ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา > วัดกษัตราธิราชวรวิหาร



วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

เมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนทางหลวง 3469 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่บริเวณนอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา

แต่เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดกษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” เป็นพระอารามหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏประวัติหลักฐานการสร้าง มีปรากฏเพียงในพงศาวดาร ว่าครั้งรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยา ก่อนเสียกรุงฯ ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2303 พม่าได้มาตั้งกองทัพที่วัดและตั้งปืนใหญ่เพื่อใช้ยิงเข้ามาในพระนคร จนกระทั่งปี พ.ศ. 2310 กรุงศรีอยุธยาแตก วัดได้ถูกเพลิงไหม้เสียหายเป็นอันมากและถูกทิ้งร้างตั้งแต่นั้นมา ต่อมาได้มีการปฏิสังขรณ์วัดสองครั้งด้วยกันคือในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ. 2349 และในรัชกาลที่ 5 ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดกษัตราธิราชวรวิหาร

สิ่งที่น่าชมภายในวัดมีหลายอย่างด้วยกัน อย่างแรกคือ พระวิหาร 4 หลัง คือ พระวิหารใหญ่ 2 หลัง ตั้งอยู่ด้านหน้าพระอุโบสถ และพระวิหารเล็ก 2 หลัง พระวิหารใหญ่ ด้านหน้าทำประตูซุ้มยอดมณฑป หน้าบันเป็นลายจำหลักรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ ล้อมรอบด้วยลายกนก ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเนตรและปางประทานอภัย ส่วนพระวิหารอีกหลังเป็นลายจำหลักภาพพราหมณ์อาลัมพายน์จับพญานาคภูริทัต ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปปางสมาธิ และพระศรีอาริยเมตไตร

สำหรับพระอุโบสถ ด้านข้างมีช่องแสงก่อเป็นซี่ลูกกรงแนวตั้ง บริเวณเสามีคันทวยไม้จำหลักรูปพญานาค รองรับชายคาปีกนกทั้งสองด้าน หัวเสาเป็นลายบัวแวง หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบูแบบโบราณ หน้าบันจำหลักลายเครือเถา ด้านหน้าประดับด้วยซุ้มบุษบกบัญชร ส่วนด้านหลังมีมุขเด็จ ประดิษฐานพระพุทธรูป ปางป่าเลไลยก์ ภายในพระอุโบสถประดิษฐาน พระพุทธกษัตราธิราช พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นประธาน ฝาผนังปรากฏภาพจิตรกรรมฝาผนังศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์ และรอบๆ พระอุโบสถมีใบเสมาคู่หินชนวน ตั้งอยู่บนฐานบัวปูนปั้น

นอกจากนี้ยังมีพระปรางค์ประธาน ตั้งอยู่ด้านหลังพระอุโบสถ และมีเจดีย์ราย เป็นเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะอยุธยาตอนปลายอยู่รายรอบ

การเดินทางสามารถใช้เส้นทางเดียวกับสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ไปจนถึงสี่แยกแล้วเลี้ยวซ้ายข้ามสะพานวัดกษัตราธิราชวรวิหาร จากนั้นเลี้ยวขวาตรงไปไม่ไกลนักก็จะถึงวัดนี้




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา เดิมเป็นศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในสมัยที่ท่านปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ด้านหน้าอาคารมีรูปปั้นกษัตริย์และวีรกษัตริย์สำคัญสมัยอยุธยา 6 องค์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธน...
วัดกุฎีดาว
วัดกุฎีดาว ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองทางทิศตะวันออก ในตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดมเหยงคณ์ วัดแห่งนี้เป็นวัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย พระวิหารและพระอุโบสถ ของที่นี่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถจินตนารการถึงความยิ่งใหญ่ในอตีตได้ไม่ยากนักวัดกุฎีดาวแห่งนี้เป็นเสมือนวัดคู่แฝดกับวัดมเหยงคณ์ เพราะต่างก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญวัดกุฏีดาวในรัช...
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง
พระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าอู่ทอง ประดิษฐานอยู่ระหว่างบึงพระรามกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ดำเนินการจัดสร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2511 -2513 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระกรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันพุธที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2513 โดยทุกวันที่ 3 เมษายน ชาวอยุธยาจะร่วมกันบำเพ็ญกุศลอุทิศเป็นราชพลีแด่สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นประจำทุกปีมูลเหตุที่ได้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์แห...
วัดพระราม
นอกจากจะเป็นโบราณสถานที่สำคัญแล้ว วัดพระรามยังเป็นที่รู้จักดีของชาวกรุงศรีอยุธยาในฐานะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย โดยบริเวณหน้าวัดมีบึงขนาดใหญ่ เรียก “สวนสาธารณะบึงพระราม” นามเดิมคือ “หนองโสน” หรือ “บึงชีขัน” ตามที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล ในสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาฯ มีการขุดนำดินจากในหนองขึ้นถมบริเวณที่จะสร้างวัดวังจึงทำให้บึงที่ขุดมีขนาดใหญ่ วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระราเมศวร ผู้ทรงสร้างวัดขึ้นเมื่อปีพุทธศั...
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง
พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ ในทุ่งมะขามหย่อง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ห่างจากเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยาออกไปประมาณ 3-4 กิโลเมตร มีสภาพเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ภายในมีพระรูปสมเด็จพระสุริโยทัยหล่อด้วยสำริด มีขนาดหนึ่งเท่าครึ่งขององค์จริงประทับบนหลังพระคชาธารพร้อมด้วยกลุ่มอนุสาวรีย์ประติมากรรมประกอบกันทั้งสิ้น 49 ชิ้น มีประติมากรรมจำลองประวัติศาสตร์...
วัดสมณโกฏฐาราม
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยเจ้าพระยาโกษา(เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษา(ปาน) อาจเป็นในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “ในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมันที่ทำงานในบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่า ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกมีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งเรียกว่า วัดพระยาคลัง แผน...
พระที่นั่งเพนียด
พระที่นั่งเพนียด ตั้งอยู่ในตำบลสวนพริก การเดินทาง ขับรถออกจากตัวเมืองประมาณ 4 กิโลเมตร ไปตามเส้นทางหมายเลข 347 กิโลเมตรที่ 42–43 เส้นทางเดียวกับทางไปวัดภูเขาทอง แต่ให้เลี้ยวขวาแล้วตรงไปตามถนนจะมีป้ายบอกเส้นทางไปพระที่นั่งเพนียด เพนียดแห่งนี้มีขนาดใหญ่มากสร้างขึ้นเพื่อเป็นที่สำหรับพระมหากษัตริย์เสด็จฯ มาประทับทอดพระเนตรการคล้องช้างหรือจับช้างเถื่อนในเพนียดซึ่งเป็นประเพณีที่ทำกันมาแต่โบราณเพื่อนำช้างมาใช้ประ...
วัดมหาธาตุ
ตั้งอยู่เชิงสะพานป่าถ่าน ทางทิศตะวันออกของวัดพระศรีสรรเพชญ์ พงศาวดารบางฉบับกล่าวว่าวัดนี้สร้างในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ต่อมาสมเด็จพระราเมศวรโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ใต้ฐานพระปรางค์ประธานของวัดเมื่อพ.ศ.1927 พระปรางค์วัดมหาธาตุถือเป็นปรางค์ที่สร้างในระยะแรกของสมัยอยุธยาซึ่งได้รับอิทธิพลจากปรางค์ขอม ชั้นล่างก่อสร้างด้วยศิลาแลงแต่ที่เสริมใหม่ตอนบนเป็นอิฐถือปูน สมเด็จพระเจ้าปราสาทท...

โรงแรมใกล้เคียง