. มีความสูงประมาณ 141 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด มีถนนตัดขึ้นไปถึงยอดเขา บนยอดมีวิหารประดิษฐานพระพุทธนิโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือ ที่ชาวบ้านเรียกว่า พระสี่มุมเมือง เป็นพระ 1 ใน 4 องค์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น แล้วพระราชทานไปประดิษฐานไว้ ณ เมืองต่าง ๆ สี่เมืองได้แก่ ราชบุรี ลำปาง สระบุรี และพัทลุง ด้านบนสามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์ตัวเมืองราชบุรี บนยอดเขาแก่นจันทร์ สามารถนำรถส่วนตัวขึ้นไปได้ ยกเว้นรถ 6 ล้อขึ้นไป เพราะทางแคบชันและโค้งหักศอก พระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ หรือ พระพุทธรูปสี่มุมเมือง ซึ่งมีอยู่ 4 องค์ สร้างขึ้นตามความเชื่อและโบราณประเพณีของบ้านเมืองที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่จะต้องมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องขอบขัณฑสีมาทั้งสี่ทิศ โดยการสร้างพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศนั้นเป็นการสร้างพระพุทธรูปแบบ จตุรพุทธปราการ คือเป็นการนำเอาวัดหรือพระพุทธรูปเป็นปราการทั้งสี่ด้าน เพื่อปกป้องภยันตรายจากอริราชศัตรู ปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย เสริมสร้างดวงชะตาแก่บ้านเมืองและคุ้มครองพสกนิกรทั้งมวลให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุข พระพุทธลักษณะของพระพุทธนิรโรคันตรายชัยวัฒน์จตุรทิศ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปปางสมาธิราบตามแบบศิลปะสุโขทัย โดยมีพระพักตร์แจ่มใส พระเนตรเปิด พระหัตถ์ขวาทับพระหัตถ์ซ้าย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว ประดิษฐานอยู่ภายในมณฑปจัตุรมุข ก่ออิฐถือปูน โครงสร้างสร้างคาเป็นเครื่องไม้มุงทับด้วยกระเบื้องอย่างไทยโบราณ บานประตู หน้าต่าง และหน้าลงรักปิดทองทั้งสี่ด้านบริเวณเชิงเขาเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า จุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ชาวราชบุรีได้พร้อมใจกันสร้างในโอกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 และสร้างเป็นสวนสาธารณะจักรีอนุสรณ์สถาน ปัจจุบันเป็นสวนสาธารณะที่สวยงามเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจและออกกำลังกายของประชาชนทั่วไป มีอุปกรณ์สำหรับการออกกำลังกายมากมายหลายอย่าง มีร้านอาหารจำนวนในบริเวณค้างเขียง ใกล้เชิงเขาแก่นจันทร์อีกฝั่งยังมีศาลเจ้าแม่แก่นจันทร์ที่ชาวราชบุรีให้ความเคารพศรัทธานิยมมากราบไหว้ขอบารมีคุ้มครองวันและเวลาเปิดทำการทุกวัน ตั้งแต่เวลา เปิดปิดประตูด้านล่างทางขึ้นเขา 05.30-19.30 น.
ที่เที่ยวใกล้เคียง
โรงแรมใกล้เคียง