ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา > วัดกุฎีดาว



วัดกุฎีดาว

- เมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

วัดกุฎีดาว ตั้งอยู่นอกเกาะเมืองทางทิศตะวันออก ในตำบลไผ่ลิง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลจากวัดมเหยงคณ์ วัดแห่งนี้เป็นวัดขนาดใหญ่สมัยอยุธยาตอนปลาย พระวิหารและพระอุโบสถ ของที่นี่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ ทำให้นักท่องเที่ยวสามารถจินตนารการถึงความยิ่งใหญ่ในอตีตได้ไม่ยากนัก

วัดกุฎีดาวแห่งนี้เป็นเสมือนวัดคู่แฝดกับวัดมเหยงคณ์ เพราะต่างก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งสำคัญวัดกุฏีดาว

ในรัชสมัยพระเจ้าท้ายสระ ซึ่งเป็นช่วงปลายสมัยของอยุธยาวัดกุฎีดาวจึงยังคงมีสภาพของโบราณสถานที่ดีกว่าวัดอื่นๆ ในแถบนี้

แผนผังขอบวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก อาคารขนาดใหญ่ด้านหน้าสันนิษฐานว่าเป็นพระวิหาร ตัวอาคารแอ่นโค้งตามความนิยมในการสร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์

เจดีย์ประธานประธานวัดกุฎีดาว อยู่ถัดจากวิหาร เหลือเพียงชั้นฐานขององค์ระฆังเป็นเจดีย์ทรงลังกา ฐานย่อมุม เจดีย์ของที่นี่พิเศษกว่าที่อื่นคือปรากฏลวดลายขาสิงห์ประดับฐานประทักษิณขององค์เจดีย์ โดยแข้งสิงห์มีการทำรอบหยัก 2 หยัก

ถัดจากเจดีย์สันนิษฐานว่าเป็นอุโบสถแต่ไม่พบใบเสมาอันเป็นเครื่องแสดงถึงเขตพุทธาวาส ผนังด้านข้างทลายลงหมดแล้ว เผยให้เห็นเสาโครงสร้างที่ยังเหลือเรียงรายสูงตระหง่านอยู่ภายในอาคาร

อาคารถัดมาคือตำหนักตึกสองชั้น เรียกกันว่า “ตำหนักกำมะเลียน” คาดว่าอาจเป็นพระตำหนักของพระมหาอุปราชที่เสด็จมาทรงงานการบูรณะวัดนี้ และหลังจากนั้นอาจได้ใช้เป็นศาลาการเปรียญของวัดนั่นเอง

หากใครชื่นชอบการเที่ยวชมโบราณสถาน เรียนรู้สถาปัตยกรรมโบราณแล้วล่ะก็ วัดกุฏีดาวก็เป็นอีกวัดหนึ่งที่น่าสนใจเพราะนอกจากจะเป็นวัดที่เงียบสงบแล้ว อาคารต่างๆ ในวัดยังมีสภาพดี ทำให้เห็นรายละเอียดสถาปัตยกรรมได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

การเดินทางสามารถเดินทางมาจากถนนสายเอเชีย แยกเข้าสู่ถนนโรจนะเพื่อมุ่งเข้าเกาะเมือง พอมาถึงเจดีย์วัดสามปลื้มให้เลี้ยวขวาอ้อมวงเวียนมาตามถนนจะพบวัดกุฏีดาวจะอยู่ทางซ้ายมือและมีเส้นทางรถไฟผ่านหน้าวัด




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


โบสถ์เซนต์ยอเซฟ
ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 11 ตำบลสำเภาล่ม สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2209 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากคณะธรรมทูตรุ่นแรกแห่งปารีส คือ ฯพณฯ ท่าน ลอมแบรต์ เดอ ลาม็อตกับพระสงฆ์อีก 2 รูป ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2205 ท่านและคณะได้ทำประโยชน์ต่อชาวกรุงศรีอยุธยา เป็นที่พอพระทัย พร้อมกันนั้นท่านได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทูลขอสถานที่สร้างวัดแล...
วิหารพระมงคลบพิตร
วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ เป็นที่ประดิษฐานพระมงคลบพิตร พระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตรและสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นระหว่าง สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบันแ...
หอจดหมายเหตุ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย
หอจดหมายเหตุ พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระศรีสุริโยทัย ตั้งอยู่ภายในบริเวณพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระสุริโยทัย ทุ่งมะขามหย่อง ต.บ้านใหม่ อ.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นบริเวณที่กองทัพไทยปะทะกับทัพพม่าในสมัยอยุธยา ในศึกครั้งนั้นสมเด็จพระศรีสุริโยทัยทรงประทับบนหลังช้างเยี่ยงบุรุษนักรบ ทรงกระทำยุทธหัตถีจนสิ้นพระทัยบนคอช้าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมรา...
วัดสมณโกฏฐาราม
สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาตอนต้น และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในสมัยอยุธยาตอนปลายโดยเจ้าพระยาโกษา(เหล็ก) และเจ้าพระยาโกษา(ปาน) อาจเป็นในช่วงสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช “ในจดหมายเหตุของแกมเฟอร์ แพทย์ชาวเยอรมันที่ทำงานในบริษัทอีสต์อินเดียของฮอลันดาเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยาเมื่อ พ.ศ. 2233 ในรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา ได้บันทึกไว้ว่า ห่างจากตัวเมืองไปทางตะวันออกมีวัดที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งเรียกว่า วัดพระยาคลัง แผน...
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา
ศูนย์ท่องเที่ยวอยุธยา เดิมเป็นศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ใช้เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติราชการของข้าราชการในสมัยที่ท่านปรีดี พนมยงค์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ด้านหน้าอาคารมีรูปปั้นกษัตริย์และวีรกษัตริย์สำคัญสมัยอยุธยา 6 องค์คือ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ สมเด็จพระสุริโยทัย สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระนารายณ์มหาราช และสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแห่งกรุงธน...
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร
วัดกษัตราธิราชวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ถนนทางหลวง 3469 ตำบลบ้านป้อม อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา อยู่บริเวณนอกเกาะเมืองตรงข้ามกับเจดีย์พระศรีสุริโยทัย ริมแม่น้ำเจ้าพระยา แต่เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อว่า “วัดกษัตรา” หรือ “วัดกษัตราราม” เป็นพระอารามหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา ไม่ปรากฏประวัติหลักฐานการสร้าง มีปรากฏเพียงในพงศาวดาร ว่าครั้งรัชสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยา ก่อนเสียกรุงฯ ครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2303 ...
วัดพระราม
นอกจากจะเป็นโบราณสถานที่สำคัญแล้ว วัดพระรามยังเป็นที่รู้จักดีของชาวกรุงศรีอยุธยาในฐานะสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอีกด้วย โดยบริเวณหน้าวัดมีบึงขนาดใหญ่ เรียก “สวนสาธารณะบึงพระราม” นามเดิมคือ “หนองโสน” หรือ “บึงชีขัน” ตามที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล ในสมัยสถาปนากรุงศรีอยุธยาฯ มีการขุดนำดินจากในหนองขึ้นถมบริเวณที่จะสร้างวัดวังจึงทำให้บึงที่ขุดมีขนาดใหญ่ วัดนี้สร้างขึ้นในรัชสมัยของพระราเมศวร ผู้ทรงสร้างวัดขึ้นเมื่อปีพุทธศั...
วัดธรรมิกราช
วัดธรรมิกราชตั้งอยู่ติดกับพระราชวังโบราณด้านทิศตะวันออก เป็นวัดหลวงเก่าแก่ที่สร้างขึ้นก่อนการสถาปนากรุงศรีอยุธยา เป็นวัดสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัดมุขราช เมื่อพระเจ้าสายน้ำผึ้งสร้างวัดพนัญเชิงนั้น พระราชโอรส คือ พระเจ้าธรรมิกราชโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นที่บริเวณเมืองเก่าชื่อเมืองสังขบุรี ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา พระมหากษัตริย์องค์ต่อมาได้ทรงบูรณะมาโดยตลอด ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.2153) ทรงบูรณะวัดและสร้างวิ...

โรงแรมใกล้เคียง


www.Stats.in.th