ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอท่าเรือ > พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม



พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม

- ท่าเรือ พระนครศรีอยุธยา -




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษม หรือ วังจันทรเกษม หรือ วังหน้า ตั้งอยู่ถนนอู่ทอง ริมแม่น้ำป่าสักมุมทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะเมืองใกล้ตลาดหัวรอ วังจันทรเกษมปรากฎหลักฐานพงศาวดารว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราชประมาณ พ.ศ.2120 เพื่อให้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และเคยใช้เป็นที่ประทับของสมเด็จพระยุพราชและพระมหากษัตริย์หลายพระองค์

เมื่อคราวเสียกรุงในปีพ.ศ.2310 วังนี้ได้ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียหายมากและถูกทิ้งร้าง จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมพระที่นั่งพิมานรัตยาและพลับพลาจตุรมุขไว้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จประพาสพระนครศรีอยุธยาและพระราชทานนามว่า “พระราชวังจันทรเกษม” เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2436 ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานพระที่นั่งพิมานรัตยาเป็นที่ทำการของมณฑลกรุงเก่าเมื่อพ.ศ. 2442 และจนกระทั่งเมื่อพระยาโบราณราชธานินทร์ได้เข้ามาดำรงตำแหน่งสมุหเทศาภิบาลมณฑลกรุงเก่าจึงได้จัดสร้างอาคารที่ทำการภาคบริเวณกำแพงทางด้านทิศตะวันตกต่อกับทิศใต้ แล้วย้ายที่ว่าการมณฑลจากพระที่นั่งพิมานรัตยามาตั้งที่อาคารที่ทำการภาคในขณะนั้น กรมศิลปากรจึงได้เข้ามาดูแลและจัดทำเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จันทรเกษมจนกระทั่งปัจจุบัน

โบราณสถานโบราณวัตถุที่น่าสนใจในพระราชวังจันทรเกษม มีดังนี้ กำแพงและประตูวัง ปัจจุบันก่อเป็นกำแพงอิฐมีใบเสมา มีประตูด้านละ 1 ประตู รวม 4 ด้าน

พลับพลาจตุรมุข ตั้งอยู่ใกล้ประตูวังด้านทิศตะวันออก เป็นพลับพลาเครื่องไม้ มีมุขด้านหน้า 3 มุข ด้านหลัง 3 มุข เดิมใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับออกงานว่าราชการและเป็นที่ประทับ ต่อมากลายเป็นที่จัดแสดงโบราณวัตถุ เรียกว่า อยุธยาพิพิธภัณฑสถาน ปัจจุบันจัดแสดงเครื่องใช้ส่วนพระองค์ที่มีอยู่เดิมภายในพระราชวังนี้

พระที่นั่งพิมานรัตยา จัดแสดงประติมากรรมที่สลักจากศิลา เป็นเทวรูปและพระพุทธรูปนาคปรก ศิลปสมัยลพบุรี พระพุทธรูปสำริดสมัยอยุธยา พระพิมพ์ และเครื่องไม้แกะสลัก

พระที่นั่งพิสัยศัลลักษณ์ หรือ หอส่องกล้อง เป็นหอสูงสี่ชั้น ใช้เป็นที่ประทับทอดพระเนตรดวงดาว

ตึกที่ทำการภาค จัดนิทรรศการถาวร 5 เรื่อง คือ เรื่องศิลปะสถาปัตยกรรมอยุธยา เครื่องปั้นดินเผาสินค้านำเข้าและส่งออกที่สำคัญของอยุธยา อาวุธยุทธภัณฑ์ ศิลปวัตถุพุทธบูชาและวิถีชีวิตริมน้ำชาวกรุงเก่า

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ เข้าตัวเมืองอยุธยา เมื่อข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้วให้เลี้ยวซ้ายตรงไปจนถึงสามแยกเลี้ยวซ้ายอีกครั้งและตรงไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะผ่านตลาดเจ้าพรหม จากนั้นจะเห็นพิพิธภัณฑ์อยู่ทางซ้ายมือ เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 09.00-16.00 น. เว้นวันจันทร์ อังคารและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ค่าเข้าชม ชาวไทย 30 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่โทร. 0-3525-1586, 0-3525-2795 โทรสาร 0-3525-1586

หากใครชื่นชอบการเที่ยวชมวังแล้วละก็พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติจันทรเกษมก็น่าสนใจไม่น้อย ยิ่งไปกว่านั้นวังแห่งนี้เคยใช้เป็นฉากสำคัญในละครเรื่องสี่แผ่นดินอีกด้วย




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดมเหยงคณ์
เมื่อพิจารณาทางด้านภาษาศาสตร์ คำว่า มเหยงคณ์ มีรากศัพท์บาลีว่า มหิยังคณ์ แปลว่า ภูเขาหรือ เนินดิน ซึ่งก็ตรงกับลักษณะทางภูมิประเทศของวัดเนื่องจากส่วนพุทธาวาสนั้นตั้งอยู่บนเนินดินสูง จุดสังเกตของวัดคือผนังอุโบสถซึ่งก่อด้วยอิฐสีแดงตระหง่านแต่ไกลเดิมทีวัดมเหยงคณ์เป็นพระอารามหลวง แต่หลังจากเหตุการณ์การเสียกรุงศรีอยุธยาเมื่อปีพุทธศักราช 2310 วัดนี้ก็กลายเป็นวัดร้าง อย่างไรก็ตามในเวลาต่อมาวัดมเหยงคณ์ก็มีประวัติควา...
วัดราชประดิษฐาน
วัดราชประดิษฐานตั้งอยู่ที่ถนนอู่ทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดที่สร้างขึ้นเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตั้งอยู่ริมปากคลองประตูข้าวเปลือกฝั่งตะวันตก ภายในกำแพงพระนคร ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยามีกล่าวถึงวัดราชประดิษฐานหลายครั้ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นคนสร้างและสร้างในรัชสมัยใด นักโบราณคดีทราบเพียงว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เป็นวัดที่สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ์ทรงผน...
วัดวรเชษฐาราม
วัดวรเชษฐาราม เป็นเพราะอารามหลวงเก่าอายุกว่า 400 ปี ตั้งอยู่ภายในเกาะเมือง สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ เพื่ออุทิศถวายเปนพระราชกุศลแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ผู้เป็นพระเชษฐา วัดแห่งนี้จึงใช้ในการถวายพระเพลิงพระบรมศพของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงศรีอยุธยา และเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระองค์ มีเรื่องเล่ากันว่า เคยมีคนลักลอบขุดกรุเจดีย์ประธานแล้วพบผอบบรรจุอัฐิล้อมด้วยพระพุทธรูป...
วัดสะตือ
วัดสะตือ ตั้งอยู่ที่บ้านท่างาม ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 เดิมตั้งอยู่ทางเหนือ แต่เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ดำเนินการสร้างพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ขึ้นภายในหมู่บ้านริมแม่น้ำป่าสัก วัดสะตือจึงย้ายมาตั้งที่บริเวณดังกล่าวตราบจนถึงปัจจุบัน สิ่งน่าสนใจภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งเคยได้รับการดำเนินการบูรณะซ่อมแซมโดยพลตรีมนูญกฤษ ร...
วัดแม่นางปลื้ม
วัดแม่นางปลื้ม ตั้งอยู่บริเวณคลองเมือง ตรงข้ามหัวรอ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นวัดเก่าแก่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา วัดแม่นางปลื้มเปี่ยมด้วยตำนาน และเรื่องราวทางประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยา อีกทั้งยังงดงามด้วยโบราณสถานที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ตำนานการสร้างวัดมีหลายความเชื่อ บ้างก็ว่าวัดนี้มีมาก่อนตั้งกรุงศรีอยุธยา บ้างก็ว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีตำนานเล่าว่า ที่ดินตรงนี้เคยเป็นเรือนของแม่ปลื้ม แม...
พิพิธภัณฑ์เรือไทย
เป็นพิพิธภัณฑ์เรือของเอกชนตั้งอยู่บริเวณฝั่งตรงข้ามกับวัดมหาธาตุ ถนนบางเอียน ภายในบริเวณบ้านพักของอาจารย์ไพฑูรย์ ขาวมาลาผู้มีความรักและผูกพันกับเรือและน้ำมาตั้งแต่เด็ก อีกทั้งยังได้เป็นอาจารย์ผู้สอน วิชาออกแบบ เขียนแบบ และการต่อเรือ มาตลอดชีวิตที่รับราชการ ณ โรงเรียนช่างต่อเรือ ท่านมีความคิดที่จะอนุรักษ์เพื่อให้เยาวชนได้เห็นถึงภูมิปัญญาชาวบ้าน จึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ขึ้น ส่วนที่หนึ่ง อาคารเรือโบราณ จ...
โบราณสถานวัดนางกุย
ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 5 ตำบลสำเภาล่ม เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองด้านใต้ ติดกับแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาอายุกว่า 400 ปี ผู้ที่สร้างวัดนางกุย ชื่อ “นางกุย” เป็นผู้มีทรัพย์สินเงินทองมากมายจึงได้สร้างวัดขึ้น ในสมัยก่อนวัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก ต่อมาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 วัดนางกุยได้ถูกปล่อยให้ชำรุดทรุดโทรม จนมาถึงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์รัชกาลที่ 3 ได้มาทำการบูรณะปฏ...
วัดพรานนก
เมื่อเอ่ยชื่อ “วัดพรานนก” หลายท่านอาจนึกถึงวัดที่ตั้งอยู่ฝั่งธนบุรีในกรุงเทพมหานครฯ แท้จริงแล้ว วัดพรานนก แห่งนั้นตั้งชื่อไว้เพื่อระลึกถึงวัดพรานนกและความสำคัญทางประวัติศาสตร์ไทยที่กรุงศรีอยุธยา ซึ่งตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์สาวหาญ อำเภออุทัย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปีพุทธศักราช 2300 ตรงกับช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตำนานเล่าไว้ว่า “พรานทองคำ” ชำนาญการล่านก หนู เลี้ยงชีพ เมื่อพระยาวชิรปราการ (พระยาตาก ในเวลาต่อมา) เ...

โรงแรมใกล้เคียง