ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%                                       
                                       
ค้นหาโรงแรมรับส่วนลดสูงสุด 80%
ค้นหาสถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย

กดถูกใจเพจของเราเพื่อติดตามข้อมูล ข่าวสาร กิจกรรม และสิทธิพิเศษสมาชิกได้ทันทีค่ะ






 ที่เที่ยวพระนครศรีอยุธยา > อำเภอเมืองพระนครศรีอยุธยา > วัดพระศรีสรรเพชญ์



วัดพระศรีสรรเพชญ์

ถนนศรีสรรเพชญ อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมืองพระนครศรีอยุธยา พระนครศรีอยุธยา 13000




รายละเอียดเกี่ยวกับที่เที่ยว

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง)ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับบริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดเกล้าฯให้สร้างพระสถูปเจดีย์ใหญ่สององค์เมื่อพ.ศ.2035 องค์แรกทางทิศตะวันออกเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถพระราชบิดา และองค์ที่สองคือองค์กลางเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระบรมเชษฐา ต่อมาในปีพ.ศ. 2042 ทรงสร้างพระวิหารขนาดใหญ่และในปีพ.ศ.2043 ทรงหล่อพระพุทธรูปยืนสูง 8 วา (16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร พระนามว่า “พระศรีสรรเพชญดาญาณ” ซึ่งภายหลังเมื่อคราวเสียกรุงพ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด ในสมัยรัตนโกสินทร์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญชิ้นส่วนชำรุดของพระประธานองค์นี้ลงมากรุงเทพฯและบรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า “เจดีย์สรรเพชญดาญาณ”

สำหรับเจดีย์องค์ที่สามถัดมาทางทิศตะวันตก สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (สมเด็จพระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมอัฐิของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เจดีย์สามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา ระหว่างเจดีย์แต่ละองค์มีมณฑปก่อคั่นไว้ซึ่งคงจะมีการสร้างในราวรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง และมีร่องรอยการบูรณะปฏิสังขรณ์หนึ่งครั้งในราวรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงครามได้มีการบูรณะเจดีย์แห่งนี้จนมีสภาพที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้เปิดให้เข้าชมทุกวันเวลา 08.00–18.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 50 บาท หรือสามารถซื้อบัตรรวมได้ ชาวไทย 40 บาท ชาวต่างชาติ 220 บาท โดยบัตรนี้สามารถเข้าชมวัดบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาได้ ภายในระยะเวลา 30 วัน สอบถามรายละเอียดที่สำนักงาน อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยาโทร 0 3524 2284, 0 3524 2286 หมายเหตุ ตั้งแต่เวลาประมาณ 19.30-21.00 น. จะมีการส่องไฟชมโบราณสถาน

อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยามีบริการเครื่องโสตทัศนาจร สามารถฟังข้อมูลการบรรยายวัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดไชยวัฒนาราม และวัดมหาธาตุ เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สามารถเช่าได้ที่จุดบริการใกล้ป้อมจำหน่ายบัตรของอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา โดยคิดค่าบริการเครื่องละ 150 บาท สำหรับชม 3 วัดดังกล่าว (ราคาไม่รวมค่าบัตรเข้าชมโบราณสถาน)

แผนที่เดินทางวัดพระศรีสรรเพชญ์




   เว็บไซต์ : -
   แหล่งที่มาของข้อมูล : http://www.tourismthailand.org


ที่เที่ยวใกล้เคียง


วัดใหญ่ชัยมงคล
วัดใหญ่ชัยมงคล เดิมชื่อวัดป่าแก้วหรือวัดเจ้าพระยาไท ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำป่าสัก ตามข้อมูลประวัติศาสตร์สันนิษฐานว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 หรือพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาโปรดให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นสำนักของพระสงฆ์ซึ่งไปบวชเรียนมาแต่สำนักพระวันรัตน์มหาเถรในประเทศลังกา คณะสงฆ์ที่ไปศึกษาพระธรรมวินัยเรียกนามนิกายในภาษาไทยว่า “คณะป่าแก้ว” วัดนี้จึงได้ชื่อว่า “วัดป่าแก้ว” ต่อมาคนเลื่อมใสบวชเ...
หมู่บ้านญี่ปุ่น
ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเรียน เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายใน กรุงศรีอยุธยามีจำนวนมากขึ้น ทางการญี่ปุ่นได้อนุญาตให้ชาวญี่ปุ่นเดินเรือออกไปค้าขายกับชาวต่างชาติในบรรดาพวกที่ไปค้าขายมีพวกหนึ่งเดินทางมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินไทยมีพระบรมราชานุญาตให้ชาวญี่ปุ่น มาตั้งหลักแหล่งในกรุงศรีอยุธยารอบนอกเกาะเมืองเหมือนชาติอื่น ๆ นับตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวญี่ปุ่นเข้ามาอาศัยอยู่ในอยุธยามากขึ้น โดย...
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร 
ศูนย์ศิลปาชีพบางไทร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาในเขตอำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยามีเนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้ทางภูมิปัญญาทางด้านศิลปหัตถกรรมของไทย โดยมุ่งเน้นการฝึกอาชีพให้แก่เกษตรกร เพื่อเป็นรายได้พิเศษจากช่วงที่ว่างจากงานเกษตรกรรม ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรนี้ริเริ่มจากการที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไปทร...
วัดราชบูรณะ (อยุธยา)
วัดราชบูรณะตั้งอยู่ที่ตำบลท่าวาสุกรี อำเภอพระนครศรีอยุธยา(กรุงเก่า) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา บริเวณเชิงสะพานป่าถ่าน ทางด้านทิศเหนือของวัดมหาธาตุ และห่างจากพระราชวังโบราณเพียงเล็กน้อย วัดราชบูรณะมีฐานะเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงศรีอยุธยาอีกแห่งหนึ่ง จัดเป็นหนึ่งในวัดที่ใหญ่และมีความเก่าแก่ที่สุดในพระนครศรีอยุธยา ตามพระราชพงศาวดารปรากฏว่าวัดราชบูรณะสร้างขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา...
โบสถ์เซนต์ยอเซฟ
ตั้งอยู่เลขที่ 30 หมู่ 11 ตำบลสำเภาล่ม สร้างเมื่อปีพ.ศ. 2209 ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชกษัตริย์องค์ที่ 27 แห่งกรุงศรีอยุธยา หลังจากคณะธรรมทูตรุ่นแรกแห่งปารีส คือ ฯพณฯ ท่าน ลอมแบรต์ เดอ ลาม็อตกับพระสงฆ์อีก 2 รูป ได้เดินทางมากรุงศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2205 ท่านและคณะได้ทำประโยชน์ต่อชาวกรุงศรีอยุธยา เป็นที่พอพระทัย พร้อมกันนั้นท่านได้เข้าเฝ้า สมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อทูลขอสถานที่สร้างวัดแล...
วัดโลกยสุธา
วัดโลกยสุธาราม ตั้งอยู่ที่ตำบลประตูชัย อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ตั้งอยู่ใกล้กับพระราชวังหลวงและวัดพระศรีสรรเพชญ์ อันเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรอยุธยา จึงอาจกล่าวได้ว่าที่นี่เป็นหนึ่งในวัดสำคัญภายในเกาะเมืองอยุธยา วัดโลกยสุธาราม มีอีกชื่อหนึ่งคือ วัดพระนอน ภายในวัดประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์ที่ใหญ่ที่สุดในเกาะเมืองอยุธยา มีประวัติเก่าแก่ และถูกกล่าวถึงในพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาว่าเป็นเส้นทางนมัสการพ...
วัดหน้าพระเมรุ
ตั้งอยู่ริมคลองสระบัวด้านทิศเหนือของคูเมือง (เดิมเป็นแม่น้ำลพบุรี) ตรงข้ามกับพระราชวังหลวง สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น พุทธศักราช 2046 มีชื่อเดิมว่า “วัดพระเมรุราชิการาม” ที่ตั้งของวัดนี้เดิมคงเป็นสถานที่สำหรับสร้างพระเมรุถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระมหากษัตริย์พระองค์ใดพระองค์หนึ่งสมัยอยุธยาตอนต้นต่อมาจึงได้สร้างวัดขึ้น มีตำนานเล่าว่าพระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างวัดนี้เมื่อพ.ศ.20...
เขื่อนพระราม 6
เขื่อนพระราม 6 ตั้งอยู่ที่หมู่ 10 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าเรือ เป็นเขื่อนทดน้ำแห่งแรกของประเทศไทย สร้างกันแม่น้ำป่าสักเพื่อเก็บน้ำไว้ใช้ในการเกษตรสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 เดิมชื่อ เขื่อนพระเฑียรราชา ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นเขื่อนพระราม 6 ปัจจุบันอยู่ในความดูแลของกรมชลประทาน ลักษณะของเขื่อนเป็นบานเหล็กจำนวน 5 ช่องทำหน้าที่เป็นประตูระบายน้ำขนาดใหญ่ สามารถส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกกว่า 680,000 ไร่ นักท่องเที่ยวสามาร...

โรงแรมใกล้เคียง